วันอาทิตย์ ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘สภาพัฒน์’ห่วงคนไทยหนี้ท่วมพาชักดาบ-กู้นอกระบบ เผยโควิดทำว่างงานสูง-จบใหม่เตะฝุ่น

‘สภาพัฒน์’ห่วงคนไทยหนี้ท่วมพาชักดาบ-กู้นอกระบบ เผยโควิดทำว่างงานสูง-จบใหม่เตะฝุ่น

วันพุธ ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564, 14.48 น.
Tag : กู้นอกระบบ โควิด ชักดาบ ว่างงาน สภาพัฒน์ หนี้
  •  

25 ส.ค. 2564 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เผยแพร่รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564 โดยเนื้อหาตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสภาพการจ้างงานและหนี้สินของประชาชนไว้ดังนี้ ในส่วนของสถานการณ์แรงงานไตรมาสสอง ปี 2564 ระบุว่า ตลาดแรงงานปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ โดยไตรมาส 2/2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

แบ่งเป็นการจ้างงานภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากการเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานของแรงงานที่ว่างงานและถูกเลิกจ้าง และราคาสินค้าเกษตรที่จูงใจ การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร สาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า มีการขยายตัวร้อยละ 5.1 5.4 และ 7.1 ตามลำดับ ส่วนสาขาการผลิต และการขายส่ง/ขายปลีก การจ้างงานหดตัวร้อยละ 2.2 และ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ การจ้างงานที่หดตัวในสาขาการผลิตซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นเป็นหลัก 


ขณะที่สาขาการผลิตเพื่อการส่งออกมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ สาขาเครื่องคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยางและยานยนต์ ชั่วโมงการทำงาน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติที่ 41.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับแรงงานที่ทำงานล่วงเวลามีจำนวน 6.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 

“การว่างงานยังอยู่ในระดับสูงจากผลกระทบของโควิด-19 โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.89 คิดเป็นผู้ว่างงาน 7.3 แสนคน แบ่งเป็นผู้ไม่เคยทำงานมาก่อน (ผู้จบการศึกษาใหม่) 2.9 แสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 และผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมีจำนวน 4.4 แสนคน ลดลงร้อยละ 8.38 เมื่อพิจารณาระยะเวลาของการว่างงาน พบว่า ผู้ว่างงานมีแนวโน้มว่างงานนานขึ้น โดยผู้ว่างงานนานกว่า 12 เดือน มีจำนวน 1.47 แสนคน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าจากช่วงเดียวกันของไตรมาสที่แล้ว นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็นร้อยละ 3.18 และ 3.44 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าการว่างงานในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มแรงงานทักษะสูง” 

สำหรับการว่างงานในระบบ ผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานมีจำนวน 3.1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วนต่อผู้ประกันตนร้อยละ 2.8 ลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยแต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ปกติ ขณะที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยมีจำนวน 32,920 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากไตรมาสก่อนที่มีจำนวนเพียง 7,964 คน

ในส่วนของหนี้สิน รายงานระบุว่า หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลง ไตรมาส 1/2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อ GDP ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น 

ขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวัง โดยสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.84 ในไตรมาสก่อน และด้อยลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อนให้เห็นว่า ครัวเรือนเริ่มมีปัญหาในการหารายได้หรือสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้น โดยประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป ได้แก่

1.ผลของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เดิม และการออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม แม้ว่าสถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมจากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ แต่เนื่องจากผลกระทบเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจึงจำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินมาตรการให้เร็วขึ้น โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงินทุกแห่ง เพื่อให้สามารถประคับประคองสถานะทางการเงินของครัวเรือนให้ผ่านพ้นจากวิกฤติไปได้ ไม่ให้เป็นหนี้เสีย ชะลอการฟ้องร้องคดี รวมถึงการยึดทรัพย์อย่างไรก็ตาม ต้องระวังไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ท าให้ลูกหนี้ดีไม่ชำระหนี้ตามปกติ(Moral Hazard)

2.รายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน และการก่อหนี้นอกระบบ จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดจะส่งผลกระทบต่อรายได้และฐานะการเงินของครัวเรือนและเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ประกอบกับสถาบันการเงินชะลอการปล่อยสินเชื่ออาจทำให้ครัวเรือนที่ขาดสภาพคล่องหันไปก่อหนี้นอกระบบ จึงควรมีมาตรการรักษาการจ้างงาน ควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งอาจใช้กลไกสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐในการช่วยเหลือ
3.การเฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกลวงโดยการให้สินเชื่อผ่าน Online Platform ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบให้ผู้หลงเชื่อเสียข้อมูลส่วนบุคคล จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง และโดนติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงได้จึงควรเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งคณะกรรมการกำกับทวงถามหนี้เข้ามามีบทบาทในการควบคุมดูแลให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งล่าสุดก็ได้มีประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการทวงถามหนี้ฉบับใหม่ ขณะเดียวกันประชาชนควรตรวจสอบรายชื่อจากผู้ให้บริการทางการเงิน (ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์) ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายก่อนการกู้ยืมเงิน

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11760&filename=index&fbclid=IwAR3FPh6I5L4dAiyQyyUEqsnnoJapTSr0U9cP2KnmunFke9pJaa9VXl2qd4Y

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • การจ้างงานลด หนี้สินครัวเรือน16.42 ล้านล้าน การจ้างงานลด หนี้สินครัวเรือน16.42 ล้านล้าน
  • จีดีพีไตรมาส 1 ขยายตัว 3.1% สภาพัฒน์คาดจีดีพีปี 2568 โต 1.3-2.3% ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก จีดีพีไตรมาส 1 ขยายตัว 3.1% สภาพัฒน์คาดจีดีพีปี 2568 โต 1.3-2.3% ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก
  • สภาพัฒน์หั่นเป้า GDP ปี68 เหลือ1.8% เซ่นพิษภาษีสหรัฐ สภาพัฒน์หั่นเป้า GDP ปี68 เหลือ1.8% เซ่นพิษภาษีสหรัฐ
  • วิกฤต‘ภาษีทรัมป์’ ‘สภาพัฒน์’เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทย หั่นเป้าจีดีพีทั้งปี โต 1.8% วิกฤต‘ภาษีทรัมป์’ ‘สภาพัฒน์’เผยตัวเลขเศรษฐกิจไทย หั่นเป้าจีดีพีทั้งปี โต 1.8%
  • จับตาเงิน 1.57 แสนล้าน รัฐจะใช้ยังไงเพื่อรับมือ ‘ทรัมป์2.0’ จับตาเงิน 1.57 แสนล้าน รัฐจะใช้ยังไงเพื่อรับมือ ‘ทรัมป์2.0’
  • 5แสนล้านจะกู้ไปทำอะไร? ‘กรณ์’เตือนรัฐบาลคิดให้ดีหลังไทยถูกลดชั้นประเมินสถานะการเงิน 5แสนล้านจะกู้ไปทำอะไร? ‘กรณ์’เตือนรัฐบาลคิดให้ดีหลังไทยถูกลดชั้นประเมินสถานะการเงิน
  •  

Breaking News

'นักการเมือง'ครอบงำ?! ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตย

'ดิว อริสรา'ลุยหาเงินใช้หนี้ เปิดไลฟ์ขายของ 2 วันยอดทะลุ 2 ล้าน

(คลิป) อดีตฝ่ายแค้น'พรรคส้ม'ร้อนรน! เมื่อคนรุ่นใหม่เริ่มตาสว่าง! ตัวปัญหาคือ'ทักษิณ'ไม่ใช่'ทหาร'

(คลิป) เจาะลึก! เล่ห์เหลี่ยม'พรรคส้ม' วาทกรรมลอยๆ ร่างนิรโทษกรรม ม.112

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved