ในช่วงวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางสมาคมกีฬาเวชศาสตร์ ร่วมกับ งานพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้สนับสนุนบุคลากรทางวิทยาศาสตร์การกีฬา อันประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์การกีฬานักกายภาพบำบัดการกีฬา และ นักโภชนาการการกีฬา เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2024 ของ the American College of Sports Medicine (ACSM) ณ เมือง Boston มลรัฐ Massachusetts ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง งานประชุมดังกล่าว เป็นที่งานที่สำคัญ ในวงการเวชศาสตร์การกีฬา และการออกกำลังกาย (Sports & Exercise Medicine)
การประชุมนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในแขนงความรู้สาขาต่างๆ เช่น กีฬาเวชศาสตร์ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และ วิทยาศาสตร์การกีฬา นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมพิเศษ สำหรับ นักศึกษา และผู้เริ่มต้นอาชีพที่สนใจในด้านนี้
สำหรับหัวข้อการประชุมประจำปีของ ACSM มีหัวข้อและกิจกรรมที่หลากหลาย อันได้แก่
1.การนำเสนอผลงานวิจัย จากนักวิจัย จากทุกภูมิภาคของโลก มานำเสนอผลงานวิจัยล่าสุด ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เวชศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
2.หัวข้อบรรยาย จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ การแพทย์กีฬา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย
3.การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่เน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ เช่น การฝึกสอน การใช้ เครื่องมือ ultrasound ในการประเมินการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เกิดจากการกีฬา
4.การแสดงสินค้า และเทคโนโลยีใหม่ ที่เกี่ยวข้อง
จึงนับเป็นโอกาสที่ดี ของทีมงานสายกีฬาเวชศาสตร์ ที่สนับสนุนนักกีฬาไทย ในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน กับผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อนร่วมอาชีพจากทั่วโลก
การนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุม ACSM มีความหลากหลายและครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อันได้แก่
1.การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการบาดเจ็บในนักกีฬา (Sports Rehabilitation)
2.การออกกำลังกาย และสุขภาพ เป็นการศึกษารายงานผลกระทบของกีฬา การออกกำลังกายต่อสุขภาพจิต และ การลดความเครียด (Sports Psychology)
3.เทคโนโลยีอุปกรณ์วัดกิจกรรมทางกาย เป็นการศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุปกรณ์ที่สวมใส่ เพื่อติดตาม และปรับปรุงประสิทธิภาพการออกกำลังกาย (Physical Activity Tracker)
4.โภชนาการและการกีฬา เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมต่อนักกีฬา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการฟื้นฟู (Sports Nutrition)
5.วิธีการ และกลยุทธ์ในการป้องกันการบาดเจ็บในนักกีฬา (Prevention for Sports Injury)
ซึ่งหัวข้อ ที่ตรงกับความสนใจของผู้เขียน และ จะนำมากล่าวถึงในตอนต่อไป ก็ได้แก่ เรื่องเทคโนโลยีอุปกรณ์วัดกิจกรรรมทางกาย (Physical activity tracker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ติดตามตัว ในรูปแบบต่างๆ เช่น สายรัดข้อมือ smartband หรือ นาฬิกาข้อมือ smartwatch หรือรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถ ระบุ บันทึก รวมถึง รายงาน กิจกรรมทางกายของผู้ใช้ โดยผ่านการวัดของ เซ็นเซอร์ โดยรายละเอียดของอุปกรณ์ดังกล่าว จะนำเสนอในตอนต่อไป โปรดติดตาม
นพ.ประกาศิต ชนะสิทธิ์
ศัลยแพทย์กระดูก และเวชศาสตร์การกีฬา
โรงพยาบาลนครธน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี