วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
World Cup ฉบับทะเลทราย : เกมที่มากกว่า‘ฟุตบอล’

World Cup ฉบับทะเลทราย : เกมที่มากกว่า‘ฟุตบอล’

วันพุธ ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 06.10 น.
Tag : World Cup ฉบับทะเลทราย เกมที่มากกว่า‘ฟุตบอล’
  •  

โมร็อกโก เป็นแขกรับเชิญที่น่าประหลาดใจในรอบ 4 ทีมสุดท้ายของฟุตบอลโลก

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 21 ครั้ง ที่ผ่านมา เข้าสู่ปีที่ 92 ของเวิลด์คัพ ซึ่งมี ถึง 79 ชาติที่เข้าสู่รอบสุดท้ายมีผู้ชนะเพียง 8 ชาติ และมีเพียง 13 ชาติเท่านั้นที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ


โมร็อกโกกำลังชูธงให้กับ “ทีมรองบ่อน” อย่างแท้จริงเนื่องจากพวกเขาเป็นทีมจากแอฟริกาทีมแรกที่ผ่านเข้ารอบ4 ทีมสุดท้ายและทำได้อย่างมีสไตล์ที่น่าศึกษา ด้วยการส่งทีมใหญ่ของยุโรปอย่าง เบลเยียม สเปน และโปรตุเกสกลับบ้าน

การมาเจอกับ ฝรั่งเศส น่าสนใจมากว่า “ทำไม” พวกเขาต้องเจอกับชาติที่เกี่ยวพันในเรื่องการเมือง การปกครองมาโดยตลอดในรอบน็อกเอาท์?!?!?

สเปน, โปรตุเกส และฝรั่งเศส คือชาติที่มีความหลังกับ โมร็อกโก ทั้งสิ้น

สำหรับโมร็อกโก ในศตวรรษที่ 17 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1603 ปัญหาภายในเริ่มเกิดขึ้น ราชวงศ์ต่างๆ เสื่อมถอยทั้งศรัทธาและอำนาจ นับจาก สุลต่านอาห์เหม็ดเอลมันซูร์สิ้นพระชนม์  บวกกับความต้องการเป็นเจ้าอาณานิคมของชาติต่างๆ ทำให้ โมร็อกโก เริ่มมีชาวยุโรปเข้ามาในแผ่นดิน และเริ่มเบ่งบวมบารมีแข่งกับเจ้าถิ่นอย่างอาหรับ

ลงท้ายแล้ว “ความตกลงฉันทไมตรี” หรือ “ความเข้าใจฉันทไมตรี” (Entente Cordiale) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 1904 ระหว่าง อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส ถือเป็นการสิ้นสุดของความขัดแย้งเป็นระยะระหว่างทั้งสองชาติ ให้อยู่กันอย่างสันติให้ยอมความกันสักที และความตกลงฉันทไมตรี ร่วมกับภาคีอังกฤษ-รัสเซีย และพันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซีย ในภายหลังได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ “พันธมิตรไตรภาคี” นั่นคือ มหาอำนาจ อังกฤษ, ฝรั่งเศส และรัสเซีย

หนึ่งในแถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่าด้วยเรื่องของ 2 ชาติในแอฟริกาเหนือ นั่นคือ อียิปต์ กับ โมร็อกโก

ฝรั่งเศส สัญญาจะไม่เข้าไปขัดขวางการปฏิบัติของอังกฤษในอียิปต์ แลกกับการที่ อังกฤษ สัญญาจะอนุญาตให้ฝรั่งเศส รักษาความสงบ และจัดหาการสนับสนุนในโมร็อกโก

มีการรับประกันการเดินทางผ่านคลองสุเอซ และทำให้อนุสัญญากรุงคอนสแตนติโนเปิล มีผลใช้บังคับ และห้ามการก่อสร้างป้อมปราการบนพื้นที่บางส่วนของชายฝั่งโมร็อกโก ซึ่งอย่างนี้เค้าเรียกว่า “เข้าทาง”

ฝรั่งเศส กับ สเปน ที่ลูบปากรอมาหลายปี พอถึงทางสะดวก ก็เคลียร์กันได้ ในที่สุดสองชาติมหาอำนาจทางทะเล สามารถยุติความขัดแย้งเรื่องสิทธิเหนือดินแดนโมร็อกโกได้ใน ค.ศ. 1912 ด้วยสนธิสัญญาเฟส (Treaty of Fes)

การเข้าอารักขาครั้งนี้ ฝรั่งเศส กับ สเปน แบ่งเค้กกัน ยกเว้นเมืองแทนเจียร์อันเป็นเมืองท่าสำคัญ ประกาศให้เป็นดินแดนสากลไม่ขึ้นกับใคร

สเปน ได้สิทธิ์ในการยึดครองดินแดนบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และพื้นที่ทางตอนใต้บางส่วนที่พวกเขาเคยยึด
ซาฮาราตะวันตกมาก่อนหน้านี้ โดยให้เมืองเตตูอาน หรือ เตตวน เป็นเมืองหลวง

ขณะเดียวกัน โมร็อกโก ภายใต้อารักขาของ ฝรั่งเศส มี ราบัต เป็นเมืองหลวง

ฝรั่งเศส เดินหน้าพัฒนานครคาซาบลังก้า ให้เป็นเมืองท่าที่ทันสมัยทางฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก นอกจากนั้นยังสร้าง
เมืองใหม่ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่า

แต่งตั้งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ หรือปาชา ดูแลเมืองมาร์ราเกช พร้อมกับให้อำนาจ สุลต่านดูแลโมร็อกโก อยู่เช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม จะมีใครพอใจการเข้ามาหาผลประโยชน์ของชาติอื่นบนแผ่นดินตัวเอง การปล่อยให้ชาติอื่นมาถือครองสิทธิ์
ในแผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ ลึกๆ ในใจของคนในพื้นที่นั้นๆ เค้าคงไม่ต้องการถูกปู้ยี้ปู้ยำหรือย่ำยีขยี้กลางใจ

การต่อต้านจึงเกิดขึ้นมากมาย และบ่อยครั้ง มีการปะทะกันของชาวท้องถิ่นทั้งกับ สเปน และฝรั่งเศส อาทิ อับเดล คาริม เป็นผู้นำประท้วงในปี 1921 พวกเขาชนะ สเปน ได้ แต่ต้องพ่ายต่อกองกำลังผสมของทหารฝรั่งเศส กับ สเปน โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาของโมร็อกโก ได้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อเอกราช และเสรีภาพของประเทศตัวเอง เป็นเวลานานถึง 5 ปีเต็ม

สุดท้ายแล้ว เมื่อการอุบัติขึ้นของสงครามโลก ครั้งที่ 2 ปะเหมาะเคราะห์ดีที่ โมร็อกโก จะเรียกร้องเสรีภาพของพวกเขา
ได้มากยิ่งขึ้นไป เมื่อมีการตั้งพรรคการเมืองชาตินิยมที่ชื่อ “อิสติกัวลัล” ขึ้นมา ซึ่งชื่อในภาษาของเขาระบุว่า นี่คือพรรคเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแสนคนในเวลาเพียง 3 ปี โดยมีการสนับสนุนของสุลต่าน โมฮัมเหม็ด ที่ 5

ความลับไม่มีในโลก ก่อนที่ พระองค์ จะถูกกักบริเวณ และถูกเนรเทศไปอยู่ มาดากัสการ์ ถึง 2 ปี แต่ในที่สุด ทั้ง ฝรั่งเศส กับ สเปน ก็ยอมถอนตัวออกไป ถูกกักบริเวณอยู่ระยะหนึ่งและภายหลังถูกเนรเทศไปยังเกาะ มาดากัสการ์เป็นเวลา 2 ปี กระทั่งในที่สุดปี 1956 ฝรั่งเศสและสเปนก็ยอมถอนตัวออกจากโมร็อกโก

อย่างไรก็ตามการเจรจาระหว่าง สเปน กับ โมร็อกโก ยังเหลือ เซวต้า กับ เมลีญ่า เอาไว้ แต่ให้ แทนเจียร์ มาผนวกกับ เตตวน และราบัต ก่อนที่ โมร็อกโก จะประกาศเอกราชในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และสุลต่าน โมฮัมเหม็ด ที่ 5 ขึ้นครองราชย์ สถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลาวิตองค์ ที่ 13 เป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนจากสุลต่านเป็นพระราชาธิบดีแทน

การเข้ามายึดครองในครั้งนั้น น้อยมากที่จะสร้างความผูกพัน แต่น่าจะมีความเจ็บปวดฝังลึกในใจของ โมร็อกโก ที่ถูกรุกราน ผ่านพ้นไปไม่ถึง 100 ปี

คำว่า “MARROC” หรือ Morroco ในปัจจุบัน ก็มาจากเหง้าภาษาฝรั่งเศส โดยตรง ดังนั้นเราจะเห็นตัวย่อของ โมร็อกโก เป็น “MAR” อยู่ในทุกมาตรฐานสากล โดยเฉพาะกีฬานั่นเอง

ผู้จัดการทีมโมร็อกโก “วาลิด เรกรากี” นำทีมมาในครั้งนี้มีนักบอลถึง 14 จาก 26 คนที่ไม่ได้เกิดในแผ่นดินแม่ เช่นเดียวกับตัวเขา แต่ทุกคนต้องการเลือกที่จะสู้ให้ โมร็อกโก

เรกรากี ไม่ได้เกิดที่ โมร็อกโก แต่เป็นนักเตะเชื้อสายโมร็อกโกแบบเต็มรูปแบบ เขาไปเกิดและเติบโตที่คอร์เบย์ล-เอสซองเยส ชานเมืองทางตอนใต้ของกรุงปารีส ติดแม่น้ำแซน เล่นฟุตบอลในฝรั่งเศสกับทีมอย่าง อฌักซิโอ้, ตูลูส และดิฌง มีโฉบไปอยู่สเปนกับ ราซิ่ง ซานตาเดร์ ด้วย เข้ามาทำงานคุมทีมไม่ถึง 4 เดือนพาทีมผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และชาติแรกจากแอฟริกา

ในรอบที่ผ่านๆ มา เขามักจะใช้คำพูดปลุกใจลูกทีม

“ผมต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้มาหลายต่อหลายครั้ง ก่อนฟุตบอลโลกจะเริ่มต้นขึ้น เรามีปัญหามากมายที่เกิดขึ้นกับคำถามที่ว่าทำไมผู้เล่นบางคนถึงไม่เล่นให้กับบ้านเกิดอย่างโมร็อกโก และบางคนก็ไม่ได้เกิดที่นี่ เราแสดงให้โลกได้เห็นว่าทุกคนเป็นชาวโมร็อกโก พวกเขามาเล่นทีมชาติและพร้อมสู้ตาย”เรกรากี กล่าว

“ผมเกิดในฝรั่งเศส แต่ไม่มีใครเอาหัวใจผมไปจากประเทศสายเลือดของผมได้ ลูกทีมของผมทุ่มเท 100% บางคนเกิดในเยอรมนี, สเปน, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์ หรือแม้แต่ฝรั่งเศส ทุกประเทศล้วนมีวัฒนธรรมของฟุตบอลที่แตกต่างกัน”

มีนักเตะเกิดในฝรั่งเศส 2 ราย นั่นคือ โรแม็ง ซาอิสส์ และโซฟียาน บูฟาล ตัวสำคัญทั้งคู่

มาถึงเกมนัดนี้ มาในครั้งนี้ ฝรั่งเศส เองก็ต้องตระหนักดีว่า โมร็อกโก ที่เป็นมากกว่า “ทีมตั้งรับ” ขณะที่พวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับการปะทะรอบรองชนะเลิศ

เรื่องของฟุตบอลเราเห็นกันชัดว่า โมร็อกโก ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรในการเล่น ทุกคนเล่นบอลง่าย เข้าใจแท็กติก และวินัยสูงมาก ในสไตล์ 4-3-3 ที่ไม่มีอยู่จริง

เวลารับคือ 9 คน จากนั้นเวลาบุกจะทะยานขึ้นไปกันเป็นกลุ่ม อย่างน้อย 3 คนมีแน่ และเล่นอย่างอดทน รอคู่ต่อสู้พลาดท่าให้ ก่อนจะหาจังหวะ ซึ่งเราเห็นจากการเข้าทำประตูใส่ โปรตุเกส นี่คือสิ่งที่ ฝรั่งเศส ต้องพึงระลึกถึงกับการที่พวกเขาเสียประตูมาทุกนัดในบอลโลก

เหมือนการันตีว่า ลงสนามเมื่อไหร่พวกเขาจะเสียแน่นอน 1 ประตู แต่ พวกเขาจะตอบโต้และทำได้จากการเล่นแบบมีสไตล์ สู้ได้กับความกดดัน แสดงให้เห็นคลาสมาแล้วในเกมกับ อังกฤษ

อองตวน กรีซมันน์ จะมีเวลาเล่นหรือไม่ แน่นอนที่สุด โมร็อกโก ต้องดูนาฬิกาไปเตะไป ห้ามให้เวลากับ กรีซมันน์ แม้แต่วินาทีเดียวก็ไม่ดี   

ยิ่งไปกว่านั้นการปะทะกันริมเส้นของ แนวรุกด้านซ้ายที่ดีที่สุดอย่าง คีลิยัน เอ็มบัปเป้ ที่จะดวลกับ แบ๊กขวาที่ดีที่สุดอย่าง อาชราฟ ฮาคิมี่ นี่คือสิ่งที่แฟนบอลจะต้องดู

น่าสนใจก็คือ ฟุตบอลโลกครั้งนี้ หากเทียบเป็น“แผ่นที่โลก” นั้น ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ โมร็อกโก ได้ปราบทั้ง สเปน และโปรตุเกส เรียบร้อย ได้ยึดฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เอาไว้หมดแล้ว

ทีนี้อยู่ที่ ฝรั่งเศส นี่แหละ จะทำอย่างไรกับยุทธการนี้

กับยกพลผ่านกองทัพอันแข็งแกร่งนี้ ผ่านช่องแคบ
ยิบรอลตาร์!?!?!?

บี  แหลมสิงห์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ประเดิมสวย! 'น้องพิ้งค์'โค่นจีนขนไก่ไทยแลนด์โอเพ่น

(คลิป) FCส้มเดือดพลั่ก!! บุกสภาฯ รุมสาป‘สส.กฤษฎิ์’แถลงแยกทาง‘ปชน.’ซบ'กล้าธรรม'

(คลิป) เตือน!! ข่าวลือระวังเป็นข่าวจริง 'แดง-น้ำเงิน' ตีกัน ขู่! คว่ำร่างพรบ.งยประมาณ

‘พล.ท.ยอดชัย’ร้อง DSI สอบเงินสมัครสว.ส่อผิดปกติ แย้มมีผู้สมัครส่งซิกวันลงคะแนน

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved