ดีล 2300 MHz "ดีแทค" ได้ไม่คุ้มเสีย วงในชี้เทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องลูกข่าย ไม่สอดคล้องกับตลาด ระบุไม่ช่วยแก้ปัญหาในการโทร เหตุ คลื่นไม่เหมาะกับให้บริการโทรเข้าโทรออก
แหล่งข่าวจากวงการโทรคมนาคมรายหนึ่ง เปิดเผยว่า หลังจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้อนุมัติ ให้บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ในเครือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ทำสัญญาการใช้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ (Roaming Agreement) บนคลื่นย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งได้ลงนามในสัญญาดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทได้เป็นคู่สัญญา กัน ทีโอที และ ดีแทค ไตรเน็ต โดยข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว ดีแทค ไตรเน็ต ตกลงใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศบนโครงข่ายย่าน 2300 MHz (โรมมิ่ง) ของ ทีโอที ซึ่งทีโอที ได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสัญญาบริการโรมมิ่ง ซึ่งทำให้ ดีแทค ไตรเน็ต สามารถดำเนินการให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้บริการโรมมิ่ง บนโครงข่ายคลื่นย่าน 2300 MHz ได้
ทั้งนี้ จากการลงนามสัญญาดังกล่าว โดยมีระยะเวลาสัญญาตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2561 ถึง วันที่ 3 สิงหาคม 2568 ซึ่งการเซ็นสัญญาของดีแทค ล่าช้ามากว่า 2 ปี จึงส่งผลทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากสัญญาดังกล่าวลดน้อยลง และทำให้เสียเปรียบผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นๆ ในตลาด
จากตารางพบว่า สัญญาดังกล่าวทำให้ดีแทคจะต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่ทีโอทีตกปีละเกือบ 5,000 ล้านบาท ตามสัญญา 7 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในปี 2025 ดีแทคจะต้องเสียค่าเช่าใช้คลื่นรวมทั้งสิ้นกว่า 36,080 ล้านบาท ในขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่น อย่างเอไอเอส ที่ประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 1800 MHz จ่ายค่าไลเซ่นส์ 40,986 ล้านบาท มีอายุถึงปี 2033 และ คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จ่ายค่าไลเซ่นส์ 75,654 ล้านบาท มีอายุไลเซ่สน์ถึงปี 2030 ขณะที่ ทรูฯ จ่ายค่าไลเซ่นส์คลื่น 900 MHz 76,298 ล้านบาท มีอายุไลเซ่นส์ปี 2030 และคลื่น 1800 MHz จ่ายค่าไลเซ่นส์ 39,792 ล้านบาท มีอายุไลเซ่นส์ถึงปี 2033
อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการได้คลื่น 2300 MHz ของดีแทคเมื่อเปรียบเทียบแล้วดีแทคมีความเสียเปรียบทั้งเรื่องอัตราค่าเช่า รวมไปถึงคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ที่ได้รับ อาจจะนำมาใช้งานไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากเครื่องลูกข่ายไม่มีผู้ผลิตอุปกรณ์ทำรองรับทั้งหมด 60 MHz เนื่องการใช้คลื่นความถี่ในลักษณะTDD จะเน้นเรื่องดาต้า ดังนั้น ยังไม่ได้แก่ปัญญาดีแทคเรื่องการให้บริการเสียง (วอยซ์)
นอกจากนี้ ประสิทธิภาพในเรื่องความเร็วของการใช้ส่งข้อมูลที่เคยทำการทดสอบในประเทศไทย เปรียบเทียบระหว่าง เทคโนโลยี LTE ที่ใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD บนคลื่นย่าน 1800 MHz กับ คลื่นความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD บนคลื่นย่าน 2300 MHz ผลปรากฏว่าในจำนวนเมกะเฮิรตซ์ ที่เท่ากัน FDD บนคลื่น 1800 MHz มีประสิทธิภาพดีกว่า TDD บนคลื่น 2300 MHz
และเมื่อพิจารณาความถี่ที่รองรับเทคโนโลยี LTE ความถี่ 2300 MHz จะได้รับความนิยมมากกว่า คลื่นย่าน 1800 MHz หรือคลื่นย่าน 2600 MHz มาก ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนโมเดลของเครื่องลูกข่าย ที่จะมีจำนวนเครื่องรองรับน้อยกว่ามาก ขณะที่การพัฒนาต่อยอดไปสู่ IoT เช่น NB-IoT ซึ่ง เอไอเอส และทรู ที่ให้บริการในขณะนี้ไม่สามารถใช้งานคลื่น 2300 MHz ได้
"ดังนั้นสัญญาดังกล่าวของดีแทค จ่ายค่าเช่าแพงปีละเกือบ 5,000 ล้านบาท รองรับการให้บริการวอยซ์ ไม่ได้ ไปใช้ไอโอที ก็ไม่ไหวส่งดาต้าก็ไม่ดีสู้ คลื่น 1800 MHz ที่จ่ายถูกกว่าเกือบครึ่ง ซ้ำร้ายเครื่องรองรับก็ไม่ค่อยจะมี เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็น เครื่องลูกข่าย แอพพลิเคชั่น อุปกรณ์ต่างๆ การขยายเทคโนโลยีไม่สอดคล้องกับตลาด อีกทั้งเส้นทางไปสู่ระบบ 5G ก็ยังไม่ชัดเจน สู้ 3.4-3.5G ไม่ได้อืด" แหล่งข่าวกล่าว
โดยมีกรณีตัวอย่าง ประเทศอินเดีย การให้บริการ 4G LTE บนคลื่น 2300 MHz ได้รับการร้องเรียนเรื่องคุณภาพสัญญาณ เป็นอย่างมาก ดังนั่น JIO ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้ให้บริการ 4G บนคลื่น 2300 MHz ตัดสินใจลงทุนให้บริการ 4G บนคลื่น 850 MHz เพื่อแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพสัญญาณ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี