วันอังคาร ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กว่าจะเป็น‘โพรไบโอติก’เพื่อบริโภค

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กว่าจะเป็น‘โพรไบโอติก’เพื่อบริโภค

วันอาทิตย์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

ในช่วงที่ผ่านมา กระแสนิยมของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ผสมโพรไบโอติกเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว เนื่องจากมีข้อมูลการวิจัยจากต่างประเทศบ่งชี้ว่า โพรไบโอติกช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ปรับสมดุลของเชื้อในลำไส้ ลดคอเลสเตอรอล กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอื่นๆ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันการนำเข้าหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผสมโพรไบโอติก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ออกวางจำหน่ายหลากหลายชนิดดังนั้น ในฐานะผู้บริโภคจึงควรทำความรู้จักความหมายและประโยชน์ของ “โพรไบโอติก” ให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผสมโพรไบโอติกที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง

องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) แห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำจำกัดความของโพรไบโอติกว่า“โพรไบโอติกคือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค” ดังนั้นการจะบริโภคโพรไบโอติกให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายนั้น ต้องเป็นเชื้อที่ยังมีชีวิตและได้รับเข้าไปในปริมาณที่เพียงพอ (ควรได้รับไม่ต่ำกว่า 5x109 โคโลนีต่อวัน)ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อสามารถเจริญเพิ่มจำนวนในร่างกายและแสดงคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้


เชื้อโพรไบโอติกที่นำมาใช้ในการบริโภค หรือผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อการค้านั้น ต้องเป็นเชื้อที่มีความปลอดภัยไม่ก่อโรค ไม่ผลิตสารที่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและผ่านการคัดเลือกในระดับห้องปฏิบัติการแล้วว่า มีคุณสมบัติพื้นฐานในการเป็นโพรไบโอติกที่ดี ได้แก่ ทนต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้ สามารถยึดเกาะผนังลำไส้ไม่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในทางการแพทย์ สร้างสารที่ช่วยในการออกฤทธิ์ต้านเชื้อหรือสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นต้น นอกจากนี้โพรไบโอติกควรมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น เชื้อที่เจริญได้ง่ายในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ราคาไม่แพงนัก ให้ปริมาณเซลล์สูง มีความต้านทานต่อ phage อยู่รอดได้ในระหว่างกระบวนการผลิต และอยู่รอดได้นานในผลิตภัณฑ์ และข้อสำคัญคือ โพรไบโอติกต้องทำให้ผลิตภัณฑ์นมหรือเครื่องดื่มมีคุณภาพและรสชาติเป็นที่พอใจของผู้บริโภค

โดยทั่วไป จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่วนใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม หรืออุตสาหกรรมนมในประเทศ เป็นเชื้อนำเข้าที่ผ่านการวิจัยและพัฒนามาจากต่างประเทศ เชื้อเหล่านี้มักแยกได้จากอาหารหรือผลิตภัณฑ์นมที่บริโภคกันอยู่แล้ว และเป็นสายพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อทีองค์การอนามัยโลกได้จัดไว้ว่า เป็นเชื้อที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย หรือที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า Generally Recognized As Safe (GRAS)ได้แก่ Lactobacillus sp. Bifidobacterium sp. Enterococus sp. Bacillus sp. Streptococus sp. และSaccharomyces sp.เป็นต้น จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำการศึกษาความปลอดภัยในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม หากเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกใหม่ ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อ GRAS และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวอ้างทางสุขภาพหรือสรรพคุณในการบรรเทา รักษาโรค นอกจากต้องทำการศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานและความเหมาะสมของการนำมาใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแล้ว ยังจำเป็นต้องทำการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพในสัตว์ทดลองและมนุษย์ด้วย

เมื่อพิจารณาเรื่องเชื้อโพรไบโอติกแล้ว ผู้บริโภคควรให้ความสนใจกับรายละเอียดที่ปรากฏบนฉลากที่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ด้วย นอกจากจะมีสัญลักษณ์ระบุว่าได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วฉลากที่ดีควรมีการระบุชนิดและปริมาณของเชื้อโพรไบโอติกที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน มีการระบุวันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุของการบริโภค และต้องไม่มีข้อความกล่าวอ้างทางสุขภาพให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสรรพคุณในการบรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก อย. เสียก่อน อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์นมที่ผสมโพรไบโอติกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ให้ทำฉลากหรือโฆษณากล่าวอ้างทางสุขภาพ

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม หรือผลิตภัณฑ์นมผสมโพรไบโอติก ผู้บริโภคควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 4 ประการ คือต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการขึ้นทะเบียนจาก อย. มีเชื้อโพรไบโอติกที่มีชีวิตมีความปลอดภัย และมีปริมาณเชื้อมากพอ ที่สำคัญอย่าหลงเชื่อกับการโฆษณากล่าวอ้างผลทางสุขภาพของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.

ดร.ภูษิตา วรรณิสสร

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

'ปากีสถาน'อ่วม! ฝนถล่มหนักทั้งสัปดาห์ คร่าชีวิต 46 ราย

ล้างไพ่-ล้างกระดาน! ‘เทพไท’ฟันฉับ‘ยุบสภา’คือทางออก-นับหนึ่งใหม่

หนุ่มใหญ่โมโหฟันรุ่นน้องดับ อ้างถูกท้าทายในวงเหล้า

ลูกเขยคลั่ง! มีดฟันพ่อตา-แม่ยาย-เมียสาหัส สุดท้ายผูกคอดับหนีผิด

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved