วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
3,909 'วิทยุชุมชน'ผวา! 'กสทช.'เตรียมยกเครื่อง แผนความถี่ ใบอนุญาต

3,909 'วิทยุชุมชน'ผวา! 'กสทช.'เตรียมยกเครื่อง แผนความถี่ ใบอนุญาต

วันอังคาร ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566, 15.06 น.
Tag : วิทยุดิจิทัล คมนาคม กสทช. วิทยุชุมชน
  •  

3,909  “วิทยุชุมชน” ผวา!!!  “กสทช.” เตรียมยกเครื่อง แผนความถี่ ใบอนุญาต วิทยุชุมชน   พร้อมรวบข้อเสนอ ประชาพิจารณ์ ครบ 4 ภาค เคาะร่างประกาศฯไตรมาส 2 ปีหน้า หวั่นหมดทางทำมาหากิน วอน รัฐออกนโยบายให้ชัด ก่อนเปลี่ยนผ่านสู่ระบบไลเซ่นส์ -  วิทยุดิจิทัล  จี้ รัฐสนับสนุนงบประมาณ เปลี่ยนทั้งเครื่องส่ง - เครื่องรับสัญญาณ   

พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการกระจายเสียง เปิดเผยว่า  ปัจจุบัน สถานีวิทยุหน่วยงานรัฐที่ได้รับสัมปทานมีอยู่ จำนวน 313 สถานี และสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ ที่ได้รับใบอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง คราวละ 1 ปี โดยมีการต่ออายุใบอนุญาต จำนวน 3,909 สถานี ซึ่งบอร์ดชุดที่มี พันเอกนที ศุกลรัตน์ เป็นรองประธาน กสทช. ที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้ได้ ตามกฏหมายจะต้องสิ้นสุดอายุการทดลองออกอากาศไปตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว และมีการขยายเวลาออกไปสิ้นสุดตั้งแต่ เม.ย.2565 ซึ่งก็ได้ขยายเวลาทดลองออกอากาศไปสิ้นสุดในปีหน้า  เดือน ธ.ค.2567


 “วิทยุกระจายเสียงหลักๆ วิทยุกระจายเสียงที่หน่วยงานรัฐได้รับสัมปทาน มีอยู่ 313  สถานี มันสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ไลเซ่นส์ได้เค้าก็เลยให้ วิทยุ ที่เป็นสาธารณะ ขอไลเซ่สน์ วิทยุ ที่ไม่ใช่สาธารณะ เช่น อสมท. นำคลื่นมาประมูล แล้วก็ วิทยุชุมชน 3,909 สถานี้ หลังจากไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่องการอนุญาต เรื่องเนื้อหา และเทคนิค เรื่องที่ผู้ประกอบการเป็นกังวลมากที่สุด คือหลังปี 2567 เค้าจะได้ออกอากาศมั้ย เรื่องนี้คือต้นตอของปัญหา ทำไม กสทช.ชุดที่แล้วถึงแก้ปัญหานี้ไม่ได้ ปัญหาหลัก กิจการวิทยุ ไม่ว่าจะ เป็น สาธารณะ ชุมชน และธุรกิจ คลื่นไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ประกอบการ มองในเชิงเทคนิค มีความกังวลว่าทำไมถึงให้ไลเซ่นส์ไม่ได เพราะว่าถ้าดูตาม กฏหมาย พ.ร.บ.กสทช. กสทช.จะอนุญาตให้ผู้ประกอบการ นั้น จะต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อผู้ที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว อันนี้คือคุยกันมาแล้ว คือต้นตอของปัญหากสทช.จะอนุญาตให้อย่างไรไม่เกิดการรบกวนต่อผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวิทยุหลัก ที่เค้าได้รับอนุญาตแล้ว” กสทช.ธนพันธุ์ กล่าว   

ดังนั้นปัญหาที่จะเจอแน่นอน คืออนาคตผู้ประกอบการจะเป็นอย่างงัย ผมไม่ได้ทำแล้วผมจะเอาอะไรกิน สถานีผมมีคนอย่างน้อย 5-10 คน ครอบครัว อันนี้คือปัญหา เมื่อมาฟังปัญหาแล้ว ถ้าในเชิงเทคนิคจริงๆ กสทช.ได้ทำการจำลองในมาตรฐานสากลอย่างเป็นทางการ และ กสทช.ได้รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) แล้ว  แผนคลื่นความถี่สำหรับวิทยุทดลองออกอากาศ ไปทำมาแล้วว่า มี 2  ตัวเลือก คือ1.สามารถให้ไลเซ่นส์ได้จำนวน 700 สถานี ภายใต้เงื่อนไข และไม่มีการรบกวนคลื่นความถี่ 2. สามารถให้ไลเซ่นส์ได้ 2,800 สถานี ภายใต้เงื่อนไข ไลเซ่นส์ใหม่ แต่อาจจะเกิดการรบกวนซึ่งกันและกันได้ แต่อันนี้ถือว่าไม่ผิดกฏหมาย เพราะจะไม่รวบกวน มีกำลังวัตต์ส่ง 100 วัตต์ ใช้เทคโนโลยีเดิม สิ่งที่ กสทช.จะอนุญาตโดยถูกกฏหมาย

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน วิทยุสาธารณะได้ยื่นขอรับใบอนุญาตไปแล้ว จำนวน  238 สถานี ซึ่งจะสิ้นสุดไลเซ่นส์ 5 ปี เม.ย. 2570 ส่วนวิทยุประเภทธุรกิจ ประมูลไป 68 สถานี ได้รับไลเซ่นส์ ถึง เม.ย.2572 แต่ในขณะเดียวกันวิทยุที่ได้รับอนุญาตทดลองออกอากาศ 3,909 สถานี สิ้นสุดการอนุญาตออกอากาศ ธ.ค.2567 

ทั้งนี้ได้ให้สำนักงาน กสทช. ไปทำการศึกษาการเปลี่ยนวิทยุระบบอะนาล็อคไปสู่ระบบดิจิทัล   2  ประเด็น คือ 1. สำรวจความต้องการในการเข้าสู่ระบบวิทยุกระจายเสียงแบบดิจิทัล และให้ไปทำการศึกษาต้นทุนในการทำวิทยุกระจายเสียงแบบดิจิทัล เพื่อให้มาเป้นตัวเลือกสำหรับผู้ที่อาจไม่ได้รับอนุญาต และยังมีความสนใจในการทำวิทยุต่อไป  2. ค่าใช้จ่ายเรื่องราคาไลเซ่นส์ และการสนับสนุนเครื่องรับสัญญาณ 

“ถ้างั้นไม่มีใครเข้าสู่ดิจิทัล ทำไมไม่เสนอไปพร้อมกันเลยอันนี้คือสิ่งที่ปรึกษาเสนอมา และสรุปสุดท้ายเป็นนโยบายของรัฐมั้ยที่อยากจะให้มี เมื่อผู้ประกอบการเริ่มจะเข้าใจ ที่อยากให้ กสทช.สนับสนุนมาให้ชัด ถ้าเกิดสนใจ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แพงมั้ย และจะอยู่ได้มั้ย ไปๆ มาๆ ปัญหา ค่าใช้จ่าย และการสนับสนุน เครื่องรับ เพราะมองว่าถ้าออกอากาศไป ไม่มีคนฟัง คนฟังไม่ได้เพราะไม่มีวิทยุดิจิทัล เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นปัญหาที่ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนกรณีเครื่องรับ รัฐจะมีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร ตอนนี้รัฐมุ่งไปสู่บอร์ดแบนด์ สู่อินเทอร์เน็ต แต่รัฐสามารถทำให้ทุกคนเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแบบฟรี ได้มั้ย กสทช.และรัฐ มีนโยบาย ที่จะทำให้สื่อวิทยุสาธารณะ ฟังได้ฟรีหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างงั้นก็จะต้องสนับสนุนพัฒนาให้เกิดต่อไป แต่ถ้าเกิด กสทช.หรือรัฐ คิดว่าไม่ ก็ไม่ต้องทำ ประชาชนที่อินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึง แต่ถึงเข้าถึง ก็รับไม่ได้” 

อย่างไรก็ตามที่ปรึกษา กสทช.ได้สรุปแผนการดำเนินการ ประกอบด้วย  แผนที่ 1 กสทช.อยากให้สื่อวิทยุดิจิทัล เกิด เสนอมา 2 ทางเลือก คือ ต้องมีคนสร้างโครงข่ายวิทยุดิจิทัล  ถ้ารัฐส่งเสริมสนับสนุนนี้จริง ภายใน 3 ปี ลงทุนประมาณ 1,000 และครอบคลุม 60% รัฐสนับสนุนโดยตรง 2.รัฐอาจจะยังไม่มีเงิน ก็ต้องเป็นแนวทางลองดู ผู้ประกอบการโครงข่าย ประมูลไลเซ่นส์  ให้ไลเซ่สน์ ขึ้นอยู่ว่าจะมีผู้ประกอบการสนับสนุนหรือไม่ 

“ยากกว่าดาวเทียมอีก การเปลี่ยนผ่านวิทยุสัมปทานไปสู่ระบบไลเซ่นส์ กับปัญหาด้านเทคนิค เราจะเปลี่ยนเป็นดิจิทัล ยังเป็นอะนาล็อคอยู่เลย ที่ปรึกษาก็บอกว่า 3 ปี ลงทุน 1,000 ล้าน คือผู้ให้บริการโครงข่าย (มัค) รายเดียว เดือนหน้า จะสรุปข้อเสนอของที่ปรึกษา เพื่อไปโฟกัสกรุ๊ป 4 ภาค และปีหน้าเตรียมออกร่างประกาศ ก่อนที่จะสิ้นสุดอายุ ออกประกาศฯ ภายในปีหน้าไตรมาส 2/67” 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 เพิ่มโอกาสเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 เพิ่มโอกาสเศรษฐกิจของประเทศ
  • มนพร เร่งพัฒนา ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3   ให้เสร็จตามแผน รับยุทธศาสตร์ยกระดับEEC มนพร เร่งพัฒนา ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ให้เสร็จตามแผน รับยุทธศาสตร์ยกระดับEEC
  • สุริยะ หารือ มาเลเซีย ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง สุริยะ หารือ มาเลเซีย ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง
  • 1 พ.ค.นี้!! บขส.”อัพเดทตารางเดินรถโดยสารเส้นทางภายใน – ระหว่างประเทศ ให้บริการ 71 เส้นทาง 269 1 พ.ค.นี้!! บขส.”อัพเดทตารางเดินรถโดยสารเส้นทางภายใน – ระหว่างประเทศ ให้บริการ 71 เส้นทาง 269
  • สุริยะ สั่งรื้อระบบบำรุงรักษาสะพาน 17,500 แห่ง สุริยะ สั่งรื้อระบบบำรุงรักษาสะพาน 17,500 แห่ง
  • เปิดโครงการขนส่งสัญจรสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ จังหวัดสกลนคร เปิดโครงการขนส่งสัญจรสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ จังหวัดสกลนคร
  •  

Breaking News

'ขอนแก่น'คึกคัก! ปชช.แห่ใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น คาดยอดทะลุ 70%

'เมย์ วาสนา'เผยเหตุผลส่งพวงหรีด ร่วมอาลัยในงานศพคุณพ่อ'ดิว อริสรา'

‘อนุสรณ์’ชี้ปชช.เสียประโยชน์หากร่างงบฯ69ถูกคว่ำ มั่นใจผ่านสภาฯ ย้ำรบ.มีเสถียรภาพ

เปล่าคว่ำงบฯปี69! ‘ภท.’ ยันไร้เหตุไม่หนุนประโยชน์ประชาชน-พัฒนาชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved