วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กลิ่นและรสจากสาหร่ายขนาดเล็ก

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : กลิ่นและรสจากสาหร่ายขนาดเล็ก

วันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

สภาพของแหล่งน้ำทั่วไป คูคลอง และแหล่งน้ำข้างถนนมักปรากฏกลิ่นและรสที่ไม่พึงประสงค์จากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกกันว่า “จุลินทรีย์” ทำหน้าที่เป็นตัวสลายสารอินทรีย์ (decomposer) มีความหลากหลายของชนิดและจำนวนที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยด้านธาตุอาหาร รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ ในบริเวณนั้น กลิ่นและรสที่พบส่วนใหญ่เกิดจากจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรียและสาหร่าย โดยแบคทีเรียบางชนิดสามารถผลิตสารประกอบไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งมีกลิ่นเน่าเหม็นคล้ายไข่เน่า ในขณะที่แบคทีเรียกลุ่มแอคติ-โนมัยซีต (actinomycetes) ได้แก่ สกุล Actinomadura, Micromonospora, Streptomyces สามารถผลิตสารจีออสมิน ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นอับ (musty odors) และจากการสำรวจพบว่าการเจริญเติบโตของสาหร่ายมากกว่า 60 ชนิดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดกลิ่นและรสในแหล่งน้ำ (Lin 1977) เช่น สาหร่ายแฟลกเจตเลตสกุล Synura สามารถก่อให้เกิดกลิ่นหอมคล้ายแตงกวาดิบ ส่วนสาหร่ายสกุล Anabaena, Oscillatoria มักพบในแหล่งน้ำทิ้งที่มีปริมาณธาตุอาหารสูง สามารถผลิตกลิ่นเหม็นอับ (musty odors) ได้ ในขณะที่สาหร่าย Asterionella ในน่านน้ำของรัฐอิลลินอยส์เป็นหนึ่งในไดอะตอมที่เป็นสาเหตุการเกิดกลิ่นเหม็นคล้ายคาวปลา (fish odor) สำหรับสาหร่ายที่สร้างปัญหาโดยการผลิตรสในแหล่งน้ำ ได้แก่ สาหร่ายในกลุ่มสีน้ำเงินแกมเขียว สกุล Anacystis, Aphanizomenon กลุ่ม แฟลกเจลเลต Chlamydomonas, Euglena จะผลิตรสหวาน สาหร่ายสีเขียว Nitella และแฟลกเจลเลต Ceratium, Synura จะผลิตรสขม


ปัญหาการเจริญเติบโตของสาหร่ายอย่างรวดเร็ว (algal bloom) กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในสภาพแวดล้อมทางน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งน้ำดื่มของหลายประเทศซึ่งการเจริญเติบโตของสาหร่ายเหล่านี้มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำ (Jiang and Kim 2008) จากการสำรวจพบว่า การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่าย สกุล Anabaena, Nostoc, Oscillatyoria ส่งผลให้เกิดการปล่อยสารในกลุ่มจีออสมิน (geosmin), เอ็มไอบี (2-methylisoborneol : MIB) และกลิ่นในระหว่างและหลังการบลูมของสาหร่าย โดยสารเมแทบอไลต์ที่เป็นพิษและกลิ่นที่ผลิตจากสาหร่ายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำดื่ม กลิ่นของสารประกอบอินทรีย์ที่ผลิตโดยสาหร่ายนั้นมีลักษณะเป็นดินและมีกลิ่นเหม็นอับ กลิ่นของสารดังกล่าวสามารถตรวจจับได้ง่ายโดยจมูกมนุษย์แม้ที่ความเข้มข้นต่ำมาก โดยสารกลุ่มจีออสมินและเอ็มไอบีตรวจพบที่ความเข้มข้นต่ำสุด 4.0 และ 8.5 นาโนกรัมต่อลิตร ตามลำดับ (Pirbazari et al. 1993) สำหรับการบำบัดแหล่งน้ำเบื้องต้นสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเติมโอโซน การดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ การใส่สารเคมีจำพวกคลอรีน คลอรามีน และสารคอปเปอร์ซัลเฟต ลงในแหล่งน้ำเพื่อกำจัดและดูดซับกลิ่นและรสที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว

ทรัพยากรธรรมชาติน้ำมีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางด้านอุปโภค-บริโภค การเกษตร คมนาคม ความเจริญของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัยอาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลัก แม้ว่าแหล่งน้ำตามธรรมชาติสามารถฟื้นฟูสภาพได้ด้วยตนเอง (selfassimilation) ตลอดเวลาแต่ก็มีขีดจำกัดในระดับหนึ่ง เมื่อมีการปนเปื้อนของสารเคมีและจุลินทรีย์มากเกินระดับที่จะแก้ไขได้ทันก็จะทำให้สภาพของน้ำในแหล่งน้ำนั้นแปรเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ที่เรียกว่า “มลพิษทางน้ำ” (water pollution) ดังนั้น เราทุกคนควรตระหนักและปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์น้ำแก่ลูกหลานเพื่อให้มีทรัพยากรน้ำไว้อุปโภค-บริโภคในอนาคต

เอกสารอ้างอิง :

Jiang, J.Q. and Kim, CG., 2008, Comparison of algal removal by coagulation with clays and Al-based coagulants. Separation Science and Technology, 43(7), pp. 1677–1686. Lin, S.D., 1977, Tastes and Odors in Water Supplies. [online]. Available at: https://ag.arizona.edu/azaqua/algae class/ algaedraw/TOAL.JPG, [accessed 29 July 2020]. Pirbazari, M., Ravindran, V., Badriyha, B.N., Craig, S. and McGuire, M.J., 1993. GAC adsorber design protocol for the removal of off-flavors. Water Research, 27(7), pp. 1153–1166

มยุรี ตั้งธนานุวัฒน์ และขวัญจิต ควรดี

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

ปักหมุด 13 พ.ค.นี้ ‘เพื่อไทย’เปิดตัวโครงการใหม่‘Pheu Thai YPP’

ผบ.ตร.สั่งฟันเด็ดขาด! เหตุทำร้าย'ตำรวจ'ภายในหน่วยเลือกตั้ง จ.สงขลา

เช็คผลที่นี่!!! 'เลือกตั้งเทศบาล'ส่วนใหญ่แชมป์เก่าคว้าชัย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved