วันศุกร์ ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : บริโภคพืชผักอย่างไร...ให้ปลอดภัยจากสารพิษ

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : บริโภคพืชผักอย่างไร...ให้ปลอดภัยจากสารพิษ

วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน
  •  

พืชผักเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย อาทิ การลดอัตราการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน ให้พลังงานน้อย รวมทั้งกระตุ้นลำไส้ให้มีการทำงานได้ดีขึ้น ท้องไม่ผูก ซึ่งหากมีการบริโภคผักผลไม้เป็นประจำก็จะสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้และริดสีดวงทวารได้อีกด้วย

แต่การบริโภคพืชผักให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกายนั้นควรเป็นพืชผักที่สะอาดและปราศจากสารพิษหรือสารกำจัดศัตรูพืช หากมีเวลาและสถานที่ การปลูกพืชผักไว้รับประทานเอง นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ทั้งหมด ดังนั้นการซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้


กระบวนการผลิตพืชผักเพื่อให้ได้ผักที่สวยงาม น่ารับประทาน เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการใช้ปุ๋ยเคมีในการกำจัดโรคและศัตรูพืช ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเสี่ยงกับการบริโภคพืชผักที่อุดมไปด้วยสารพิษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ถึงแม้ในปัจจุบันพืชผักที่จำหน่ายจะมีทั้งพืชผักปลอดสารพิษ (พืชผักที่ยังมีสารพิษตกค้างอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข) และพืชผักทั่วๆ ไป ที่พบเห็นตามตลาดอาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ หากไม่แน่ใจว่าพืชผักที่ซื้อปลอดภัยจากสารพิษหรือไม่ เราจึงควรล้างพืชผักให้ถูกวิธีเพื่อให้แน่ใจว่าพืชผักนั้นปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ได้ให้คำแนะนำ “5 วิธีล้างผัก ลดสารฆ่าแมลง” ดังนี้

วิธีที่ 1 ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำอุ่น 20 ลิตร แช่ไว้นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 80-95%

วิธีที่ 2 เด็ดผักเป็นใบ ล้างผ่านน้ำสะอาดไหลผ่านหลายๆ ครั้ง ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 54-63%

วิธีที่ 3 ใช้ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ช่วยลดปริมาณสารตกค้างได้ 35-43%

วิธีที่ 4 ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 29-38%

วิธีที่ 5 ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาทีจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารตกค้างได้ 27-38%

หลังจากล้างผักเสร็จแล้วก็สามารถนำผักไปปรุงอาหารได้ หรือนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในพืชผักได้แล้ว

เคล็ดไม่ลับในการบริโภคพืชผักให้ปลอดภัยจากสารพิษ 

1.อย่ารับประทานพืชผักชนิดเดียว ควรกินให้หลากหลายและที่มีอยู่ตามฤดู การกินผักชนิดเดียวซ้ำกันบ่อยๆ โอกาสที่เราได้รับสารเคมีจากผักชนิดนั้นๆ ก็ยิ่งมากตามไปด้วย การรับประทานผักที่หลากหลายชนิด นอกจากจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายอย่างแล้ว ยังช่วยให้เราไม่ต้องเสี่ยงกับสารพิษมากจนเกินไป และควรรับประทานผักที่อยู่ตามฤดูกาลเพราะผักจะมีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคและแมลงมากกว่า หากนำมาปลูกนอกฤดูกาลผู้ปลูกมักจะใส่ปุ๋ยและฉีดยาป้องกันกำจัดโรคและแมลงมาก      

2.รับประทานผักพื้นบ้านที่มีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดให้คุณค่าทางอาหารสูง บางชนิดมีสรรพคุณทางยาช่วยป้องกันโรคได้ดีอีกด้วย ผักพื้นบ้านเป็นผักที่แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน จึงไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก การบริโภคผักพื้นบ้านจึงลดการเสี่ยงต่อสารเคมีได้มาก เช่น กระถิน กระเจี๊ยบ ขี้เหล็ก แค ตำลึง ผักหวานบ้าน เป็นต้น ผักดังกล่าว ล้วนเป็นผักที่มีประโยชน์และหารับประทานได้ไม่ยาก

3.ล้างผักให้สะอาดปลอดจากสารพิษ ตามคำแนะนำของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

นอกจากการบริโภคพืชผักให้ปลอดภัยดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีที่จะช่วยลดปริมาณสารพิษในพืชผัก ด้วยวิธีเปลี่ยนแบบการปลูกพืชผักใหม่ เช่น

-การปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษเป็นแบบการปลูกพืชผักที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต โดยผลผลิตพืชผักที่ได้อาจจะมีหรือไม่มีสารพิษตกค้าง แต่หากมีสารพิษตกค้างอยู่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ.2538 เช่น การปลูกพืชผักแบบ จี เอ พี(Good Agricultural Practices, GAP) หรือแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืชของกรมวิชาการเกษตร

-การปลูกพืชผักอินทรีย์ เป็นแบบการปลูกพืชผักที่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตของพืชผัก แต่จะใช้พืชสมุนไพร ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ แทน ในการปลูกพืชผักแบบนี้จะช่วยรักษาและส่งเสริมนิเวศวิทยาในแปลงปลูกให้ดีขึ้น พืชผักที่ได้จะสะอาดปลอดภัย ปราศจากสารพิษ

หากในสังคมของเรามีความตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานของการเกษตร ก็จะทำให้การปลูกพืชผักปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรเอง ผู้ปลูกทั่วไป และสิ่งแวดล้อมโดยรวม ทำให้มีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการและมีการบริโภคที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ และส่งผลดีต่อสุขภาพให้แข็งแรง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

เรียบเรียงข้อมูลจาก www.fda.moph.go.th

www.ku.ac.th/

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

‘โฆษก ภท.’ตบปาก‘ทอม เครือโสภณ’ หยุดวิจารณ์การเมืองสมอ้าง‘หัวหน้าพรรค’

ปิดลงทะเบียน'เที่ยวไทยคนละครึ่ง' เตรียมย้ายไปแอปฯทางรัฐ

'พิชิต'ชวนจับตา! 'ทักษิณ' ให้ 'ภูมิธรรม' นั่ง มท.1 ชนวนใหม่รอวันจุด ปม'ที่ดินอัลไพน์'

ค้าแข้งลีกเยอรมนี! ‘มิคเคลสัน’ย้ายร่วมทัพ‘เอลเวอร์สแบร์ก’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved