วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : การเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกลำไย

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : การเกิดสีน้ำตาลที่เปลือกลำไย

วันอาทิตย์ ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

ผลลำไยสดเป็นผลไม้ที่มีอายุการเก็บรักษาสั้นมาก เนื่องจากเกิดการเน่าเสียจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์และการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของเปลือก เกิดจากเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส (Polyphenol oxidase; PPO) เปลี่ยนโมเลกุลของฟีนอลไปเป็นควิโนน และรวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นมีสีน้ำตาล (จริงแท้, 2546) นอกจากนี้การสูญเสียน้ำหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสียหายต่อผลิตผลขณะเก็บรักษา (สายชล,2528) โดยมีผลต่อการสูญเสียน้ำหนักและคุณภาพของลำไยสด

การเกิดสีน้ำตาล


การเกิดสีน้ำตาลเกี่ยวข้องกับเอนไซม์คือ ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล (browning reaction) ชนิดหนึ่งซึ่งมักพบในอาหารโดยเฉพาะผัก ผลไม้ และอาหารทะเล โดยเกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าของอาหารเมื่อสัมผัสกับอากาศ

การเกิดสีน้ำตาลจะเกิดขึ้นได้โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

1.สารตั้งต้นคือ สารฟีนอล เช่น แคทมีซิน ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ ที่พบมากในใบชา ไทโรซิน ซึ่งเป็นกรดอะมิโน อาหารทะเล แทนนินที่พบในผัก ผลไม้ เป็นต้น

2.เอนไซม์ในกลุ่มฟีนอเลส เช่น polyphenol oxidase (PPO) เป็นต้วเร่งปฏิกิริยา pH ที่เหมาะสมในการทำงานของเอนไซม์ฟีนอเลส อยู่ระหว่าง 5-7

3.ออกซิเจน

ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวกับเอนไซม์นี้เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเกิดการช้ำ ฉีด ขาด เมื่อถูกกระแทก บด หั่น สับทำให้เอนไซม์สารที่ทำปฏิกิริยา (substrate) และออกซิเจนสัมผัสกับสาร monophenol (ไม่มีสี) จะถูกออกซิไดซ์เป็นไดฟีนอล (diphenol) ซึ่งไม่มีสีและถูกออกซิไดซ์ต่อเป็น o-quinone ซึ่งมีสีน้ำตาล และจะรวมตัวกันเป็นโพลิเมอร์เกิดเป็นสารโมเลกุลใหญ่มีสีน้ำตาล เช่น เมลานิน(melanin)

การป้องกันการเกิดสีน้ำตาลของลำไยสด

หลักการคือ การใช้สารรีดิวส์ซิงเอเจนท์ (reducing agent) เพื่อรีดิวส์ O-quinone กลับเป็นสารฟีนอลซึ่งไม่มีสีรีดิวส์ซิงเอเจนท์ที่ใช้ ได้แก่ สารซัลไฟท์ (sulfites) เช่น การรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือแช่ในสารละลาย
โซเดียมเมตตาไบซัลไฟท์ (Sodium metabisulphite)

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีสูตรโมเลกุลคือ SO2 เป็นออกไซด์ของกำมะถัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่ไวไฟ เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศจะเกิดเป็นซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ และจะรวมตัวกับน้ำเป็นกรดซัลฟุริก (H2SO4) หรือกรดกัมมะถัน

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอาหาร

Sulfur dioxide ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) อยู่ในกลุ่มซัลไฟต์ (sulftes) ซึ่งมีหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา และเป็นสารฟอกสี

ปริมาณการใช้ในอาหาร

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ต้องไม่เกิดเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 214 (พ.ศ.2543) กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิทได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

2.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไวน์ มอก.2089-2544 ได้กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร เป็นต้น

สำหรับองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่าความปลอดภัยของการบริโภคคือ ปริมาณที่ได้รับไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน

สรวิศ แจ่มจำรูญ

ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

มท.1 สั่งการอธิบดี ปภ.เตรียมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ชี้'วิภา'พายุลูกใหม่น่าห่วง

ปชป.ระส่ำอีก! ‘สุธรรม’ไขก๊อกทิ้ง‘ปชป.’ สะท้อนปมขัดแย้งลงชื่อ‘รมต.’ผิดข้อบังคับ

'เจาะใจ'ล้วงลึก 'เอแคลร์ จือปาก'ปลุกพลังคิดบวก ลุยความยากลำบาก สู่ความสำเร็จ

‘ภูมิธรรม’รับทราบ‘พิชัย’หารือผู้แทนการค้าสหรัฐ เผยข้อสรุปน่าจะดี แต่ยังไม่จบ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved