วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ทำไม...แมลงชอบแสงไฟ ?

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ทำไม...แมลงชอบแสงไฟ ?

วันอาทิตย์ ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

หากสังเกตยามค่ำคืนในบางฤดูกาลจะพบว่า เมื่อเปิดไฟในบ้านหรือหน้าบ้านจะมีแมลงเข้ามาไต่ตอมอยู่รอบๆแสงไฟ แมลงเหล่านี้ส่วนใหญ่่จะเป็นแมลงที่มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน ได้แก่ ผีเสื้อกลางคืน ด้วงบางชนิดตั้กแตน เพลี้ย ชีปะขาว จิ้งหรีด แมลงดานา เป็นต้น แมลงพวกนี้มักทำให้เรารำคาญเพราะมันมักจะมาไต่ตอมเราไปด้วย หรืออาจบินลงในแก้วน้ำ ถ้วยจานชามอาหารทำให้เสียบรรยากาศในการรับประทานอาหารหรือพักผ่อน

การที่เราเห็นแมลงชอบลงมาบินรอบแสงไฟนั้น เป็นปฏิกิริยาของร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อแสงไฟ ที่เรียกว่า Phototaxis กล่าวคือ แมลงบางจำพวกเมื่อเห็นแสงไฟ
จะบินเข้าหาโดยอัตโนมัติ และมีแมลงบางชนิดเช่นกันที่เห็นแสงไฟแล้วจะวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน เช่น แมลงสาบ เมื่อเราเปิดไฟมันจะรีบวิ่งหลบไปเข้ามุมมืดทันที


ทฤษฎีพื้นฐานของปฏิกิริยาเช่นนี้ของแมลงคือ แมลง เหล่านั้นส่วนใหญ่่จะเป็นแมลงที่หากินกลางคืน โดยอาศัยเพียงแสงจันทร์หรือแสงดาวตามธรรมชาติช่วยในการนำทาง (navigation) เท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีแสงส่องสว่างจ้าเกินกว่าที่พวกมันคุ้นเคย แสงจึงกลายเป็นสิ่งที่สว่างเกินแสงธรรมชาติการที่แมลงอาศัยแสงจันทร์ในการนำทางมันจะบินไปตามแนวแสงสว่าง เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง แต่สำหรับแสงไฟหรือกองไฟจะเป็นแสงสว่างในวงจำกัดหรืออยู่ในแนวแคบๆ ดังนั้น จึงเกิดปรากฏการณ์ว่าแมลงดังกล่าวบินวนรอบแสงไฟหรือกองไฟเพราะบินตามแนวแสงที่สายตาเห็น เราจึงพบว่าในกรณีที่เป็นกองไฟ เมื่อแมลงบินใกล้เกินไปปีกจะถูกเผาไหม้หรือได้รับความร้อนมากเกินพอจนร่วงลงมาตายกลาดเกลื่อนเสมือนหนึ่งฆ่าตัวตาย จนมีคำพังเพยที่ว่า “แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ” ซึ่งเปรียบเสมือนคนเราที่ลุ่มหลงสิ่งใดหรือใครบางคนซึ่งเป็นสิ่งลวงตาและเข้าไปใกล้เกินไปจนตายในที่สุด

เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ เมื่อแมลงบินเห็นแสงสว่างจากกองไฟจ้าขึ้นอาจคิดว่าเส้นทางนั้นปลอดภัย โล่ง สว่าง จึงบินมุ่งไปยังทิศทางนั้นๆ ทำให้บินเข้าไปในกองไฟโดยปริยายส่วนที่บินรอบหลอดไฟแมลงอาจไม่ถึงกับตาย หากหลอดไฟนั้นไม่ร้อนจนเกินไป แต่อาจสร้างความรำคาญให้แก่ผู้้คนได้

นักวิทยาศาสตร์บางรายสันนิษฐานว่า แมลงบางประเภทกินดอกไม้เป็นอาหาร ซึ่งดอกไม้เหล่านี้จะสะท้อนแสง UV หรือ Ultraviolet ออกมา ดังนั้นแมลงจึงคิดว่า หลอดไฟที่ส่องแสงและมีปริมาณรังสี UV ทั้งนี้หากสังเกตจะพบว่าแมลงชอบบินเข้าหาหลอดไฟที่มีรังสี UV มากกว่าหลอดไฟที่ส่องแสงสีเหลืองหรือสีแดงนอกจากนี้ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า การที่แมลงบินเข้าหาแสงไฟนั้นเป็นเพราะคิดว่าเป็นตัวเมีย ดังนั้นแมลงตัวผู้้จึงบินเข้าไปหาเต็มที่ โดยเฉพาะแสงเทียนอ่อนๆ แมลงต่างๆ เหล่านี้มักจะดึงดูดเข้าหาแสงที่เป็นอัลตราไวโอเลตมากกว่าแสงที่มีคลื่นความยาวกว่า อย่างเช่น อินฟราเรด

พฤติกรรมเช่นนี้ของแมลงอาจกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่เกิด เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์แต่ละชนิดที่ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ส่วนมากพบในสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยไฟสีต่างกันจะมีผลดึงดูดและกระตุ้นต่อการเคลื่อนที่ของแมลงต่างกัน เช่น แมลง บางชนิดชอบหลอดแบบแสงจันทร์ บางชนิดชอบแบบหลอดไฟสีม่วง เช่น แมลงดานา ดังนั้น เราจึงพบหลอดไฟสีต่างๆ ตามชนบทในยามค่ำคืน เพราะชาวบ้านต้องการจับแมลงบางชนิดที่กินได้ และอาจเอาไปขายต่อหรือเก็บไว้กินเอง

หากจะถามว่าแมลงเหล่านี้เมื่อบินเข้ากองไฟหรือหลอดไฟแล้วไม่รู้สึกร้อนหรือจึงบินเข้าไปแบบทุ่มสุดตัว คำตอบก็คือ แมลงไม่ได้คำนึงถึงความร้อน เพราะสมองของแมลงยังไม่เจริญ มีเพียงปมประสาทเท่านั้น จึงไม่รู้สึกร้อนหรือหนาว

สถานีวิจัยลำตะคอง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

ฮามาสปล่อยตัวประกัน‘สหรัฐฯ’คนสุดท้ายแล้ว แต่อิสราเอลยังเดินหน้าถล่มกาซาต่อไป

อากาศแปรปรวน! เครื่องบินโดยสารลงจอด'อู่ตะเภา' 8 ลำ

‘สหรัฐฯ-จีน’ลดภาษี115%พักรบ90วันดีต่อศก.โลก ห่วงเสถียรภาพการเมืองทำไทยเสียเปรียบเจรจา

'วิโรจน์'ลุยชายแดนสังขละบุรี ถกปัญหา'ที่ดิน'ระหว่าง'กองทัพบก-ปชช.'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved