วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ‘ศก.ไม่เป็นตามคาด-ขาดวางแผนการเงิน’สาเหตุสำคัญ

หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ‘ศก.ไม่เป็นตามคาด-ขาดวางแผนการเงิน’สาเหตุสำคัญ

วันพฤหัสบดี ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566, 14.33 น.
Tag : สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย หนี้ครัวเรือน เศรษฐกิจ
  •  

‘ม.หอการค้าไทย’เผยหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ‘ศก.ไม่เป็นตามคาด-ขาดวางแผนการเงิน’สาเหตุสำคัญ

27 ก.ค. 2566 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) แถลงข่าว “สถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย 2566” โดย นางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ UTCC เปิดเผยถึงการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่งประเทศ 1,300 คน ระหว่างวันที่ 17-21 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นชาย ร้อยละ 47.1 หญิง ร้อยละ 52.9 แบ่งตามอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 22.6 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 30.3 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 26.5 อายุ 50-59 ปี ร้อยละ 11.8 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 8.8 


แบ่งตามระดับการศึกษา ปริญญาตรี ร้อยละ 38.5 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 24.9 ม.ปลาย/ปวช. ร้อยละ 17.8 ม.ต้น ร้อยละ 13.7 ประถมศึกษา-สูงกว่าปริญญาตรี กลุ่มละร้อยละ 2.4 และไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 0.3 แบ่งตามอาชีพ เจ้าของกิจการ ร้อยละ 21.6 พนักงานเอกชน ร้อยละ 20.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.2 เกษตรกร ร้อยละ 11.2 ข้าราชการ/พนง.รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.7 อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.2 เกษียณแล้ว ร้อยละ 5.2 อยู่บ้าน (พ่อบ้าน/แม่บ้าน) ร้อยละ 2.8 นักศึกษา ร้อยละ 1.5 ไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 0.9 และอื่นๆ ร้อยละ 0.3

แบ่งตามภูมิภาค ภาคกลาง ร้อยละ 26.9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.7 ภาคเหนือ ร้อยละ 19.6 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ร้อยละ 17 และภาคใต้ ร้อยละ 12.8 แบ่งตามจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 คน ร้อยละ 34.1 4 คน ร้อยละ 25.5 2 คน ร้อยละ 19.9 5 คน ร้อยละ 11.5 มากกว่า 5 คน ร้อยละ 5 และอยู่คนเดียว ร้อยละ 4 แบ่งตามรายได้ (ต่อเดือน/ต่อครัวเรือน) 5,000-15,000 บาท ร้อยละ 37.4 15,001-30,000 บาท ร้อยละ 32.6 30,001-50,000 บาท ร้อยละ 17.2 มากกว่า 50,000 บาท ร้อยละ 10.9 และน้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 1.9 ซึ่งมีข้อค้นพบดังนี้ 

1.อัตราส่วนของผู้ที่ไม่มีรายได้ต่อผู้มีรายได้ ในปี 2566 อยู่ที่ 0.633 สูงขึ้นจากปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 0.461 ชี้ว่า อัตราการพึ่งพิงในครัวเรือนไทยเพิ่มสูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้มีภาระมากขึ้นในการต้องเลี้ยงดูผู้ไม่มีรายได้ 2.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.9 ไม่เก็บออมเงิน รองลงมา ร้อยละ 20.5 เก็บออมเท่าเดิม ร้อยละ 12.2 เก็บออมลดลง มีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้นที่เก็บออมมากขึ้น ขณะที่ในอีก 1 ปีข้างหน้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.6 ระบุว่า ไม่เก็บออมเงิน รองลงมา ร้อยละ 24.7 เก็บออมเท่าเดิม ร้อยละ 8 เก็บออมลดลง มีเพียงร้อยละ 1.7 เท่านั้นที่เก็บออมมากขึ้น

3.สัดส่วนค่าใช้จ่าย อันดับ 1 อาหาร/เครื่องดื่ม (ไม่นับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ร้อยละ 22.9 รองลงมา ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย ร้อยละ 12.5 อันดับ 3 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ร้อยละ 9.8 อันดับ 4 ของใช้ส่วนบุคคลในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 9.5 อันดับ 5 การศึกษา ร้อยละ 7.9 อันดับ 6 การสื่อสาร ร้อยละ 7.4 อันดับ 7 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ร้อยละ 7 อันดับ 8 การท่องเที่ยว ร้อยละ 6.7 อันดับ 9 ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 5.9 อันดับ 10 กิจกรรมทางศาสนา ร้อยละ 5.5 และอันดับ 11 การบันเทิง/งานพิธี/งานเลี้ยง ร้อยละ 5

4.ครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.8 รายรับน้อยกว่ารายจ่าย รองลงมา ร้อยละ 32 รายรับเท่ากับรายจ่าย มีเพียงร้อยละ 2.2 ที่รายรับมากกว่ารายจ่าย ทั้งนี้ เมื่อถามเป็นระดับบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.9 มีรายได้เพียงพอน้อยมากเพมื่อเทียบกับรายจ่าย รองลงมา ร้อยละ 33.5 ระบุว่า ไม่เพียงพอเลย อันดับ 3 ร้อยละ 14.8 เพียงพอน้อย อันดับ 4 ร้อยละ 12.4 เพียงพอปานกลาง อันดับ 5 ร้อยละ 2.1 และมีเพียงร้อยละ 0.2 ที่บอกว่าเพียงพอที่สุด

5.การรับมือกับสถานการณ์รายได้ไม่เพียงพอ อันดับ 1 กู้ยืมจากแหล่งต่างๆ ร้อยละ 41.7 รองลงมา ลดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 35 อันดับ 3 หารายได้เพิ่ม ร้อยละ 11.1 อันดับ 4 จำนำทรัพย์สิน ร้อยละ 6.6 อันดับ 5 นำเงินออมออกมาใช้ และอันดับ 6 ขายทรัพย์สิน ร้อยละ 1.4 ขณะที่รูปแบบการกู้ยืม อันดับ 1 กดเงินสดจากบัตรเครดิต ร้อยละ 29.2 รองลงมา กู้ธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 18.8 อันดับ 3 กู้ธนาคารเฉพาะกิจ อันดับ 4 กู้นายทุน ร้อยละ 9.9 อันดับ 5 กู้สหกรณ์ ร้อยละ 9.4 อันดับ 6 บริษัทสินเชื่อ ร้อยละ 8.9 อันดับ 7 กู้ยืมญาติพี่น้อง ร้อยละ 6.7 และนำเงินออมออกมาใช้ ร้อยละ 1

6.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.5 เห็นว่า ค่าครองชีพในปัจจุบันทำให้ความเป็นอยู่แย่ลงอย่างมาก รองลงมา ร้อยละ 35.8 ระบุว่า แย่ลงปานกลาง อันดับ 3 แย่ลงแต่ยังน้อย ร้อยละ 23.5 โดยมีเพียงร้อยละ 1.2 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่กระทบเลย 7.ความคิดเห็น 4 อันดับแรกว่าด้วยพฤติกรรมการใช้จ่าย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.3 มองว่า ตนเองไม่สามารถใช้จ่ายได้ตามแผนที่วางไว้ รองลงมา มีการวางแผนการใช้จ่าย ร้อยละ 68.5 อันดับ 3 ใช้จ่ายอย่างพอเพียง ร้อยละ 61.5 และอันดับ 4 ใช้จ่ายเกินตัว ร้อยละ 60.5

8.สถานการณ์หนี้สินในครัวเรือน ร้อยละ 54.7 ระบุว่า หนี้เพิ่มมากกว่ารายได้ รองลงมา ร้อยละ 41.9 หนี้เพิ่มเท่ากับรายได้ มีเพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่หนี้เพิ่มน้อยกว่ารายได้ โดยประเภทของหนี้ อันดับ 1 หนี้สินส่วนบุคคล (อุปโภค-บริโภค) ร้อยละ 62.1 อันดับ 2 บัตรเครดิต ร้อยละ 54.2 อันดับ 3 ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 32.8 อันดับ 4 ยานพาหนะ ร้อยละ 35.6 อันดับ 5 หนี้ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ร้อยละ 21.8 และอันดับ 6 หนี้ด้านการศึกษา ร้อยละ 5.4 

9.ความสามารถในการชำระหนี้ หากเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ร้อยละ 45.5 น้อย ร้อยละ 33.2 ปานกลาง ร้อยละ 17.4 ไม่สามารถชำระได้ และร้อยละ 3.9 มาก หากเป็นหนี้การศึกษา ร้อยละ 56.3 น้อย ร้อยละ 31.2 ปานกลาง ร้อยละ 8.3 ไม่สามารถชำระได้ และร้อยละ 4.2 มาก หากเป็นหนี้บัตรเครดิต ร้อยละ ร้อยละ 49.3 น้อย ร้อยละ 43.1 ปานกลาง ร้อยละ 5.6 ไม่สามารถชำระได้ และร้อยละ 2 มาก

หากเป็นหนี้ยานพาหนะ ร้อยละ ร้อยละ 46.7 น้อย ร้อยละ 45.1 ปานกลาง ร้อยละ 4.4 ไม่สามารถชำระได้ และร้อยละ 3.8 มาก หากเป็นหนี้ประกอบธุรกิจ ร้อยละ 50.5 น้อย ร้อยละ 42.7 ปานกลาง ร้อยละ 4.2 ไม่สามารถชำระได้ และร้อยละ 2.6 มาก และหากเป็นหนี้ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 55.8 ปานกลาง ร้อยละ 37.6 น้อย ร้อยละ 4.6 มาก และร้อยละ 2 ไม่สามารถชำระได้  10.กลุ่มตัวอย่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.6 เป็นหนี้ในระบบ รองลงมา ร้อยละ 10.2 เป็นหนี้นอกระบบ และร้อยละ 3.2 เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ

11.โดยภาพรวมหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ประมาณ 559,408.70 บาท โดยส่วนใหญ่ 80.2% บอกว่าเป็นหนี้ในระบบ และเป็นหนี้นอกระบบที่เหลือคือ 19.8% ขณะที่การผ่อนชำระต่อเดือน ในภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 16,742 บาท ในระบบประมาณ 12,012.70 บาท และนอกระบบ 4,712.50 บาท 12.ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น คือสาเหตุหลักที่กลุ่มตัวอย่างมองว่าส่งผลกระทบต่อภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 16.8 

รองลงมาซึ่งมาผู้ตอบในจำนวนใกล้เคียงกัน ที่ร้อยละ 16.2 มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.8 ตอบว่ารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และร้อยละ 12.9 ตอบว่า ลงทุนประกอบธุรกิจมากขึ้น 13.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.6 หรือกว่า 2 ใน 3 ยอมรับว่า เคยผิดนัดชำระหนี้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นกว่าการสำรวจเมื่อปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 65.9 ซึ่งสาเหตุสำคัญอันดับ 1 รายได้ลดลง ร้อยละ 48.2 อันดับ 2 เศรษฐกิจไม่ดี ร้อยละ 33.8 และอันดับ 3 ตกงาน ร้อยละ 10.6

14.สำหรับผู้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ทุกอย่างได้ทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.3 เลือกชำระหนี้ที่อยู่อาศัยก่อน รองลงมา ร้อยละ 26.8 หนี้ยานพาหนะ ร้อยละ 23.7 สินเชื่อส่วนบุคคล และร้อยละ 21.2 หนี้บัตรเครดิต 15.สาเหตุของปัญหาหนี้ครัวเรือน อันดับ 1 ร้อยละ 72.1 ขาดวินัยทางการเงิน เช่ร ไมได้ออมอย่างสม่ำเสมอ รองลงมา ร้อยละ 70.4 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย อันดับ 3 ร้อยละ 66.3 วางแผนการลงทุนผิดพลาด

16.การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 21.6 เสนอแนะว่า หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยตัว อันดับ 2 ให้ความรู้ในการบริหารหนี้ ร้อยละ 21.2 อันดับ 3 ให้ความรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่าย ร้อยละ 17.9 อันดับ 4 ฝึกอบรมวิชาชีพเพิ่มทักษะ ร้อยละ 16.4 อันดับ 5 ให้ความรู้เรื่องการใช้จ่ายอย่างพอเพียง ร้อยละ 11.6 อันดับ 6 เพิ่มสวัสดิการให้ผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 6.2 อันดับ 7 สถาบันการเงินควรคัดกรองการปล่อยกู้หรือจำกัดวงเงินปล่อยกู้ ร้อยละ 4.8 และอันดับ 8 อื่นๆ ร้อยละ 0.2

ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า ต้องยอมรับเศรษฐกิจไทยมีปัญหาตั้งแต่ช่วงปี 2562 จากสงครามการค้าซึ่งกระทบต่อการส่งออกทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ตามด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ช่วงปี 2563-2565 ที่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ หลายคนจึงมองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น หรือหากฟื้นก็ฟื้นแบบรูปตัวเค (K) ในภาษาอังกฤษ คือไม่ได้ฟื้นพร้อมกันทั้งหมด เช่น ปัจจุบันการส่งออกไม่ดีเพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ท่องเที่ยวและเกษตรกรกลับฟื้นตัวค่อนข้างดี ต่างจากปีก่อนที่ส่งออกดีแต่ท่องเที่ยวไม่ดี

นั่นทำให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไม่บรรเทาลง ยังมีปัญหาเรื่องราคาค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าในภาคครัวเรือนหรือภาคการผลิต ทำให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่ารายได้ลดลงแต่ต้นทุนสูงขึ้น รายได้ครัวเรือนจึงน้อยกว่ารายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และเมื่อรายได้ไม่เพียงพอ การออมในครัวเรือนก็ย่อมน้อยลงหรือแม้แต่ไม่มีการออม อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นโควิด-19 หรือสงครามการค้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิรัฐศาสตร์คลี่คลายลง ก็เชื่อว่าจะดีขึ้น

ทั้งนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือเจนวาย-เจนซี (Gen Y-Gen Z) เพราะเป็นประชากรกลุ่มที่นำเงินในอนาคตออกมาใช้ล่วงหน้าก่อนกันมาก จนเป็นภาพสะท้อน เช่น การใช้จ่ายไม่เป็นไปตามแผน หรือใช้จ่ายอย่างเกินตัว ดังนั้นการแก้ปัญหานี้ครัวเรือนจำเป็นต้องให้ความรู้ เพราะในการสำรวจข้างต้นพบว่า หลายคนใช้จ่ายไปด้วยความไม่รู้หรือไม่ได้วางแผน แต่อีกด้านหนึ่งก็สะท้อนการรักษาสภาพคล่องในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว หมายถึงเชื่อว่าในอนาคตเรายได้จะดีขึ้น แต่วันนี้ขอใช้จ่ายไปก่อน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ซิตี้ รีเสิร์ช ปรับลดจีดีพีไทยปี 68 เหลือ 2.2% ซิตี้ รีเสิร์ช ปรับลดจีดีพีไทยปี 68 เหลือ 2.2%
  • ttb analytics ชี้นโยบายการค้า Trump 2.0 สู่ ‘ยุคของการกีดกันทางการค้า’ ttb analytics ชี้นโยบายการค้า Trump 2.0 สู่ ‘ยุคของการกีดกันทางการค้า’
  • เม.ย.ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจวูบ เหตุกังวลภาวะเศรษฐกิจผันผวนหนัก เม.ย.ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจวูบ เหตุกังวลภาวะเศรษฐกิจผันผวนหนัก
  • ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจร่วง  หวั่นเศรษฐกิจไม่แน่นอน ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจร่วง หวั่นเศรษฐกิจไม่แน่นอน
  • พิชัย ถกผู้บริหาร Seagate เจรจาภาษีทรัมป์ พิชัย ถกผู้บริหาร Seagate เจรจาภาษีทรัมป์
  • กรุงศรีมองหุ้นไทยมีปัจจัยหนุน พร้อมเปิดตัว 3 กองทุน Thai ESGX กรุงศรีมองหุ้นไทยมีปัจจัยหนุน พร้อมเปิดตัว 3 กองทุน Thai ESGX
  •  

Breaking News

แอดมิทด่วน! 'เอ๊ะ จิรากร'เล่าประสบการณ์หัวใจเต้นผิดปกติ

'อนุสรณ์'แนะเปิดใจรับฟังเหตุผลงบรีโนเวตสภาฯ ไม่ใช่ตัดสินไปก่อน

ป่วนใต้หลายจุด! จุดไฟเผากล้อง-แขวนป้าย-วางวัตถุต้องสงสัย 3 อำเภอในยะลา

'ทวี'เผย'กกต.'ประสาน'ดีเอสไอ'แปะหมายเรียกหน้าบ้าน 6 สว. คดีฮั้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved