วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘ปตท.’ เปิดโครงการ ‘Content Lab’ หนุน ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์-ซอฟท์เพาเวอร์’ ฝีมือคนไทย

‘ปตท.’ เปิดโครงการ ‘Content Lab’ หนุน ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์-ซอฟท์เพาเวอร์’ ฝีมือคนไทย

วันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : ปตท PTT Content Lab เศรษฐกิจสร้างสรรค์
  •  

“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” เป็นการนำ “ของดีที่มีอยู่เดิม” ตั้งแต่สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติไปจนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม มาต่อยอดด้วย “เทคโนโลยีสมัยใหม่” เกิดเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ยังส่งเสริม “ซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power)” หรือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในสายตาชาวต่างชาติ ดึงดูดให้เดินทางมาเยี่ยมเยือนหรือเลือกซื้อสินค้าจากประเทศนั้นๆ

ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยมีนโยบาย “5F” หรือการส่งเสริม Soft Power ที่มีศักยภาพ 5 ด้าน ได้แก่ Food (อาหาร) Film (ภาพยนตร์และวีดิทัศน์) Fashion (แฟชั่นผ้าไทย) Fighting (มวยไทย) และ Festival (เทศกาลประเพณีต่างๆ) รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 15 สาขา คือ 1.งานฝีมือและหัตถกรรม 2.ดนตรี 3.ศิลปะการแสดง 4.ทัศนศิลป์ 5.ภาพยนตร์ 6.การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7.การพิมพ์ 8.ซอฟต์แวร์ 9.การโฆษณา 10.การออกแบบ 11.การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม 12.แฟชั่น 13.อาหารไทย 14.การแพทย์แผนไทย และ 15.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม


“ปตท.”  บริษัทชั้นนำด้านพลังงานของไทย ด้วยวิสัยทัศน์ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต (Powering Life with Future Energy and Beyond)” ที่เล็งเห็นความสำคัญของ Creative Economy และ Soft Power ว่านี่คือ “โอกาส” ของไทยในเวทีโลก จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ “Soft Power for Better Thailand” ขึ้น เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย หรือ “เสน่ห์ไทย” ที่เกิดจากวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีปฏิบัติอันเป็นภูมิปัญญาของประเทศไทย ที่อยู่ในความสนใจของชาวต่างชาติ

ซึ่งนอกจากจะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจที่จะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อขยายฐานอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย ที่จะช่วยสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลังสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย

การขับเคลื่อนนี้นำโดย บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) บริษัทในกลุ่ม ปตท. ที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านซอฟท์พาวเวอร์ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ภายใต้แนวคิด TECH CREATE FUN คือ การนำเทคโนโลยี (TECH) เช่น Virtual Reality, Augmented Reality, Drone และ Metaverse เป็นต้น มาเสริมศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน (CREATE)

เช่น ภาพยนตร์ ดิจิทัลคอนเทนต์  หรือ งานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชมได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีขึ้น (FUN) รวมไปถึงยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์ไทย ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมคอนเทนต์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งการพัฒนาทักษะบุคลากร การสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุดกับการเปิดตัวโครงการ “Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ปตท. กับ “CEA” สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และพันธมิตรอีกหลายองค์กร โดยเป็นคอรส์อบรมพัฒนาทักษะด้าน ภาพยนตร์ หรือ ซีรีส์ (Film & Series) และ ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา มุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในฟันเฟืองกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ดึงเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อีกหลายช่องทาง

นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้จัดการฝ่าย รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า Content Lab เป็นโครงการที่ ปตท. ร่วมกับ CEA ในการพัฒนาคอนเทนต์ไทย ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่ง Content Creator ไทย มีไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ไม่แพ้ชาติอื่นๆ อยู่แล้ว แต่การจะไปได้ไกลในเวทีโลก ต้องมีการเสริมสร้างทักษะทางด้านเทคโนโลยี และมีระบบนิเวศที่จะช่วยเติมเต็มให้การผลิตคอนเทนต์นั้นสมบูรณ์ น่าสนใจ และได้มาตรฐานสากลยิ่งขึ้น

โดย Content Lab ก็จะเข้ามามีส่วนช่วยตอบโจทย์ในด้านนี้ ซึ่ง ปตท. จะเป็นแกนหลักของโปรแกรม Digital Content ซึ่งเป็นคอร์ส Training และ Workshop ที่เข้มข้น เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำมาพัฒนา และสร้างสรรค์การนำเสนอดิจิทัลคอนเทนต์ด้วยเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญ เช่น Virtual Production, AR / XR, AR Location Base, CG, 3D Model เป็นต้น

“ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้เรียนรู้โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เช่น Metaverse XR, Mango Zero, Real Bangkok พร้อมสัมผัสประสบการณ์การทำงานใน XR Studio ชั้นนำในประเทศไทย เช่น Supreme Studio และ L&E Studio อีกด้วย ภายหลังการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะนำความรู้ที่ได้ ไปสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ ซีรีส์ งานโฆษณา เกม หรือดิจิทัลคอนเทนต์อื่นๆ ภายใต้แนวคิด ‘Meaningful Travel’ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวของไทยด้วยซอฟท์พาวเวอร์” นายชาญ กล่าว

สำหรับโครงการ “Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มภาพยนตร์ หรือ ซีรีส์ (Film & Series) สร้างสกิล โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ นักเขียนบท ในระดับมาตรฐานสากล คอร์สอบรมเข้มข้นเพื่อเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นในการทำภาพยนตร์ ซีรีส์ เพื่อตอบโจทย์ตลาดสากล ผ่านการสร้างพื้นฐานความเข้าใจที่แข็งแรง และเปิดโอกาสให้เห็นถึงการทํางานของ โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ นักเขียนบท ในระดับสากล พร้อมผลิตคอนเทนต์เข้าสู่ตลาดโลก รวมถึงการสร้าง Project Proposal และ Teaser ให้เกิดขึ้นได้จริงภายในโครงการ โดยมีทุนสนับสนุน พร้อมมอบโอกาสการ Pitching กับ Streaming Platform และผู้ผลิตภาพยนตร์ ภายใต้การดูแลและคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญตลอดโปรแกรม

กับ 2.กลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)  คอนเทนต์สื่อใหม่สร้างประสบการณ์ทางดิจิทัล สำหรับผู้เริ่มต้น คอร์สเทรนนิงและเวิรก์ช็อป เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตั้งแต่ Virtual Production, AR (Augmented Reality) / XR (Extended Reality), AR Location Base, CG (Computer Graphic) และ 3D Model โดยเปิดโอกาสให้ Content Creator Animator Developer นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจใช้เทคโนโลยีมาประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ภาพยนตร์ ซีรีส์ งานโฆษณา งานอีเวนต์ และเกม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะอาชีพขององค์กรและตนเอง ยกระดับความสามารถสู่มาตรฐานสากล จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของประเทศไทย

“กติกาการสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร” ประกอบด้วย 1.รับสมัครสูงสุดจำนวน 10 ทีม หรือไม่เกิน 30 คน 2.เป็นผู้ที่ความสนใจด้านเทคโนโลยี โดยเปิดรับจากหลากหลายอาชีพ เช่น Content Creator , Animator, Game Developer, Graphic Designer, โปรแกรมเมอร์, นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ 3.สามารถสมัครเดี่ยว หรือกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 3 คน 4.อายุระหว่าง 18 - 50 ปี และ 5.หากมีพื้นฐานด้านการใช้โปรเเกรมการพัฒนา AR/VR, การปั้นโมเดล 3 มิติ, การทำ CG หรือตัดต่อวิดีโอ เช่น Unity, Maya, Unreal Engine จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (โปรดระบุโปรเเกรมที่ใช้ใน CV)

หลังจบการ Training เเละ Workshop ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างสรรค์ผลงานในรูปเเบบดิจิทัลคอนเทนต์ที่น่าสนใจ โดยนำ เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ในชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นหนังโฆษณา ภาพยนตร์/ซีรีส์ออนไลน์ เกม รวมถึง Digital Asset อื่น ๆ เช่น AR Location Base, AR Mini Game, VR, Metaverse, VPS Point Cloud, Avatar 2 ฯลฯ ในหัวข้อ “Meaningful Travel” ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-Based Tourism) ผ่านการนำ เสนอสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว

อย่าง Soft Power (5F: Food/Festival/Film/Fighting/Fashion) ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานความยั่งยืน เพื่อส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวเหนือระดับ ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและความหมายอย่างหลายใจ ได้แก่ “ใจรักษ์” สำนึกดีต่อชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, “ประทับใจ” ต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากสินค้าและบริการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ และ “มีใจ” กลับมาเยี่ยมเยือนอีกเมื่อมีโอกาส

ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 9 มี.ค. 2566  สำหรับกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ และจนถึงวันที่ 20 มี.ค. 2566 สำหรับกลุ่มภาพยนตร์หรือซีรีส์ ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดรวมถึงติดต่อสอบถามได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “Content Lab” https://www.facebook.com/profile.php?id=100089776453102 และเพจ “Creative Economy Agency” https://www.facebook.com/CreativeEconomyAgency/ หรือที่อิเมล Digitalcontentlab01@gmail.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปตท.เร่งพัฒนา CCS-ไฮโดรเจน ปตท.เร่งพัฒนา CCS-ไฮโดรเจน
  • ปตท. จับมือ บมจ.นำวิวัฒน์ฯ รุกตลาดน้ำยาล้างเครื่องมือแพทย์ ปตท. จับมือ บมจ.นำวิวัฒน์ฯ รุกตลาดน้ำยาล้างเครื่องมือแพทย์
  • ปตท. ชูผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง พร้อมเพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล ปตท. ชูผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง พร้อมเพิ่มเงินปันผล ดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสมดุล
  • ปตท.สผ. ลงทุนกว่า 2.61 แสนล้านบาท มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง ปตท.สผ. ลงทุนกว่า 2.61 แสนล้านบาท มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศอย่างต่อเนื่อง
  • เชิญชวนรับชมนิทรรศการ ‘บทเพลงแห่งความเงียบงัน’ โดย พิษณุ ศุภนิมิตร เชิญชวนรับชมนิทรรศการ ‘บทเพลงแห่งความเงียบงัน’ โดย พิษณุ ศุภนิมิตร
  • งานมหัศจรรย์ไม้เมืองหนาว ทิวลิปบานที่สวนหลวง ร.๙ ประจำปี 2567 ‘The Charming of Colorful Town’ งานมหัศจรรย์ไม้เมืองหนาว ทิวลิปบานที่สวนหลวง ร.๙ ประจำปี 2567 ‘The Charming of Colorful Town’
  •  

Breaking News

สง่างาม! 'โอปอล สุชาตา'เปิดตัวสุดอลังการในชุดไทยบนเวที Miss World 2025

‘กมธ.ป.ป.ช.’ ซ้ำดาบฮั้ว สว.! เรียก‘กกต.-ผู้ร้อง’ให้ข้อมูลอุดช่องโหว่-สาวขบวนการ

‘สหรัฐฯ-จีน’ถกคลี่คลายศึกกำแพงภาษี ‘ทรัมป์’เผยเป็นนิมิตหมายอันดี

ลมกระโชกแรง! บ้านริมน้ำกระบี่ทรุดตัวพังถล่ม บาดเจ็บ 2 ราย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved