นายชาติ หงส์เทียมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ แถลงว่า นโยบายการบริหารจัดการแร่ยิปซัม ในปี 2559 ได้มีการจัดสรรโควตาการส่งออกแร่ยิปซัมโดยรวม จำนวน 6.5 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 4,100 ล้านบาท พร้อมคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกลดลงกว่าปีที่แล้วประมาณร้อยละ 15 เนื่องจากประเทศโอมาน ซึ่งเป็นผู้ผลิตแร่ยิปซัมรายใหญ่และมีปริมาณสำรองแร่ยิปซัมจำนวนมากเข้ามาแข่งขันในตลาดโดยมีราคาต่ำกว่า และได้เปรียบด้านการขนส่งทำให้ประเทศไทยสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด
ทั้งนี้ แร่ยิปซัม เป็นแร่เศรษฐกิจที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมยิปซัมบอร์ด และปูนปลาสเตอร์ โดยแหล่งแร่ยิปซัมของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่จ.พิจิตร นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีปริมาณสำรองแร่รวมทั้งสิ้นประมาณ 260 ล้านเมตริกตัน
“ในอดีตการส่งออกแร่ยิปซัม มีปัญหาเกี่ยวกับการขายตัดราคาเพื่อแย่งตลาดการส่งออกทำให้ราคาแร่ยิปซัมตกต่ำอย่างมาก ในปี 2536 คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติให้ กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งรัดดำเนินการ เพื่อสงวนวัตถุดิบซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญไว้เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประเทศและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอย่างคุ้มค่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการแร่ยิปซัมโดยได้กำหนดปริมาณการส่งออกแร่ยิปซัมควบคู่กับการกำหนดราคาส่งออกแร่ยิปซัมขั้นต่ำเพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าภาคหลวงแร่ ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา” นายชาติ กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี