วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้าว 4 ชนิดประโยชน์หลากหลาย สำหรับสายรักสุขภาพ (1)

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ข้าว 4 ชนิดประโยชน์หลากหลาย สำหรับสายรักสุขภาพ (1)

วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้รอบตัว
  •  

คนไทยปลูกและบริโภค “ข้าว” มาเป็นเวลานาน ข้าวผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ทั้งในชีวิตประจำวัน ในสังคมและวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ อาหารจากข้าวนอกจากจะมากด้วยคุณประโยชน์ ยังแฝงไปด้วยภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาก สมัยก่อนคนไทยนิยมรับประทานข้าวขัดสี หรือ ข้าวขาว ซึ่งผ่านการกะเทาะเปลือกออกแล้วแล้วนำไปขัดสีส่วนเยื่อหุ้มออก ทำให้เมล็ดมีสีขาวสวยน่ารับประทาน แต่อย่างไรก็ตามทำให้สารอาหารหลายชนิดสูญเสียไป

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับอาหารมากขึ้น ใส่ใจต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้บริโภคหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร ทำให้บริโภคข้าวขัดขาวน้อยลง รวมทั้งเลือกข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีคุณค่าทางอาหารกันมากขึ้น มาทำความรู้จักกับ “ข้าว 4 ชนิด” ที่มีมากด้วยคุณค่าของสารอาหารสำหรับผู้บริโภคสายรักสุขภาพ


ข้าวสังข์หยดพัทลุง

ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวพันธุ์ไทยแท้ที่มีมานับร้อยปี ปลูกได้ผลดีในจังหวัดพัทลุง โดยเมื่อปี 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีรับสั่งให้ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงปลูกข้าวสังข์หยดและเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 ทางศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้นำข้าวสังข์หยดมาถวายแด่พระองค์และหลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงให้นำปลูกเพื่อขยายพันธุ์เพิ่ม โดยได้มีการนำผลิตภัณฑ์ข้าวสังข์หยดไปออกจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ศูนย์ศิลปาชีพ ฯลฯ ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

เมื่อปี 2549 ข้าวสังข์หยดถูกประกาศให้เป็น “สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ “ข้าว GI” (Geographical Indications) โดยกรมการข้าว และกรมวิชาการเกษตร มีชื่อเรียกว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ซึ่งเป็นข้าว GI พันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่าข้าวสังข์หยด เพราะเพี้ยนมาจากสั่งหยุด เชื่อกันว่าเพราะอร่อยจนหยุดรับประทานไม่ได้ถึงกับต้องสั่งให้หยุดรับประทาน เมื่อหุงสุกเมล็ดข้าวจะนุ่มมาก หอม และหุงขึ้นหม้อ แม้กระทั่งตั้งจนเย็นก็ยังคงนุ่มอยู่ มีความคงตัวของเมล็ดข้าวสูง นอกจากความอร่อยและคุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ แล้ว ยังย่อยง่ายช่วยให้ระบบขับถ่ายดีลำไส้ไม่ต้องทำงานหนัก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งข้าวสังข์หยดมีกากใย โปรตีน ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็กสูงมีแกมมาออไรซานอล กาบา แอนตี้ออกซิแดนท์ป้องกันมะเร็งช่วยชะลอความแก่ ป้องกันความจำเสื่อม บำรุงโลหิต โรคหัวใจและเพราะมีกากใยสูงจึงดีต่อระบบขับถ่ายและลำไส้

ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ข้าวไรซ์เบอรี่ (Rice berry) เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล และข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม ที่มีส่วนประกอบเป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นรงควัตถุหรือสารสี ที่สามารถละลายน้ำได้ดี และจัดอยู่ในกลุ่มของฟลาโวนอยด์หรือสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย มีสารอาหารและคุณประโยชน์สูง โดยเฉพาะผู้สูงวัย ควรรับประทานข้าวไรซ์เบอรี่ เพราะมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย เสริมสร้างประสิทธิภาพในการไหลเวียนของเลือด ชะลอความแก่ บำรุงสายตาและระบบประสาท ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคอ้วน สามารถรับประทานข้าวไรซ์เบอรี่ได้ เนื่องจากในข้าวสายพันธุ์นี้มีดัชนีน้ำตาลที่ต่ำกว่าข้าวทั่วไป สตรีมีครรภ์ ควรรับประทานเพราะในข้าวไรซ์เบอรี่มีสารโฟเลต อีกทั้งยังมีน้ำตาลต่ำ ช่วยให้ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ครรภ์เป็นพิษ นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กสูงซึ่งในหญิงมีครรภ์จะมีความต้องการแร่ธาตุชนิดนี้มากกว่าคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หากรับประทานข้าวไรซ์เบอรี่เป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ช่วยในการบำรุงโลหิตและบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

นอกจากนี้ข้าวไรซ์เบอรี่ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายได้แก่

l ธาตุสังกะสี สังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน รักษาสิว ป้องกันผมร่วง และกระตุ้นรากผม

l ธาตุเหล็ก สร้างและจ่ายพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ออกซิเจนในร่างกายและสมอง

l วิตามินอี ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ ลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทำให้ปอดทำงานดีขึ้น

l วิตามินบี จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ป้องกันโรคเหน็บชา

l เบต้าแคโรทีน ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา

l ลูทีน ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงตา

l โพลิฟีนอล ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

l แทนนิน แก้ท้องร่วง แก้บิด ช่วยสมานแผล

l แกมมาโอไรซานอล ลดระดับคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม

l กากใยอาหาร ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยระบบขับถ่าย

l โอเมก้า 3 สำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับและระบบประสาท ทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอล

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

สองผัวเมียอารมณ์ดี! ‘ขายหอยครก 6 ราง’ ทำขายแทบไม่ทัน-ลูกค้าเพียบ

ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved