วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
ค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง  ภาคเอกชนผิดหวังหลักคิดของกกพ.

ค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง ภาคเอกชนผิดหวังหลักคิดของกกพ.

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2566, 06.00 น.
Tag : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สอท
  •  

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาคเอกชนรู้สึกผิดหวังกับกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ประกาศอัตราค่าไฟฟ้ารอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม โดยค่าไฟใหม่ 4.77 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อน 5 สตางค์ เนื่องจากไม่ได้ช่วยลดภาระให้กับภาคครัวเรือน ทั้งๆ ที่ค่าไฟรอบนี้ทิศทางพลังงานของโลกได้ลดลงตามความเป็นจริงจึงสมควรปรับสมมุติฐานราคา ให้เป็นบวกกับผู้บริโภคมากขึ้น โดยงวดดังกล่าวที่ลดลงเป็นจากปัจจัยภายนอกทั้งค่าเงิน และราคาพลังงานโลกแต่ในเชิงโครงสร้างยังไม่ได้รับการแก้ไขและหาทางเลือกอื่น

ทั้งนี้ อยากจะตั้งคำถามถึงภาครัฐในการบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ที่กระทบครัวเรือนทุกคน ตลอดจนถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่กำลังเร่งฟื้นฟู ในช่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว และแข่งขันรุนแรงในระดับประเทศคือ 1.สมมุติฐานการคำนวณค่าไฟฟ้าที่สูงเกินไป ที่ไม่ตอบโจทย์เนื่องจากค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวด ม.ค.-เม.ยเลือกใช้สมมุติฐานช่วงไฟ Peak ทั้งต้นทุนพลังงานโลก และค่าเงินบาท ทำให้ค่าไฟภาคธุรกิจมี ต้นทุนสูงขึ้น 13% จากค่าไฟฟ้า 4.72 บาทต่อหน่วย เป็น 5.33 บาทต่อหน่วยขณะที่ค่าไฟฟ้า งวด พ.ค-ส.ค.เป็นช่วงต้นทุนพลังงานของโลกต่ำลง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น กลับเลือกใช้สมมุติฐาน ตัวเลขของเดือนม.ค. 2566 ทำให้คนไทยต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่สูงเกินจริง ตลอด พ.ค.-ส.ค. 2566


คำถามที่ 2.การเร่งรัดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นโครงการใดๆ ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาล เช่น ไฟฟ้าสีเขียว ทั้ง 5,203 เมกะวัตต์ และส่วนเพิ่ม 3,668 เมกะวัตต์ แบบเร่งรีบ ทั้งๆ ที่มีเอกชนหลายรายยื่นฟ้องขอการคุ้มครองจากศาลปกครองต่อกระบวนการคัดเลือกที่ไม่โปร่งใส รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น ทั้งๆ ที่ ประเทศไทยยังมีการผลิตของโรงไฟฟ้า
มากกว่าความต้องการกว่า 50% 3.ปัญหาเชิงโครงสร้าง และนโยบาย กลับไม่มีใครพูดถึง ทางออก เช่น ต้นทุนที่สูงของค่าไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ค่าพร้อมจ่าย, ต้นทุนแฝง อื่นๆจากภาวะ Supply over Demand กว่า 50% ตลอดจนสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เหลือ 30% ขณะที่ สัดส่วนของเอกชน รวมการนำเข้า สูงถึง 70% ขณะที่การจัดสรรก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทย และอื่นๆ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญของประเทศ ควรดำเนินการให้เหมาะสม เป็นธรรมระหว่าง ภาคปิโตรเคมี และ ไฟฟ้า

นายอิศเรศ กล่าวอีกว่าผลประโยชน์เรื่องค่าไฟฟ้ามองง่ายๆ ตามหลัก “Zero Sum Game ” สรุปได้ว่า ประชาชนคนไทย ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่แพง ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายราย ต่างก็มีผลประกอบการที่มีกำไร และเติบโตกันถ้วนหน้าท่ามกลางที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหลักในการดูแลไฟฟ้าของประเทศ เหลือสัดส่วนเพียง 30% และยังแบกภาระหนี้ ร่วม 1 แสนล้านบาท จากการแบกภาระอุ้มกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ขออนุญาตฝากการบ้าน ถึงทีมบริหารเศรษฐกิจที่เก่งๆ ของแต่ละพรรคการเมือง ให้ช่วยหาทางออก และคำตอบที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนคนไทยด้วย

“ได้เสนอแนวคิดในการประกาศค่าเอฟที ในช่วงพลังงาน และ เศรษฐกิจโลก ผันผวนว่าควรปรับเปลี่ยนจากการประกาศทุก 3 งวด/ปี หรือ งวดละ 4 เดือน เป็น 6 งวด/ปี หรือ ทุก 2 เดือน เพื่อให้ เกิด dynamic และ response ต้นทุนค่าไฟฟ้า ได้รวดเร็ว แม่นยำ มากขึ้น”นายอิศเรศ กล่าว

อนึ่ง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. ได้แถลงข่าวว่าการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการงวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2566 และแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 293.60 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 6.72 บาทต่อหน่วย กรณีที่ 2 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 105.25 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.84 บาทต่อหน่วย และกรณีที่ 3 ค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย

ทั้งนี้ หลังได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่าเอฟทีขายปลีกในแต่ละแนวทางแล้ว มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วยจากเดิมค่าไฟฟ้าบ้านที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และภาคธุรกิจ 5.33 บาทต่อหน่วย โดยกกพ.ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วย

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

ว่าที่คุณแม่ป้ายแดง 'ตู่ ปิยวดี-มาวิน'อวดภาพอบอุ่น เตรียมนับถอยหลังรอเบบี๋

(คลิป) 'บรู๊ค' โฆษกเพื่อไทย ปัด! ไม่เคยพูด! 'ทักษิณ' ป่วยขั้นวิกฤตแค่ได้รับการผ่าตัด

(คลิป) 'นายกอิ๊งค์' อ้าง! ใส่ชุดขาว ตอบนักข่าวเรื่อง 'ทักษิณ' ไม่ได้

ทำบุญอย่างไรให้ได้อานิสงส์มาก

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved