วันอาทิตย์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เกลือแร่สำคัญมากน้อยแค่ไหน

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เกลือแร่สำคัญมากน้อยแค่ไหน

วันอาทิตย์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

หนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่จำเป็นต่อร่างกายของเราก็คือ เกลือแร่เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าสารอาหารชนิดอื่นๆ

เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (Minerals) คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นสารอาหารรอง ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายแต่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าสารอาหารหลักอย่าง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และน้ำ แต่ร่างกายขาดไม่ได้และเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานโดยตรง แต่มีความจำเป็นในกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ในด้านการช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกๆ อวัยวะ ช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมน รักษาสมดุลของกระบวนการออสโมซิส อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของเซลล์ เนื้อเยื่อและเส้นประสาท รวมไปถึงเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน โดยร่างกายของเราจะมีเกลือแร่อยู่ประมาณ 4% ของน้ำหนักตัว สามารถแบ่งเกลือแร่ตามความต้องการได้ 2 ประเภท ดังนี้


1.เกลือแร่หลัก เป็นเกลือแร่ที่มีอยู่ในร่างกายมากกว่าร้อยละ 0.01 ของน้ำหนักตัว หรือมีมากกว่า 5 กรัม ซึ่งร่างกายต้องการวันละมากกว่า 100 มิลลิกรัม เกลือแร่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorous) แมกนีเซียม (Magnesium) โพแทสเซียม (Potassium), โซเดียม (Sodium), คลอไรด์ (Chloride), และกำมะถันหรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

2.เกลือแร่รอง เป็นเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย และมีอยู่ในร่างกายเพียงเล็กน้อยหรือน้อยกว่า 5 กรัม โดยร่างกายของเราต้องการเกลือแร่ประเภทนี้น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เกลือแร่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธาตุเหล็ก (Iron) ซีลีเนียม (Selenium) โคบอลต์ (Cobalt) โครเมียม (Chromium) ทองแดง (Copper) แมงกานีส (Manganese) โมลิบดีนัม (Molybdenum) ฟลูออไรด์ (Fluoride) วาเนเดียม (Vanadium) สังกะสี (Zinc) และไอโอดีน (Iodine)

ความสำคัญของเกลือแร่

1. เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดย แคลเซียม ฟอสฟอรัส จะรวมกับวิตามินดี ทำหน้าที่นี้

2. เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ไอโอดีนในฮอร์โมน-ไทรอกซิน เอนไซม์ โคเอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของสารประกอบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น กรดอะมิโน และฟอสโฟลิปิด ได้แก่ กำมะถันและฟอสฟอรัส หรือเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของฮีม คือ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

3. ช่วยรักษาความสมดุลของกรดด่างภายในร่างกาย เพื่อความสมดุลในการทำงานของเซลล์ต่างๆ เนื่องจากอาหารที่ร่างกายได้รับจะมีทั้งเกลือแร่ชนิดที่ทำให้เกิดกรดและเบส ซึ่งกลไกของร่างกายจะทำหน้าที่ปรับภาวะเพื่อรักษาความสมดุลความเป็นกลาง เพื่อช่วยให้เซลล์มีชีวิต ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส

4. ควบคุมความสมดุลของน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งในร่างกายจะมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 60 เกลือแร่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี เช่น ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ ช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหารและวิตามิน ช่วยเป็นตัวเร่งในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ให้เป็นก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ น้ำ และพลังงาน ได้แก่ สังกะสี ทองแดง โครเมียม

5. มีบทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจและการทำงานของเส้นประสาทให้เป็นปกติ

นอกจากนี้เกลือแร่ยังมีประโยชน์ในด้านการถนอมอาหาร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ช่วยป้องกันการเน่าเสียของอาหาร (เช่น เกลือแกง ไนไตรต ซัลไฟต์) และกลุ่มที่ช่วยป้องกันการเปลี่ยนสีของอาหาร ในด้านกลิ่น รส สี และการชูรส โดยเฉพาะเกลือแร่ทำหน้าที่ให้กลิ่นรสมีอยู่หลายชนิด มีทั้งจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ เช่น โซเดียมคลอไรด์ มีรสเค็มและใช้เป็นส่วนผสมในขนมปัง สำหรับเกลือแร่ที่ทำหน้าที่ชูรสชาติอาหารมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงเนื้อสัมผัส โดยเกลือแร่ทำหน้าที่ปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของอาหารจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับสารเจือปนอื่น โดยนำไปใช้กับเนื้อสัตว์ แป้ง ผักและผลไม้ โดยเฉพาะกับเนื้อสัตว์จะประกอบไปด้วย เตตระโซเดียม ไพโรฟอสเฟต ไดโซเดียม ออร์โทฟอสเฟต โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟต โซเดียมแอซิดไพโรฟอสเฟต และโซเดียมเฮกซาเมตาฟอสเฟต ซึ่งการใส่เกลือแร่เหล่านี้ลงไปจะช่วยทำให้เนื้อสัตว์มีความนุ่มมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า เกลือแร่มีบทบาทสำคัญและมีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งสารอาหารต่างๆ จากธรรมชาติรวมถึงผักผลไม้นับว่าเป็นแหล่งสำคัญที่ให้เกลือแร่ หากร่างกายได้รับเกลือแร่ไม่เพียงพอจากสารอาหารเหล่านั้น ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต โรคประจำตัว การแพ้สารอาหาร รวมถึงพฤติกรรมที่ไม่ชอบทานผักผลไม้ การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินและเกลือแร่รวมก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการช่วยดูแลสุขภาพ

เรียบเรียงข้อมูลจาก :

https://medthai.com

https://www.bangkokhealth.com/articles

https://sites.google.com/site/looktalnamtal/hnathi-khxng-kelux-rae

https://id.hellokhunmor.com/

https://www.centrum.co.th/knowledge/vms-immune/

https://hd.co.th/mineral-benefits

 

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

แซ่บเต็มสิบ! 'ยิปซี คีรติ'ปล่อยภาพบิกินี่สุดฮอตทำไอจีไฟลุก

กู้ภัยช่วยชีวิต! ทารกน้อยถูกทิ้งในชักโครก ห้องน้ำปั๊มน้ำมัน

(คลิป) 'ติ่ง-มัลลิกา' ถอดรหัส พรรค 'ธรรมนัส' ล่า 'งูเห่า'

เสียชีวิตแล้ว 2 ราย! เรือกองทัพเม็กซิโกชนสะพานบรูกลินในนครนิวยอร์ก บาดเจ็บอื้อ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved