วันเสาร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ขมิ้นชัน

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : ขมิ้นชัน

วันอาทิตย์ ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ขมิ้นชัน
  •  

“ขมิ้นชัน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L., Curcuma domestica Valeton จัดอยู่ในวงศ์ Zingiberaceae ชื่ออังกฤษ Tumeric, Curcuma, Yellow root มีชื่อเรียกตามท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้ขมิ้น หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


เป็นพืชล้มลุก สูง 50-70 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอม ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร ก้านใบยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว 5-8 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอ่อนๆ หรือสีขาวรูปหอกเรียงซ้อนกัน ใบประดับ 1 ใบมี 2 ดอก ใบประดับย่อยรูปขอบขนาน 3-3.5 เซนติเมตร ด้านนอกมีขน กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกสีขาว โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว ปลายแยกเป็น 3 ส่วน เกสรตัวผู้คล้ายกลีบดอก มีขน อับเรณูอยู่ที่ใกล้ๆ ปลายท่อเกสรตัวเมียเล็ก ยาว ยอดเกสรตัวเมียรูปปากแตร เกลี้ยง รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ใบ

การใช้ในเครื่องสำอางและสรรพคุณทางยา

ขมิ้นเป็นพืชที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาล กล่าวกันว่า ผู้หญิงสมัยก่อนต้องทาผิวด้วยขมิ้นชันจึงจะมีผิวสวย โดยการใช้ขมิ้นบดผสมน้ำทาทุกวัน เนื่องจากขมิ้นมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และแมลงกัดต่อย

นอกจากนี้ เหง้ายังมีสรรพคุณบรรเทาอาการแน่น จุกเสียดและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาแผลภายหลังผ่าตัด ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบันคือฟีนิลบิวทาโซน ลดการอักเสบในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ ขับน้ำดี สารสกัดหยาบจากขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายโดยคาร์บอนเตตราคลอไรด์

สารสำคัญ

เหง้าขมิ้นประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (volatile oil) ไม่น้อยกว่า 6% v/w และสารเคอร์คิวมินอยด์ (Curcuminoids) ไม่น้อยกว่า 5% w/w น้ำมันหอมระเหยมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองอมส้ม ประกอบด้วยสารโมโนเทอร์ปีนส์ (monoterpenes) และเซสควิเทอร์ปีนส์ (sesquiterpenes) ส่วนสารสีเหลืองคือ เคอร์คิวมินอยด์ เป็นสารผสมของ curcumin, desmethoxycurcumin และ bisdesmethoxycurcumin

ข้อควรระวัง

1.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี

2.ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์และระหว่างให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาประเมินความปลอดภัยในการใช้กับบุคคลเหล่านี้

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ผู้พันปุ่น'ยังยืนยันสังกัดเดิม! ไม่ได้ย้ายไปไหน แต่ช่วงนี้ขอ'พักการเมือง'

เปิดตัวสุดยอด 18 SME ไทย คว้ารางวัลจากงาน 'เซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2025'

สพฐ.กำชับรับเปิดเทอม 2568 ห้ามมอบหมายครูอยู่เวร–การลงโทษนักเรียนให้ยึดระเบียบ

'เลขากกต.'มอบอุปกรณ์เลือกตั้งซ่อม ส.ก.เขตหนองจอก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved