วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ความรัก สร้างความสุข…สู่สุขภาพกายที่ดี

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ความรัก สร้างความสุข…สู่สุขภาพกายที่ดี

วันอาทิตย์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

“ความรัก” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเรามาแต่อดีตจวบปัจจุบัน อาจจะยาวนานเท่าๆ กับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกเลยก็ว่าได้ เพราะความรักนั้นทำให้คนอยู่ร่วมกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จนกระทั่งเป็นครอบครัวและเป็นสังคมในที่สุด ทั้งนี้ความรักก่อให้ เกิดสิ่งดีๆ มากมาย เพราะเมื่อเรามีความรักต่อผู้อื่น จะก่อให้เกิดความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

นอกจากความรักจะทำให้เกิดความสุขทางใจแล้ว ความรักยังนำมาซึ่งความแข็งแรงของร่างกาย ดังนี้ เมื่อความรักทำให้เกิดความสุข ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่สำคัญออกมา โดยฮอร์โมนหลักที่มีผลต่อความรัก ช่วยสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ประกอบด้วย


เอ็นโดรฟิน (Endorphin) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากใต้สมองที่รู้จักกันในชื่อ “สารสุข” เปรียบเสมือนมอร์ฟีนธรรมชาติที่ร่างกายจะหลั่งขึ้นมาก็ต่อเมื่อมนุษย์มีความสุข มีความพึงพอใจ รู้สึกผ่อนคลาย และจะหลั่งเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในแง่บวก สามารถลดอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บได้ เพราะมีโครงสร้างทางเคมีบางส่วนคล้ายมอร์ฟีนที่เป็นยาแก้ปวด เมื่ออยู่ในภาวะเครียดฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลง

โดพามีน (Dopamine) เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี เป็นสารที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดยจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น การทำงานของระบบประสาทสมอง การเคลื่อนไหว ความจำ และการเรียนรู้หากโดพามีนในร่างกายของเราต่ำเกินไปจะทำให้มีความรู้สึกหดหู่และซึมเศร้าได้ ซึ่งนับว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ยาที่รักษาโรคทางจิตเวชในปัจจุบันจึงมีการพัฒนานำโดพามีนมาใช้ในการรักษา นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโดพามีนต่ำเกินไปทำให้เป็นโรคพาร์กินสันได้เพราะฮอร์โมนที่ลดลงทำให้ระบบการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ทำให้มีการสั่นและก้าวขาไม่ออก

เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารต้านความเครียดที่หลั่งจากสมองและหลั่งจากทางเดินอาหาร มีผลกับการทำงานของกล้ามเนื้อ อารมณ์ พฤติกรรม และการนอนหลับ หากระดับฮอร์โมนต่ำเกินไปจะทำให้เราหงุดหงิด นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ มีภาวะปวดศีรษะ เป็นไมเกรน หรืออาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

วิธีเพิ่มและรักษาระดับฮอร์โมนแห่งความสุข

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายในเวลา 20 นาทีขึ้นไป จะช่วยกระตุ้นการหลั่งของเอ็นโดรฟิน นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม และกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกายได้หลายชนิด เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการซ่อมแซมและเสริมสร้างร่างกาย เทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า เสริมสร้างกล้ามเนื้อ อินซูลิน และไทรอยด์ฮอร์โมน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลและกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย

2.รับประทานอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) ซึ่งจะได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ฯลฯ

3.ทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ

4.พักผ่อนจากงาน ออกไปเที่ยวกับคนในครอบครัวหรือคนที่รัก หรือทำในสิ่งที่ชอบ

5.ฝืนยิ้มกับตัวเองในยามที่เจอปัญหา จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข เซโรโทนิน (Serotonin) และเอ็นโดรฟินออกมาได้

6.รับแสงแดดอ่อนๆ ตอนเช้าตรู่ หรือช่วงเย็น ให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีทางผิวหนังเพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนินทางอ้อมได้

7.รับประทานดาร์กช็อกโกแลตประมาณ 50-100 กรัม (ให้พลังงาน 300-600 แคลอรี่) 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ สารสำคัญในช็อกโกแลตช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสมดุลและเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือดหัวใจ

8.รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารอื่น พบได้ในนม เนย ไข่แดง เนื้อสัตว์ ปลา ไก่งวง ถั่วลิสง ถั่วอัลมอนด์ อินทผลัมแห้ง กล้วย คอตเทจชีส (Cottage Cheese) และอาหารที่มีโปรตีนสูงทุกชนิด ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างสารเซโรโทนิน หรือสารสื่อประสาทที่ช่วยทำให้เรามีความสุข นอกจากนั้นทริปโตเฟนยังทำงานร่วมกับกรดโฟลิกและธาตุเหล็กในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง

9.เล่นกับสัตว์เลี้ยงที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงได้ ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความสุขได้หลายชนิด เช่น เซโรโทนิน และออกซิโตซิน (Oxytocin) คือฮอร์โมนที่เกิดจากความรักและความผูกพัน

10.แสดงออกในเรื่องของความรัก ความเมตตา ความปรองดองจะส่งผลให้ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาได้หลายชนิด เช่นเอ็นโดรฟิน โดพามีน ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อเราเจอสิ่งที่พอใจ ทำให้เราเกิดความรู้สึก สุข สนุก ใจเต้นแรง และออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพัน สร้างความรักเดียวใจเดียว

ทั้งนี้ ปัจจัยแวดล้อมภายนอก เช่น ผู้คน และสิ่งแวดล้อม เราอาจจะไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถปรับทัศนคติการดำเนินชีวิต และความรู้สึก ให้รู้จักการมอบความรักให้กับคนรอบข้างก่อนด้วยตัวของเราเอง จะทำให้ความสุขเกิดขึ้นรอบตัวเรา และคนรอบข้างในที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลพญาไท https://www.phyathai.com

โรงพยาบาลสมิติเวช https://www.samitivejhospitals.com

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

อย่าตระหนก! ‘หมอมนูญ’เตือนสติ‘โควิด’ยุคใหม่อันตรายลดลง ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน

ด่วน!! 'จอน อึ๊งภากรณ์'เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย 77 ปี

ลูกค้าสายลับ! เชียงรายจับค้ามนุษย์ หมอนวดต่างด้าวเพียบ-แฝงขายบริการ

สมุทรสาครป่วน! จ่อแจกใบแดงซื้อเสียง เลือกตั้งนายกเล็ก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved