วันพุธ ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : จำปีศรีมณฑา : พรรณไม้ลูกผสมชนิดใหม่

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : จำปีศรีมณฑา : พรรณไม้ลูกผสมชนิดใหม่

วันอาทิตย์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ โรคภัย วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน
  •  

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ทำการสำรวจและรวบรวมพรรณไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และมีการนำพรรณไม้เหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลาย ดังเช่นพรรณไม้ลูกผสมในสกุลมหาพรหมที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มากกว่า 12 สายพันธุ์ และไม้ดอกหอมลูกผสมชนิดหนึ่งที่ดอกมีกลิ่นหอมแรง และขนาดใหญ่ ซึ่งพัฒนาสายพันธุ์มาจากดอกจำปี และดอกมณฑา เป็นพรรณไม้ดอกหอมพื้นบ้านของไทยตั้งแต่โบราณพรรณไม้ลูกผสมดังกล่าวมีลักษณะที่พิเศษกว่าชนิดอื่นๆ ดังนี้

จำปีศรีมณฑา (Magnolia liliifera x Magnolia x alba (DC.) Figlar “Champisrimontha”) เป็นลูกผสมของพืชวงศ์จำปี-จำปา (Magnoliaceae) ที่เกิดจากการผสมข้ามชนิด ระหว่าง มณฑา (Magnolia liliifera (L.) Baill. var. liliifera) (แม่พันธุ์) และจำปี (Magnolia x alba (DC.) Figlar) (พ่อพันธุ์)จัดเป็นไม้ดอกหอมชนิดหนึ่งที่มีทรงพุ่มขนาดเล็ก ความสูงของลำต้น 2.0-3.0 เมตร ใบเดี่ยวเรียงเวียน (spiral) ใบรูปรี (elliptic)ปลายใบแหลม (cuspidate) ผิวใบหนาเหนียวเป็นมันทั้งสองด้าน สีเขียว เส้นใบเด่นชัด ความกว้าง 5.5-10.0 เซนติเมตร ความยาว 11.0-26.0 เซนติเมตร ขอบใบเป็นนคลื่นเล็กน้อย (undulate) และมีขนาดใหญ่กว่าจำปีสายพันธุ์พ่อ และมีกิ่งก้านสาขามากกว่ามณฑาสายพันธุ์แม่ การเรียงตัวของใบค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งก้านสาขาน้อย ทำให้ทรงพุ่มโปร่งมองเห็นดอกชัดเจน


ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบและปลายยอด ก้านดอกยาว2.0-3.0 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรวมกับกลีบดอก จำนวน 10-12 กลีบหนา กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบสีขาว ชั้นในสีเหลือง กลิ่นหอมแรง ดอกบานเต็มที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 7.0-8.0 เซนติเมตร ความยาวของกลีบดอก 8.0-9.0 เซนติเมตร ความกว้างของกลีบดอก 4.0-5.0 เซนติเมตร บริเวณจุดศูนย์กลางดอกพบเกสรเพศเมีย (pistil) จำนวน 25-30 อัน โดยรอบมีเกสรเพศผู้ (stamen) จำนวน 55-65 อัน ขนาดความยาว 1.2-1.5 มิลลิเมตร อายุการบานของดอกสามารถบานได้เต็มที่ 2-3 วัน มากกว่าดอกของมณฑา กลิ่นหอมแรงเช่นเดียวกับกลิ่นดอกจำปี และสามารถออกได้ดีตลอดทั้งปี สามารถพัฒนาปลูกเลี้ยงเป็นไม้จัดตกแต่งสวนได้

ลักษณะของพรรณไม้ลูกผสมจำปีศรีมณฑา

ก.ดอกแรกบาน

ข.ลักษณะดอกบานของจำปีศรีมณฑาเปรียบเทียบกับดอกจำปี

ค.ขนาดความกว้างของดอก

ง.ลักษณะใบ

จ.ขนาดความยาวของดอก

ฉ.ความยาวของกลีบดอก

ช.ลักษณะเกสรเพศผู้และเพศเมียของดอก

ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

ใจเย็น!‘เจี๊ยบ อมรัตน์’ลั่นไม่ตระบัดสัตย์‘แก้ผ้า’รำแน่ แต่ตอนนี้‘นายกฯ’แค่พักยังไม่พ้นตำแหน่ง

‘ศุภชัย เจียรวนนท์’ผู้ประพันธ์เพลง‘กตัญญู’ คว้ารางวัลชนะเลิศจาก Thailand Moral Awards 2024

‘ตม.’เปิดหลักฐานโต้สาวต่างชาติผู้ต้องหายาเสพติด อ้างถูกบังคับขนยาในไทย ยันจนท.ไม่เกี่ยว

‘ตำรวจภูธรภาค 1’ทำงานตามสโลแกน‘เป็นหนึ่ง พึ่งได้ ดูแลความปลอดภัย เพื่อประชาชน’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved