วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สมุนไพรไล่แมลง

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สมุนไพรไล่แมลง

วันอาทิตย์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

ในการทำเกษตรกรรรมมักเจอปัญหาแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ย ด้วง หนอนกอ มอด และอื่นๆ มาทำลายหรือกัดกินผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืช ผักและผลไม้ ภูมิปัญญาชาวบ้านจะนำสมุนไพรมาใช้ไล่แมลง โดยใช้ส่วนต่างๆ เช่น ใบ ราก เปลือก ดอก ผล ที่มีสารออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดีไม่แพ้สารเคมีอีกทั้งยังประหยัดและปลอดภัย ที่สำคัญยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บทความนี้แนะนำวิธีการนำสมุนไพรบางชนิดที่มีในบ้านเรามาใช้เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างง่ายๆ ดังนี้

1) ข่า เป็นพืชมีเหง้า ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถป้องกันและกำจัดด้วงงวงข้าว มอดแป้ง แมลงวันทองได้


วิธีการใช้ นำข่ามาตำร่วมกับเมล็ดสะเดาและตะไคร้หอม อย่างละ 200 กรัม แช่ผสมกันในน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืนแล้วกรองเอาแต่น้ำ นำสารสกัดที่ได้ 1 ลิตรมาผสมกับน้ำธรรมดา1 ปี๊บ สามารถใช้ฆ่าแมลงศัตรูพื้นที่ได้ 1 ไร่

2) สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก ที่ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย หาได้ ส่วนต้นและใบสามารถนำมาใช้ป้องกันกำจัดเพลี้ยและปลวกได้

วิธีการใช้ นำทั้งต้นมาตากแดดให้แห้ง หรือจะใช้สดก็ได้ นำมาตำให้ละเอียด ผสมน้ำในอัตราส่วน น้ำหนักผง 400 กรัม ต่อน้ำ 3 ลิตร ถ้าเป็นต้นสดใช้ 1 กก. ต่อน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากันหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง นำมากรองเอาแต่น้ำ ผสมน้ำสบู่ หรือแชมพูครึ่งช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตรฉีดพ่นทุก 7 วันในช่วงเย็น

3) โหระพา เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งสีอ่อนม่วงแดง มีสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงได้แก่ เพลี้ย แมลงวัน หนอนแมลงวัน

วิธีการใช้ นำน้ำมันหอมระเหยโหระพา 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ1 ลิตร ฉีดพ่นผัก

4) กระเทียม เป็นไม้ล้มลุก มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดิน มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง สารขับไล่แมลง สารหยุดยั้งการดูดกินอาหารสารฆ่าเชื้อราและแบคทีเรีย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้ผัก ด้วงปีกแข็ง โรคราน้ำค้าง โรคราสนิม

วิธีการใช้

วิธีที่ 1 ใช้กระเทียม 1 กก. โขลกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน 200 ซีซี ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงหลังจากนั้นนำสบู่ละลายน้ำเล็กน้อยเติมลงไป คนให้เข้ากัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใส ก่อนนำไปใช้เติมน้ำลงไปอีก 20 เท่า หรือ ประมาณ 5 ปี๊บ (100 ลิตร)

วิธีที่ 2 บดกระเทียม 2 หัวใหญ่และพริกแห้งป่น 2 ช้อนชาให้ละเอียดแล้วนำไปใส่น้ำร้อน 4 ลิตร เติมสบู่ลงไปเล็กน้อยคนแล้วกรองนำไปใช้ สูตรนี้ใช้ได้ผลดีกับหนอนผีเสื้อไม้ผล

5) บอระเพ็ด คนไทยมักนิยมนำมาใช้ทำยา เพราะมีสรรพคุณทางยามากมาย และด้วยตัวเถาของบอระเพ็ดที่มีสารรสขม จึงใช้ป้องกันและกำจัดหนอนกอ หนอนกระทู้ต่างๆ ได้ ใช้ได้ดีกับนาข้าว รสขมเมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในพืชจะทำให้แมลงไม่ชอบ

วิธีการใช้ ใช้เถาบอระเพ็ด 5 กก. สับเป็นชิ้นเล็กๆ ทุบให้แหลกแช่น้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วนำน้ำไปฉีดพ่น

6) คูน เนื้อฝักคูนจะมีสารประเภท Antraquinones หลายตัวเช่น Aloin, Rhein Sennoside A, B และยังมี Organic acid สาร Antra quinone มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ดี โดยเฉพาะ หนอนผีเสื้อ หนอนเจาะลำต้น หนอนกัดใบ หนอนเจาะยอดเจาะดอก หนอนใยผัก มอดแป้งด้วงต่างๆ

วิธีการใช้ นำฝักคูนมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วนฝักคูน 1 กก. ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ทิ้งไว้ 3-4 วัน จากนั้นนำมากรองเอาแต่น้ำ แล้วนำไปฉีดพ่นในแปลงผักได้

7) ตะไคร้หอม เป็นสมุนไพรมากประโยชน์ มีสาร Verbena oil, Lemon oil, Indian molissa oil มีฤทธิ์ในการไล่แมลงเพราะทั้งใบและลำต้นมีน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยป้องกันกำจัดแมลง ยุง และแมลงสาบ รวมทั้งยังกำจัดหนอนกระทู้และหนอนใยผัก ช่วยล่อแมลงวันทองตัวผู้และขับไล่มอดข้าวเปลือกได้

วิธีการใช้ นำเหง้าและใบตะไคร้หอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดละเอียดประมาณ 5 ขีด นำมาผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 วันกรองเอาแต่น้ำ ผสมสารจับใบ เช่น สบู่ หรือแชมพูแล้วนำมาฉีดพ่น

8) น้อยหน่า มีพิษต่อแมลงทางสัมผัสและกระเพาะอาหารสามารถป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยอื่นๆ รวมทั้งหนอนกัดกินผัก หนอนใยผัก ด้วงเต่าทอง และแมลงวันทอง

วิธีการใช้ ใช้เมล็ดน้อยหน่าแห้ง 1 กก. ตำให้ละเอียด แช่น้ำครึ่งปี๊บ ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำ ก่อนใช้ผสมกับน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วใช้ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วันในช่วงเวลาเย็น

สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการไล่แมลงยังมีอีกจำนวนมาก ขั้นตอนการนำมาใช้ก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และไม่มีผลข้างเคียงทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดีการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้นควรศึกษาข้อมูลก่อน เพื่อให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันและกำจัดแมลงอย่างปลอดภัย

เรียบเรียงข้อมูลจาก

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/481316

https://esc.doae.go.th/wp-contenthttps://static.naewna.com/uploads/2016/

https://www.tungsong.com/samunpai/insect/Index.html

https://www.doctor.or.th/article/detail/3723

https://www.tungsong.com/samunpai/insect/Index.html

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

ด่วน!! 'จอน อึ๊งภากรณ์'เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 77 ปี

ลูกค้าสายลับ! เชียงรายจับค้ามนุษย์ หมอนวดต่างด้าวเพียบ-แฝงขายบริการ

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

ไปอีก 2!‘อุตตม-สนธิรัตน์’ลา‘บิ๊กป้อม’ไขก๊อกสมาชิกพรรค‘พปชร.’

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved