วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อันตรายจากคลอรีน

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อันตรายจากคลอรีน

วันอาทิตย์ ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

“คลอรีน” เป็นธาตุที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลากหลาย เช่น ในสระว่ายน้ำ น้ำประปา หรือแม้กระทั่งในน้ำดื่ม เรามาทำความรู้จักกับธาตุชนิดนี้ว่ามีผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

คลอรีน คืออะไร


คลอรีน (Chlorine) คือ ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน มีกลิ่นที่รุนแรง มีความเป็นพิษค่อนข้างสูง
จึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นิยมนำมาใช้ประโยชน์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำประปาและน้ำดื่ม ในสระว่ายน้ำ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบผสมในน้ำยาทำความสะอาดสำหรับฆ่าเชื้อบนพื้นผิวอื่นๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า รวมถึงใช้ทำความสะอาดในโรงงาน โรงพยาบาล เป็นต้น

นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กระดาษ พลาสติก สี สิ่งทอ รวมทั้งอุตสาหกรรมทางการเกษตรนำไปผสมเป็นยาฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืชและอุตสาหกรรมทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังนำคลอรีนเป็นส่วนผสมหลักที่สามารถพบได้ในยาบางประเภท เช่น ยาลดคอเรสเตอรอล ยาแก้ปวดข้อ และยาแก้แพ้บางชนิด

คลอรีนในสภาวะปกติ จะอยู่ในรูปก๊าซสีเขียวอมเหลือง หากเพิ่มความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเปลี่ยนเป็นของเหลวสีอำพัน และหากสัมผัสหรือผสมกับน้ำจะเกิดปฏิกิริยาได้สารที่มีคุณสมบัติออกซิไดซ์ ออกฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง

คลอรีนที่อยู่ในภาชนะบรรจุจะอยู่ในสภาพของเหลวภายใต้ความดันสูง แต่หากอุณหภูมิสูงขึ้นของเหลวส่วนล่างในภาชนะบรรจุจะเปลี่ยนเป็นก๊าซทำให้แรงดันเพิ่มขึ้นอีก เช่น ก๊าซคลอรีนในภาชนะที่อุณหภูมิ 35 ํC ความดันก๊าซจะประมาณ 10 บาร์ แต่หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 65 ํC ความดันก๊าซจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 บาร์ ซึ่งหากภาชนะไม่สามารถรับแรงดันได้จะเกิดการระเบิดได้ดังนั้น ก๊าซคลอรีนที่เก็บในภาชนะบรรจุ ควรเก็บในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิต่ำกว่า 50 ํC ติดฉลากไว้อย่างชัดเจน และไม่เก็บปะปนกับสารไวไฟ

อาการของผู้ที่ได้สัมผัสคลอรีนแบบเฉียบพลัน

ระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสคลอรีนที่ความเข้มข้นต่ำๆ (1-10 ppm) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา แสบคอ และเกิดการไอขึ้นที่ความเข้มข้นสูง (30-50 ppm) จะกดระบบการหายใจและมีการอุดกั้นระบบการหายใจส่วนต้น ปอดบวมน้ำ

ระบบหัวใจและหลอดเลือด การสัมผัสที่ความเข้มข้นสูงทำให้เกิดภาวะ cardiovascular collapse เนื่องจากขาดออกซิเจน

กระบวนการสันดาป เกิดภาวะเสียสมดุลกรดด่างในร่างกาย เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนหรือเกิดจากมีคลอไรด์อิออน ในเลือดสูง ในกรณีสูดดมก๊าซคลอรีนเข้าไปปริมาณมากๆ

ระบบอื่นๆ ที่ผิวหนังเมื่อสัมผัสจะเกิดการระคายเคือง ผิวหนังไหม้ แสบ มีการอักเสบ และเกิดตุ่มน้ำขึ้น การสัมผัสกับคลอรีนเหลวทำให้เกิดแผลคล้ายหิมะกัด ที่ตาในขนาดความเข้มข้นต่ำจะเกิดอาการแสบเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง ถ้าสัมผัสที่ความเข้มข้นสูงอาจทำให้กระจกตาได้รับอันตราย (corneal burns)

ภายหลังการได้รับพิษการทำงานของปอดจะกลับสู่ภาวะปกติภายในระยะเวลา 7-14 วัน แต่บางรายโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการสัมผัสกับคลอรีนเป็นระยะเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้การทำงานของปอดบกพร่องต่อเนื่องได้ และเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจมีปฏิกิริยาผิดปกติที่เรียกว่า ภาวะ reactive airway dysfunction syndrome (RADS) และยังทำให้เกิดอาการเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังทำให้เกิดผลเสียต่อฟัน เนื่องจากฤทธิ์กัดกร่อน ส่วนการเป็นสารก่อมะเร็งนั้นยังไม่พบว่าคลอรีนสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับผลต่อระบบสืบพันธุ์ ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์

ถึงแม้คลอรีนจะมีอันตราย แต่ก็มีความปลอดภัยสูงเช่นกัน เพราะตามปกติแล้วคลอรีนที่เราสามารถพบเจอในชีวิตประจำวันมักจะอยู่ในระดับที่เจือจางมาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ หรืออาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ชั่วคราว แต่หากสารคลอรีนเข้าตาหรือสัมผัสให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที กำจัดเสื้อผ้าที่เปื้อนสาร แล้วนำส่งแพทย์ กรณีสูดดมสารให้รีบนำตัวผู้ป่วยไปอยู่ในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์แล้วนำส่งแพทย์โดยทันที หรือกรณีกลืนสารถ้าผู้ป่วยยังมีสติให้ดื่มน้ำมากๆ แล้วตามด้วยน้ำมันพืช หากอาเจียนให้ดื่มน้ำมากๆ แล้วนำส่งแพทย์ทันที แต่ถ้าผู้ป่วยหมดสติอย่าให้รับประทานสิ่งใด และห้ามทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาด ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด หากต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับก๊าซคลอรีน จะต้องสวมหน้ากากป้องกันตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นคลอรีนเหลวจะต้องสวมถุงมือ ชุดคลุมทั้งตัวและรองเท้าบู๊ทที่ทำด้วยสารพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://hellokhunmor.co

https://marumothai.com/article

https://sites.google.com/site/safetyengineering06/

https://sgechem.com/articles

 

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

รอชื่อเต็มๆก่อน!‘พิพัฒน์’ขู่ฟ้องกลับแน่ ปูดชื่อย่อ‘พ.’โยงเอี่ยว‘ฮั้วเลือก สว.’

เปิดคลิปนาที! 'ลุงป้อม'เดินพลาดตกบันไดวัดโพธิ์ หลังกลับจากทำบุญ

โฆษก'ภูมิใจไทย'ยัน 70เสียง ยกมือผ่านงบประมาณฯปี 69 ล้านเปอร์เซ็นต์

‘ภูมิธรรม’ดันสร้างเขื่อนกรองสารพิษ ‘แม่น้ำกก-สาย’ ป้องกันปัญหาในระยะยาว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved