วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / กีฬา
วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารเคมีในชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : สารเคมีในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2567, 12.35 น.
Tag : ความรู้เรื่องสุขภาพ วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ความรู้รอบตัว
  •  

ในชีวิตประจำวันของเราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลากหลายชนิดในรูปแบบของควัน ก๊าซ ของเหลว หรือเป็นส่วนผสมอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ หากใช้ไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ มาทำความรู้จักกับชนิดของสารเคมีชนิดต่างๆ เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ดังนี้

คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซไม่มีสีและไม่มีกลิ่น เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบอย่างไม่สมบูรณ์และถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิด การเผาไหม้ที่หลากหลาย เช่น ไอเสียรถยนต์ เครื่องยนต์ เครื่องจักรอุตสาหกรรมต่างๆ โรงไฟฟ้า ไฟป่า รวมถึงเตาเผาขยะในระดับประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง เข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดม หากสูดดมมากจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น ปวดหัว เวียนหัว อ่อนเพลีย ปวดท้อง อาเจียน เจ็บหน้าอก รู้สึกสับสนมึนงง ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปในครั้งเดียวอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน หมดสติและเสียชีวิตได้


แอมโมเนีย (Ammonia) มีฤทธิ์กัดกร่อนและมีกลิ่นฉุน เป็นสารเคมีในชีวิตประจำวันที่เป็นส่วนผสมในของใช้หรือผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยสำหรับปลูกต้นไม้ ทางการแพทย์ถูกนำมาใช้ปฐมพยาบาลผู้ป่วยหมดสติ เนื่องจากการสูดดมแอมโมเนียในปริมาณเล็กน้อยจะทำให้เกิดการระคายเคืองภายในระบบทางเดินหายใจ จึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการหายใจ แต่ถ้าสัมผัสกับแอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ จมูก ปาก ลำคอ ปอด จะส่งผลให้คอบวม ไอ น้ำท่วมปอด แต่หากสัมผัสโดนผิวหนังและดวงตาอาจทำให้ผิวหนังไหม้ เป็นแผลพุพอง ตาบอด และหากสูดดมปริมาณมากหรือรับประทานอาจทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายเสียหายและเสียชีวิตได้

คลอรีน (Chlorine) มีความเป็นพิษที่ค่อนข้างสูง จึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ที่มีคลอรีนเป็นส่วนประกอบที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น สารทำความสะอาดสระน้ำ น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานและโรงพยาบาล ใช้ควบคุมความสะอาดในน้ำสำหรับผู้ที่เพาะพันธุ์ปลาหรือสัตว์น้ำ ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในกระบวนการผลิตน้ำดื่มแต่อยู่ในปริมาณที่ต่ำและไม่ส่งผลต่อร่างกาย รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ พลาสติก สี สิ่งทอ และโลหะบางชนิด การสัมผัสกับคลอรีนที่มีความเข้มข้นสูงไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ผิวหนังอาจเกิดอาการแสบร้อน มีแผลพุพอง ตาพร่า แสบตา แสบจมูกและลำคอ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด คลื่นไส้ อาเจียน ในรายที่รุนแรงอาจสูญเสียการมองเห็นหรือเสียชีวิตได้

กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) มีลักษณะเป็นของเหลวที่ข้นหนืด อาจมีสีใสหรือสีเหลือง ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดชนิดนี้เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงซักฝอก น้ำยาซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเครื่องเคลือบ น้ำยาสำหรับว่ายน้ำ และปุ๋ย มีความเป็นพิษและมีฤทธิ์กัดกร่อน หากผิวหนังสัมผัสกรดไฮโดรคลอริกในระดับที่เข้มข้นจะทำให้เกิดแผลพุพอง ปวดแสบปวดร้อน เมื่อสัมผัสถูกดวงตาอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบและตาบอด หากรับประทานจะมีอาการแสบร้อนในลำคอ ปวดท้องรุนแรง อาเจียนเป็นเลือดช็อกและเสียชีวิตได้ หากมีการสูดดมอาจทำให้เกิดอาการไอไอเป็นเลือด สำลัก แน่นหน้าอก เวียนหัว หายใจไม่ออก หมดสติและเสียชีวิตได้

กรดกำมะถัน หรือกรดซัลฟูริก (Sulfuric Acid) พบได้ทั้งรูปแบบของเหลวที่ข้นหนืดคล้ายน้ำมัน ก๊าซ และของแข็งมีฤทธิ์กัดกร่อนสูง มีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมหลักในหลากหลายอุตสาหกรรม ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาได้ดี โดยจะพบกรดกำมะถันในแบตเตอรี่รถยนต์ ผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ และปุ๋ยบางชนิด เราอาจได้รับกรดกำมะถันผ่านการสูดดมและการสัมผัสทางผิวหนัง จะทำให้เกิดการระคายเคืองในโพรงจมูกและลำคออย่างรุนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ผิวหนังเป็นแผลพุพอง หากกรดที่มีความเข้มข้นสูงสัมผัสดวงตาโดยตรงอาจทำให้ตาบอดได้

จะเห็นได้ว่าสารเคมีในชีวิตประจำวันนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ การศึกษาข้อมูล ข้อพึงระวังในการใช้สารเคมีต่างๆ ผ่านการอ่านฉลากทุกครั้งก่อนซื้อ จะช่วยให้การนำมาใช้งานมีความปลอดภัย นอกจากนั้นหากต้องสัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำสิ่งสำคัญที่ควรปฏิบัติทุกครั้ง คือ ต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น หน้ากากอนามัย แว่นตา ถุงมือ หรือชุดป้องกัน และควรปฏิบัติงานในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากรับประทานสารเคมีเข้าไป ควรโทรเรียกรถพยาบาลหรือนำส่งโรงพยาบาลในทันที และในช่วงระยะเวลานั้นห้ามล้วงคอหรือทำให้ผู้ได้รับสารเคมีอาเจียนเพราะอาการอาจรุนแรงขึ้น หากผู้ประสบเหตุยังมีสติอาจให้ดื่มน้ำหรือนม เพื่อชะลอการดูดซึมพิษจากสารเคมี

เรียบเรียงข้อมูลจาก :

https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11463-2020-04-20-08-25-47

https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/243

https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/3-chemical

https://sgechem.com/articles

https://xinglongchemi.com

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : เคล็ดลับความสวยจาก..ชาเขียว
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การเพิ่มมูลค่า‘หน่อไม้ฝรั่ง’พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพไฟเบอร์สูง
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : แผลที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลากี่วันถึงจะหายดี
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (2)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : ฮอร์โมนและสารรบกวน (1)
  • วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2) วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : การใช้สาหร่ายขนาดเล็กดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (2)
  •  

Breaking News

ไร้ปาฏิหาริย์! 'น้องน้ำตาล'เสียชีวิตที่แม่น้ำเจ้าพระยา ญาติเชื่อถูกลวงฆาตกรรม

เที่ยวบินหลายลำลงจอดฉุกเฉิน'อู่ตะเภา' หลัง'สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง'เจอฝนถล่มหนัก

'ในหลวง-พระราชินี' พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

กมธ.พัฒนาสังคมฯจัดสัมมนา‘สลาก กอช.’ หนุน‘หวยเกษียณ’สร้างหลักประกันวัยชรา

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved