วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้าวอุดมซีลีเนียม ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้าวอุดมซีลีเนียม ทางเลือกใหม่ของผู้บริโภค ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

วันอาทิตย์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19  เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้พร้อมต่อสู้กับโรคภัยที่อยู่รอบตัวโดยสิ่งที่จะช่วยให้รอดพ้นจากการเจ็บไข้ คือการรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ  รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคของตัวเองให้ทำงานได้ดี เพื่อปกป้องตัวเราจากการติดเชื้อโรคต่างๆ  

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ทำการสำรวจ “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักในชีวิตประจำวันของคนไทย โดยพบว่า ข้าวหอมมะลิ (ข้าวนาปี) มีความสามารถในการสะสมซีลีเนียมมากกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ (ข้าวนาปรัง) โดยซีลีเนียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับวิตามินซี วิตามินอี หรือวิตามินเอ ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งร่างกายต้องการซีลีเนียมทุกวันในปริมาณน้อยๆ แต่ขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น  


นอกจากนี้ วว. ยังศึกษาพบว่า ข้าวหอมมะลิที่ปลูกในพื้นที่ภาคกลางมีปริมาณซีลีเนียมเป็นองค์ประกอบเพียง 0.5-3.8 ไมโครกรัม/100 กรัม และข้าวพันธุ์อื่นๆ พบมีซีลีเนียมในเมล็ดน้อยกว่า 2.5 ไมโครกรัม/100 กรัมซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่ร่างกายต้องการ โดยความต้องการซีลีเนียมต่อวันจะแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย ดังนี้ 1.วัยเด็ก อายุ 1-3 ปี ต้องการ 20-90 ไมโครกรัม/วัน อายุ 4-8 ปี ต้องการ 30-150 ไมโครกรัม/วัน 2.เด็กโต อายุ 9-12 ปี ต้องการ 40-280 ไมโครกรัม/วัน 3.วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อายุ 13-60 ปี ต้องการ 55-400 ไมโครกรัม/วัน และ4.ผู้สูงอายุ อายุ 61 ปีขึ้นไป ต้องการ 55-400 ไมโครกรัม/วัน

จากผลการศึกษานี้ วว. จึงมีแนวคิดเสริมแร่ธาตุซีลีเนียมในข้าว ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการผลิตอาหารเชิงหน้าที่ด้วยการเพิ่มคุณค่าอาหารในข้าวผ่านทางการให้ปุ๋ย ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือขั้นสูง เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่ายแก่ผู้บริโภค ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. จึงร่วมกับเกษตรกรผู้ผลิตข้าวปลอดภัยบ้านวังบัว จังหวัดนครนายก ทดลองผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อุดมซีลีเนียม ได้ข้าวที่มีซีลีเนียม 11 ไมโครกรัม/100 กรัม และร่วมกับเกษตรกร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ทดลองผลิตข้าว กข. 43 อุดมซีลีเนียม ได้ข้าวที่มีซีลีเนียม 3 ไมโครกรัม/100 กรัม

ปัจจุบันภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตกด้วย BCG โมเดล วว. ได้นำองค์ความรู้การผลิตข้าวอุดมซีลีเนียมไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรผู้สนใจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 4 ราย นำโดย นายสวัสดิ์ ชีพนุรัตน์ ประธานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี โดยรอบแรกสามารถผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ที่มีซีลีเนียม 3.5 ไมโครกรัม/100 กรัม ได้ และทดลองผลิตรอบที่ 2 โดยใช้ข้าวพันธุ์ที่เกษตรกรแต่ละรายให้ความสนใจ นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนายสุเทพ ภู่ระยับ ให้ความสนใจทดลองผลิตข้าวอุดมซีลีเนียมบนพื้นที่โครงการโคกหนองนา

ในการผลิตข้าวอุดมซีลีเนียมเกษตรกรสามารถขอรับคำแนะนำจากนักวิจัย วว. เพื่อประเมินปริมาณซีลีเนียมภายในดิน โดยเปรียบเทียบกับแผนที่แสดงการแจกกระจายซีลีเนียมในดินของประเทศไทย จากนั้น วว. จะปรับสูตรหรือปริมาณปุ๋ยเสริมธาตุซีลีเนียมให้เหมาะสม เพื่อส่งมอบให้เกษตรกรนำไปทดลองใช้สำหรับการผลิตข้าวในพื้นที่นั้นๆ จากนั้นเมื่อลงมือปลูกข้าวและได้ผลผลิตข้าวแล้วจะมีการตรวจวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตข้าวอุดมซีลีเนียม คือ ฟางข้าว ซึ่งยังมีปริมาณซีลีเนียมสูง สามารถนำไปต่อยอดเพาะเห็ดเศรษฐกิจ เช่น เห็ดนางรมเทา และเห็ดนางรมฮังการี โดยฟางข้าวที่มีซีลีเนียมสูงจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเห็ด ทำให้จำนวนดอกต่อช่อเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตดอกเห็ดที่มีคุณภาพในปริมาณที่มากขึ้น และที่สำคัญมีซีลีเนียมสูงขึ้นด้วย 

การผลิตข้าวและเห็ดอุดมด้วยซีลีเนียมนั้น ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตที่ไม่ผ่านกระบวนการ มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 แต่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 ดังนั้นในสถานการณ์ที่เราได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลงานวิจัยและพัฒนาข้าวอุดมซีลีเนียม จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทำเงินที่ วว. พร้อมสนับสนุนให้มีการนำไปใช้ให้แพร่หลายและก่อเกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจในครัวเรือนและประเทศชาติต่อไป

อนึ่ง “ซีลีเนียม” เป็นแร่ธาตุอีกชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เองต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ซีลีเนียมพบได้น้อยมากในพืชทั่วไป ปริมาณซีลีเนียมในพืชจะแปรผันตามปริมาณซีลีเนียมที่มีอยู่ในดินที่เพาะปลูก โดยพืชจะดูดซึมซีลีเนียมในดินซึ่งเป็นรูปแบบอนินทรีย์และจะถูกแปลงเป็นซีลีเนียมอินทรีย์ในพืช โดยสารประกอบซีลีเนียมอินทรีย์ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า 

ซีลีเนียมเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในรูปของซีลีโนโปรตีน โดยหนึ่งในเอนไซม์ที่สำคัญคือ กลูตาไทโอนเปอร์ออกซิเดส (Glutathione peroxidase) ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีบทบาทสนับสนุนการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติ โดยทำงานร่วมกับวิตามินอี ซี และเอ มีบทบาทต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตเซลล์อสุจิ และบำรุงรักษาสุขภาพเส้นผมและเล็บ อาหารที่มีซีลีเนียมสูง เช่น ปลาทู ปลาดุก เนื้อปู หอยแมลงภู่ ไข่ไก่ กุ้งกุลาดำ และชะอม เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษา ติดต่อได้ที่ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. โทร.02-5779000 โทรสาร 02-5779009 อีเมล tistr@tistr.or.th

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

'เต๋อ ฉันทวิชช์'ไม่หวั่นอาถรรพ์รัก 7 ปี'ใหม่ ดาวิกา'เผยเกือบเลิกกันมาแล้วถึง 2 ครั้ง !

ฝนกระหน่ำทั้งคืน! ท่วมขังตัวเมืองระยอง การจราจรเป็นอัมพาต

อย่าตระหนก! ‘หมอมนูญ’เตือนสติ‘โควิด’ยุคใหม่อันตรายลดลง ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน

ด่วน!! 'จอน อึ๊งภากรณ์'เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 77 ปี

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved