วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต่อมไพเนียล...ดวงตาที่สามของมนุษย์

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ต่อมไพเนียล...ดวงตาที่สามของมนุษย์

วันอาทิตย์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

ต่อมไพเนียล (Pineal gland) เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ในส่วนใจกลางของสมอง รูปร่างเหมือนเมล็ดสนสีแดงปนน้ำตาลมีขนาดยาวจากหน้าไปหลัง 5-10 มิลลิเมตร กว้างและสูง 3-7 มิลลิเมตร หนัก 0.2 กรัม อยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สามประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือเซลล์ไพเนียล (pinealocytes) และเซลล์ไกลอัน (glial cell) ซึ่งเซลล์นี้เป็นเซลล์ประสาทที่มีตำแหน่งอยู่บนโครงข่ายประสาทของเซลล์ไพเนียล หน้าที่ยังไม่ชัดเจน ต่อมไพเนียลจัดอยู่ในระบบประสาท คือการรับตัวกระตุ้นจากการมองเห็น (visual nerve stimuli) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่สามของมนุษย์

นอกจากนี้ ต่อมไพเนียลยังทำหน้าที่เป็นระบบต่อมไร้ท่อคือ สร้างฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย ส่งคำสั่งเชื่อมโยงไปยังต่อมและอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยอาศัยเส้นใยประสาท สารสื่อนำประสาท ควบคุมต่อมใต้สมอง ต่อไปยังต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ ต่อมเหล่านี้เป็นผู้สั่งการระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโต การเผาผลาญอาหารการสลายอาหารเป็นพลังงาน การเสริมสร้างร่างกายและเนื้อเยื่อ การตอบรับความเครียด การสร้างเสริมระบบภูมิต้านทานการตกไข่ การมีประจำเดือน การสนองต่ออารมณ์ทางเพศ และอื่นๆ อีกมากมาย


ต่อมไพเนียล มีหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืน ส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการนอนหลับ ถ้าหากร่างกายได้รับการพักผ่อนเพียงพอ การทำงานของร่างกายในส่วนอื่นๆ ก็ย่อมดีด้วยแต่ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดการเสียสมดุล เกิดอาการต่างๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งการทำหน้าที่ในเรื่องของการนอนหลับนี้ คือ เมื่อมีแสงมาตกกระทบกับดวงตาของเรา จะเกิดการนำกระแสประสาทไประงับการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้ต่อมไพเนียลไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมาได้ตรงกันข้ามกับช่วงเวลากลางคืนหรือที่ไม่มีแสง นอกจากหน้าที่ในการปรับร่างกายให้รับรู้เวลากลางวันกลางคืนในรอบวันแล้วเมลาโทนินยังทำหน้าที่อื่นๆ ดังนี้

1.การพัฒนาระบบอวัยวะสืบพันธุ์ มีบางคนเชื่อว่าเมลาโทนินมีผลต่อการสร้างโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่งฮอร์โมน (GnRH) แม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปชัดเจนเกี่ยวข้องกับขบวนการหลั่งของเมลาโทนิน แต่มีความเชื่อว่าน่าจะระงับการหลั่งโกนาโดโทปินรีลิสซิ่งฮอร์โมนจากไฮโพทาลามัส และควบคุมการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ โดยจะมีการยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเพศ เช่นในช่วงฤดูหนาวที่มีกลางคืนยาวนาน ผู้หญิงชาวเอสกิโมจะไม่มีประจำเดือน แต่ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้ากว่าที่ควร ในผู้ชายจะมีอัณฑะขนาดเล็กลงได้

2.ส่งเสริมการนอนหลับและกิจกรรมต่างๆ ใช้ในการรักษาผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ (sleep disorder) เช่นผู้ทำงานเป็นกะ (shift workers ) หรือผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ (elderly insomnia) แก้ไขการหลงเวลาจากการเดินทางโดยเครื่องบิน (jet lag) เมื่อไปในประเทศที่เวลาไม่เหมือนกัน

3. การรักษาโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์ มีงานวิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างเมลาโทนินและภาวะซึมเศร้า พบว่าในประเทศที่มีฤดูหนาวที่ยาวนาน อากาศสลัวๆ เมลาโทนินหลั่งมากขึ้นจะมีผู้ที่มีอาการซึมเศร้ามากกว่า และเป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมเราจึงรู้สึกสดชื่นในวันที่ท้องฟ้าสดใส มากกว่าในช่วงที่มีอากาศสลัวๆ ของช่วงฤดูหนาว

4.ชะลอการชราภาพ มีบางรายงานกล่าวถึงเมลาโทนินซึ่งเป็นตัวต้านออกซิเดชัน (antioxidation) เป็นสารที่ป้องกันไม่ให้เซลล์ในร่างกายถูกทำลายจากสารที่เป็นอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งมักจะไปทำปฏิกิริยาเป็นลูกโซ่และทำลายเซลล์อื่นได้มาก ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง หลอดเลือดหัวใจขาดเลือดถ้ามีอนุมูลอิสระที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมมากจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ต่อเยื่อบุผิวเซลล์หรืออาจเข้าไปในนิวเคลียส ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัว หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้เกิดการชราภาพของเซลล์ เมลาโทนินจะไปจับหรือกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ดีและปกป้องเซลล์จากการทำลายของไขมันในเยื่อหุ้มเซลล์ได้ด้วย ทำให้ชะลอการชราภาพได้และมีรายงานว่าสามารถนำมาใช้ฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ได้ดี

เรียบเรียงข้อมูลจาก

https://haamor.com

https://ylfrequencies.com/pinealgland/

https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter6/pineal_gland.htm

https://www.novabizz.com/NovaAce/Pineal.htm

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

(คลิป) มรสุม! 'ทักษิณ' ไม่น่ารอดคุก! ศาลฯไม่อนุญาตให้ไป 'กาตาร์'

กูรูอีสานไม่ทนฟาดยับ'เก่ง ธชย'ทำไม่ถึง ย่ำยีจารีตคนอีสาน!

‘ปลัดมท.’ กำชับ ‘ผู้ว่าฯ-นายอำเภอ’ ชายแดนใต้ ต้องอยู่ในพื้นที่สร้างความมั่นใจปชช. เข้มเฝ้าระวังไฟใต้ระอุ

'อ้วน รีเทิร์น'เคลียร์ชัด! โพสต์รูปคู่ 'หมอย้ง'สยบข่าวรักร้าว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved