วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารออกฤทธิ์ในว่านหางจระเข้

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารออกฤทธิ์ในว่านหางจระเข้

วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

ว่างหางจระเข้ หรือว่านไฟไหม้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aloe Vera(Linn.) Burm.f. เป็นพืชล้มลุก มีข้อและปล้องสั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ปลายใบแหลม ขอบใบมีหนามแหลม แผ่นใบหนาประมาณ 1 นิ้ว ยาวประมาณ 30 นิ้ว กว้างประมาณ 3 นิ้ว อวบน้ำ มีสีเขียวถึงเทาเขียว ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอกเป็นช่อแตกออกที่ปลายยอด โคนดอกย่อยเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายกลีบดอกแยกเป็น 6 แฉกสีแดงอมเหลือง ผลเป็นผลแห้ง ใบมีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-emodin, Aloesin, Aloin, Glycoprotein (Aloctin A, Aloctin B) น้ำยางมีสีน้ำตาลอมเหลือง (น้ำยางที่ไหลออกมาระหว่างผิวนอกของใบกับตัววุ้นใส) มีสาร Anthraquinone เป็น G-glycoside (Barbaloin : Aloin A)

สำหรับบทความฉบับนี้ ขอนำเสนอสารสกัดจากธรรมชาติที่อยู่ในรูปของอะโลอินเอ หรือบาร์บาโลอินและอะโลอินบีหรือไอโซบาร์บาโลอิน ซึ่งเป็นสารมีสีน้ำตาลเหลือง รสขม สารประกอบมีสูตรเคมี C12H22O9


สารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ในว่านหางจระเข้ ดังนี้

จากการศึกษาปริมาณอะโลอินเบื้องต้นของผู้เขียน โดยใช้ตัวอย่างวุ้นใสจากใบและในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ สกัดสารอะโลอินโดยใช้เมทานอลและตรวจวัดปริมาณสารอะโลอินโดยเทคนิค HPLC-PDAพบปริมาณสารอะโลอินในวุ้นใสจากใบสดไม่ผ่านการล้าง23.48 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่าง วุ้นใสจากใบผ่านการล้างและฝานเป็นแผ่นบางๆ 8.78 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่าง วุ้นใสจากใบผ่านการต้ม 3.61 ไมโครกรัมต่อกรัมตัวอย่าง ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ 0.44 ไมโครกรัมตัวอย่าง และมีปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์เป็นปริมาณได้ โดยยังคงความถูกต้องและแม่นยำ (LOQ) เท่ากับ 0.14 ไมโครกรัมต่อกรัม เนื่องจากว่านหางจระเข้มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น Aloe-emodin Aloesin, Aloin. Glycoprotein (Aloctin A, Aloctin B)Anthraquinone เป็น G-glycoside (Barbaloin : Aloin A) ซึ่งสารแต่ละชนิดออกฤทธิ์ต่างกัน ส่วนสารอะโลอินหรือบาร์บาโลอินเป็นสารกลุ่มไกลโคไซด์ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.2-5 มีฤทธิ์เป็นยาระบายโดยไม่มีอาการปวดท้องและท้องเสีย เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ลดอาการท้องผูกได้

สำหรับการนำวุ้นใสของว่านหางจระเข้มาใช้มีข้อแนะนำคือ ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

 

อมรรัษฎร์ พิกุลทอง, ศุภชัย พัฒนาภา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

รมว.เกษตรฯคนใหม่ฟิตจัดเรียกประชุมมอบนโยบายผู้บริหารฯ

(คลิป) คุ้มไหม! ได้เก้าอี้ รมว. เพิ่มแต่... สูญเสีย! บุคลากรสำคัญหลายคน!

ยังไม่ได้ตั้งพรรคใหม่! 'คุณหญิงกัลยา'ปัดตอบอนาคต-รับคุย'ดร.เอ้'

'ดร.เสรี'ชี้ 'ปชป.-รทสช.'เผชิญวิกฤติศรัทธาหนัก หลังสมาชิก-FCตีจาก เหตุหนุน'อิ๊งค์'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved