วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กรดไหลย้อน

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กรดไหลย้อน

วันอาทิตย์ ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.
Tag : ความรู้รอบตัว ความรู้เรื่องสุขภาพ โรคภัย วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน
  •  

กรดไหลย้อน เป็นโรคที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากเยื่อบุต่างๆ เสื่อมสภาพลง หูรูดกระเพาะหย่อน น้ำลายลดลงและยาบางชนิดมีผลทำให้หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท จนทำให้เกิดสภาวะกรดไหลย้อน ปัจจุบันคนในวัยทำงานมีอัตราการเป็นกรดไหลย้อนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ แม้กระทั่งช่วงเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รวมถึงการรับประทานอาหารที่รสจัดเกินไป การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน นอกจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนแล้ว ความผิดปกติทางกายภาพ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน เช่น ความผิดปกติในการบีบตัวของกระเพาะอาหาร หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท หูรูดกระเพาะอาหารเลื่อน

อาการของกรดไหลย้อน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จจะรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ หน้าอก และคอ เรอเปรี้ยวและมีรสขม อาจมีอาการกลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด ร่วมด้วย หากไม่ทำการรักษาและปล่อยไว้นานอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ เนื่องจากกรดทำลายหลอดอาหาร


ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดได้สร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหารไปถึงอวัยวะบริเวณทางเดินหายใจ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ หรือมีเลือดออกในหลอดอาหาร รวมทั้งอาจเกิดภาวะหลอดอาหารตีบตัน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดไอเรื้อรัง อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบันยังคงพบได้น้อยราย

สำหรับผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่มีวิธีการตรวจหลายวิธี ดังนี้

l การตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร (Esophageal manometry)

l การตรวจวัดการไหลย้อนของกรดที่หลอดอาหาร (Esophageal pH monitoring)

l การส่องกล้องตรวจในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร (Gastroscopy)

การลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อน ควรปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค เมื่อรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรนอนในทันทีงดการดื่มสุรา น้ำอัดลม งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน พักผ่อนให้เพียงพอ และสำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนแล้วควรรับประทานอาหารแค่พออิ่ม ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นแต่น้อย ภายหลังรับประทานอาหารควรเว้นระยะห่างจากการนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เวลานอนให้ยกศีรษะสูง

ผู้ที่มีอาการต่างๆ ที่บ่งชี้ว่าอาจจะเป็นกรดไหลย้อนควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป การรักษากรดไหลย้อนทำได้ด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัด ตามแต่กรณีที่แพทย์เห็นสมควร

เรียบเรียงจาก https://www.pobpad.com/

https://www.phyathai.com/

กัลยา จงรัตนชูชัย

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชฯ ข้าราชบริพารในพระองค์ 223 ราย

ฝนถล่มอุดรฯ น้ำท่วมถนนหลายสายหนัก ชาวบ้าน 2 คนถูกไฟดูดเสียชีวิต

'วุฒิสภากัมพูชา'อนุมัติ! เปิดทางเพิกถอนสัญชาติพลเมืองที่ทรยศต่อประเทศชาติ

ช็อก! คลินิกความงาม หลอกขายคอร์ส เปิดหรูในห้างดัง พบเงินบัญชีม้าเกือบ 50 ล้าน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved