วันพุธ ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้พลังงานในชีวิตของเรา

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้พลังงานในชีวิตของเรา

วันอาทิตย์ ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้นต้องใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยพลังงานแรกที่มนุษย์นำมาใช้คือ พลังงานความร้อน ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวกฟืน ถ่านไม้สำหรับใช้ในการประกอบอาหารและให้แสงสว่าง ต่อมามนุษย์ได้นำเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ มาใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

พลังงานที่นำมาใช้ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้


1.พลังงานสิ้นเปลืองหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (Non renewable energy) ได้มาจากแหล่งพลังงานใต้พื้นดิน ที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์มาเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญและมีบทบาทอย่างมากต่อมนุษย์ในปัจจุบันทั้งในด้านการคมนาคมขนส่ง ผลิตกระแสไฟฟ้า และในกระบวนการอุตสาหกรรมต่างๆ พลังงานประเภทนี้มีจำนวนจำกัด เมื่อนำมาใช้ในปริมาณมากจะหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น

2.พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ได้มาจากธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ได้ไม่มีวันหมดและสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ในระยะเวลาสั้น รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่

-พลังงานน้ำ ที่มาจากน้ำในเขื่อน โดยการเปิดให้น้ำจากเขื่อนซึ่งอยู่ในที่สูงไหลผ่านอุโมงเทอร์บาย (Turbine) หรือกังหันน้ำ เพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ส่วนพลังงานจากคลื่นถูกผลิตขึ้นจากคลื่นในทะเลด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า ชุดผลิตพลังไฟฟ้าจากพลังงานคลื่น ซึ่งมีลักษณะเหมือนทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ หรือน้ำที่เกิดจากปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงก็สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานจลน์จากการไหลขึ้น-ลงของน้ำให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานที่ปราศจากก๊าซที่เป็นอันตราย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้อาจมีส่วนทำให้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน

-พลังงานลม ที่มาจากกังหันลม โดยใบพัดที่ติดอยู่กับกังหันลมจะหมุนด้วยแรงลม ทำให้เกิดการขับเคลื่อน Generator หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ แต่จำเป็นต้องใช้ลมในปริมาณมากเพื่อขับเคลื่อน พลังงานชนิดนี้จะส่งผลต่อความแปรปรวนของอุณหภูมิโดยรอบบริเวณนั้น เนื่องจากการหมุนของกังหันลม

-พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ มนุษย์ใช้แสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้าและนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ก่อนจะนำไปใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

-พลังงานจากชีวมวล เป็นพลังงานที่ผลิตด้วยวัสดุชีวมวลและอินทรียวัตถุซึ่งได้จากพืชและสัตว์ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ผลิตผลและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ของเหลือจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรม เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์มกากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว เป็นต้น พลังงานชนิดนี้จะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจุดเริ่มต้นของพลังงานจะเริ่มที่พืชรับพลังงานจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำให้ไปเป็นคาร์โบไฮเดรตสะสมอยู่ในตัวมันเอง ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง เมื่อพืชถูกเผาไหม้ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำที่สะสมอยู่จึงถูกปล่อยออกมาสู่บรรยากาศอีกครั้ง

-พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติจะอยู่ที่ความลึกประมาณ 30 กิโลเมตรจากผิวโลก มีอุณหภูมิเฉลี่ย 250-1,000 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามความลึกมนุษย์สามารถนำความร้อนนี้มาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยความร้อนจากหินหนืดใต้โลก สามารถต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ และไอน้ำที่เกิดขึ้นจะไปหมุนกังหัน ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานผลิตกระแสไฟฟ้าได้

จะเห็นได้ว่าพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานสิ้นเปลืองได้อย่างไม่จำกัด ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมุ่งศึกษาและค้นหาพลังงานทางเลือกในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งลดปัญหามลพิษและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

เรียบเรียงข้อมูลจาก :

https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/61903

https://sites.google.com/site/krutoeyttoey/home/prayochn-khxng-phlangngan

https://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/energy_and_quality_of_life/index.html

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

(คลิป) 'จตุพร'เปลือยนิสัย'ทักษิณ' เล่าหมดเปลือกแผนหนี'ตระกูลชินวัตร'หากบอก ไม่หนี คือ หนี !!

มาทีมแรก!เพเซอร์สทุบแคฟส์คารังลิ่วชิงแชมป์สายNBA

ดับฝันขาโจ๋!!! 'พิชัย'รับทบทวนเงินหมื่นเฟส 3 เซ่นพิษภาษีทรัมป์

ตำรวจเตรียมนำตัว 'สจ.กอล์ฟ' พร้อมลูกน้องรวม 7 คนฝากขังต่อศาลจังหวัดสงขลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved