วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ในประเทศ
มนุษย์เงินเดือนเฮ 'คลัง'ชงครม.ไฟเขียว กม.ตั้งกองทุนบำนาญ

มนุษย์เงินเดือนเฮ 'คลัง'ชงครม.ไฟเขียว กม.ตั้งกองทุนบำนาญ

วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.
Tag : มนุษย์เงินเดือน กองทุนบำนาญ
  •  

มนุษย์เงินเดือนเฮ

‘คลัง’ชงครม.ไฟเขียว

กม.ตั้งกองทุนบำนาญ

บีบนายจ้างจ่ายสมทบ

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังหารือร่วมกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ว่ากระทรวงการคลังได้เสนอรายละเอียด

ร่างพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาแล้ว ขึ้นอยู่กับเลขาธิการ ครม. จะบรรจุวาระพิจารณาเห็นชอบได้เมื่อใด โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าวคือ จะบังคับให้ผู้ประกอบการทุกรายตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้าง


ด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคลัง กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.กบช.จะเป็นกฎหมายที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ โดยเบื้องต้นจะบังคับกับผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 รายขึ้นไปก่อน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยอัตราเบื้องต้นจะอยู่ที่ประมาณ 3%

รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการกำหนดอัตราของนายจ้างและลูกจ้างจ่ายสมทบเงินเข้ากองทุนว่า จะเป็นแบบขั้นบันได โดยจะให้นายจ้างและลูกจ้างจ่ายสมทบเงินเข้ากองทุนฝ่ายละ 3% ในช่วง 3 ปีแรก และจะเพิ่มเป็นฝ่ายละ 5% และ 7% ในปีถัดไป ซึ่งเชื่อว่าจะไม่ส่งผลให้ลูกจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบมีภาระเพิ่มขึ้น เพราะในปี 2561 การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีผลบังคับใช้ ทำให้มีภาระเสียภาษีน้อยลง ถือเป็นกฎหมายสำคัญที่กระทรวงการคลังต้องการให้นำภาระภาษีที่ลดลงกลับมาเป็นเงินออมเพื่อใช้ในวัยเกษียณ

ขณะเดียวกัน ในร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังยกเว้นสำหรับลูกจ้างที่รายได้ไม่ถึง 10,000 บาทต่อเดือน ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ โดยให้นายจ้างจ่ายสมทบฝ่ายเดียว เพราะถือเป็นลูกจ้างที่มีรายได้น้อย ทั้งนี้ มองว่าการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ เป็นเรื่องของนายจ้างและลูกจ้างรัฐบาลไม่เกี่ยว และคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีมาตรการเข้าไปช่วยเหลือการจ่ายสมทบของทั้งสองฝ่าย เพราะภาระการจ่ายสมทบก็นำมาเป็นรายจ่ายหักภาษีได้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.กบช. คาดว่าที่ประชุมจะพิจารณาในหลักการก่อน เนื่องจากยังมีส่วนที่กระทรวงการคลังและสำนักงานประกันสังคมต้องไปหารือให้ชัดเจนในส่วนของการจ่ายสมทบ เพราะสำนักงานประกันสังคมมีแผนที่จะปรับเพิ่มเงินสมทบเช่นกัน ซึ่งต้องพิจารณาให้สอดคล้องกัน เพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับผลกระทบกับรายได้

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เริ่มแล้ว!!! การแข่งขันเรือใบ Trat Regatta 2025 ระดับนานาชาติครั้งแรกในจังหวัดตราด

'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'

ด่วน!เปิดชื่อ 55 สว. เรียกรับทราบข้อหาปม'คดีฮั้ว' แบ่งเป็น 3 ลอต

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved