วันอังคาร ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : พรรณไม้วงศ์กระดังงา

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : พรรณไม้วงศ์กระดังงา

วันอาทิตย์ ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

ความหลากหลายของพรรณไม้วงศ์กระดังงา (Family Annonaceae) ในแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น ไม้ยืนต้น (tree) ไม้พุ่ม (shrub) และไม้เถาเนื้อแข็งหรือไม้พุ่มรอเลื้อย (lianas) เปลือก และใบมีกลิ่นฉุนใบเดี่ยวเรียงสลับ มีลักษณะการเรียงตัวแบบ 2 ข้างในระนาบเดียวกัน (distichous) ดอกเดี่ยวมีรูปร่างหลายแบบ สีเขียว ขาว เหลือง ส้ม ชมพู หรือม่วงอมแดง ออกตามปลายกิ่ง ยอด บริเวณตรงข้ามใบ หรือตามซอกใบ บางชนิดออกดอกแบบกระจุกเป็นช่อสั้นๆ ตามกิ่งก้าน และตามลำต้น ส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง (sepal) จำนวน 3 กลีบ กลีบดอก (petal) จำนวน 6 กลีบ เรียงกันอยู่เป็น 2 ชั้น ผลมีลักษณะเป็นผลกลุ่ม (aggregate fruit) อยู่บนแกนอันเดียวกันประกอบด้วยผลย่อยหลายผล รูปร่างของผลผันแปรได้หลายแบบ เช่น คล้ายรูปทรงกระบอก ลูกประคำ รูปร่างกลม หรือบิดเบี้ยว เมื่อผลสุกจะมีสีสันสะดุดตา บางชนิดมีผิวอวบน้ำเช่น น้อยหน่า (Annona squamosa L.) ลักษณะรูปร่างผลคล้ายหัวใจ (heart-shape) เมล็ดขนาดใหญ่บางชนิดมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีร่องรอบๆ เมล็ด

พรรณไม้วงศ์กระดังงาบางสกุลได้รับความนิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับ เนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม เช่น นมแมว สายหยุด กระดังงาไทย กระดังงาสงขลา การเวก และลำดวน เป็นต้น บางสกุลดอกมีสีสันสวยงาม และทรงพุ่มสวย อย่างเช่น สกุลมหาพรหม (Mitrephora) ซึ่งได้แก่ มะป่วน กลาย พรหมขาวและมหาพรหมราชินี ซึ่งสกุลนี้พบในประเทศไทยเพียง 8 ชนิด นอกจากนี้ยังมีบางชนิดสามารถนำมาปลูกเลี้ยงเพื่อให้ร่มเงา เนื่องจากทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ เช่น ยางโอน ยางดง ยางเหลือง เหลืองจันทร์ คำฟู เหลืองไม้แก้ว ข้าวหลามดง ฯลฯ ส่วนอีกกลุ่มเป็นไม้เลื้อย ได้แก่ กระดังงาจีน กล้วยหมูสัง สายหยุด กล้วยอ้ายพอน พีพ่วนน้อย และนมแมวซ้อน เป็นต้น เหล่านี้เหมาะต่อการนำมาปลูกเลี้ยงตามซุ้มโครงสร้าง เพื่อให้ร่มเงา เช่น ลานจอดรถ ศาลาในสวน และโครงไม้ระแนงตามมุมต่างๆ


ด้วยความสวยงาม และคุณประโยชน์ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น กระดังงาจึงจัดได้ว่าเป็นพรรณไม้ที่คู่ควรต่อการนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดอกไม้ประดับอีกวงศ์หนึ่ง ซึ่งมีความสวยงามในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งหลายชนิดยังเป็นพรรณไม้ท้องถิ่นของไทย และมีเอกลักษณ์ความงามแบบไทยๆ

 

อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ไทยหวัง! ลุ้นส่งออกไก่หลังบราซิลเจอไข้หวัดนก กรมปศุสัตว์ย้ำระบบป้องกันโรคแน่นหนา

'หมอวรงค์'เตือน 'สมศักดิ์'อุ้มชั้น14ระวังเจอร้องปปช.ผิดม.157

น่ากังวล! 'กอบศักดิ์' ชี้ 2 ปัญหาใหญ่ฉุดเศรษฐกิจไทย แม้ จีดีพี ไตรมาสที่ 1 สวยหรู

ระทึกเช้านี้! นักเรียนวิ่งกระเจิง ไฟไหม้อาคาร'มัธยมวัดหนองจอก' ดับเพลิงรุดเข้าควบคุม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved