วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เอกชนชี้ปัญหาไฟแพง ‘ส่งออก-ลงทุน’หมดทางสู้คู่แข่ง

เอกชนชี้ปัญหาไฟแพง ‘ส่งออก-ลงทุน’หมดทางสู้คู่แข่ง

วันพฤหัสบดี ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567, 06.00 น.
Tag : ไฟแพง
  •  

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน Thailand Energy Executive Forum พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ว่า พลังงานถือเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต รวมไปถึงเรื่องเกษตรโดยจะต้องใช้พลังงานในการดึงน้ำจากภาคการเกษตร รัฐบาลได้มีการหารือกับกัมพูชา เรื่อง คือ OCA หรือพื้นที่ทับซ้อน โดยขอแบ่งเป็น 2 ส่วนคือพื้นที่ทับซ้อนกับเรื่องของขุมทรัพย์ที่อยู่ใต้ทะเล เรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยกันแลกเปลี่ยนกันซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับเรื่องนี้และจะพยายามนำสินทรัพย์เช่นนี้ออกไปใช้ได้เร็วที่สุด

ทั้งนี้เรื่องค่าพลังงาน มีการสอบถามกันมาว่ามีกลไกอะไรบ้าง สามารถทำอะไรได้บ้างทั้งค่า PPA (ข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้าเป็นข้อตกลงระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการด้านพลังงาน) การขอใช้ grid electrical (เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่าย ไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆไปยังผู้บริโภค) ของโรงงานไฟฟ้าในปัจจุบัน กลไกตลาดจะไม่สามารถทำได้ พลังงานที่ผลิตขึ้นมาจะต้องมีผู้จ่ายอยู่ดีซึ่งอาจจะเป็นเงินของพวกเราทุกคนที่โอนกลับไปจ่ายให้กับผู้ผลิต ทำให้ต้องเก็บเงินกลับคืนอยู่ดีแต่ความเชื่อมั่น และความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้การทุบโดยไม่ต้องสนใจกลไกของการตลาด จะทำให้เกิดรัฐประหารทางเศรษฐกิจ


ด้าน นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานเสวนาเดียวกัน ในหัวข้อทิศทางพลังงานไทยปี 2567 ว่าใน 46 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ ส.อ.ท.รับผิดชอบอยู่นั้นกว่า 50% คือผู้ประกอบ SME ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ยังไม่ได้มีการปรับตัวกับการใช้พลังงานใหม่ ดังนั้น ค่าแรง และ ค่าไฟฟ้า จึงยังคงกลายเป็นต้นทุนในการแข่งขัน รัฐบาลจึงควรทำให้ต้นทุนเหล่านี้ถูกลง ขณะที่เวียดนาม อินโดนีเซีย มีต้นทุนที่ถูกกว่าและกลายเป็นแรงดึงดูดให้มีการย้ายฐานการผลิต ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ปี 2566 ระบุว่า ค่าไฟฟ้าของประเทศไทยยังสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ในภูมิภาค จึงควรมีการปรับโครงสร้าง โดยประเทศไทยประกาศค่าไฟเดือน ม.ค.-เม.ย. 2567 อยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย ขณะที่เมียนมา อยู่ที่ 2.79 บาท/หน่วย,เวียดนาม 2.67 บาท/หน่วย และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 2.52 บาท/หน่วย ประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติถึง 57.80% ดังนั้นหากพื้นที่เอราวัณสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามเป้าหมายก็เป็นข่าวดีที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะลดลงและหวังว่าจะสามารถสู้กับเวียดนามได้

สำหรับแผนในการเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาดนั้น จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรมมาก เนื่องจากประเทศต่างๆ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน มีกฎระเบียบด้านการใช้พลังงานสะอาดกับ 5 อุตสาหกรรมนำร่อง คือ เหล็ก ปุ๋ย อะลูมิเนียม ซีเมนต์ และไฟฟ้า เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด นอกจากนี้ในปี 2569 จะมีการประกาศเพิ่มอีก 5 อุตสาหกรรมและที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงจีน จะมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นของประเทศตนเองอีกด้วยภาคอุตสาหกรรมที่มีการส่งออก กว่า 60% มีลูกค้าหลักในยุโรป และสหรัฐอเมริกา หากไม่มุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาดต้องถูกปรับแน่นอน การใช้พลังงานสะอาดโดยเฉพาะในอุตสาหกรรม S-Curve และ EV ต้องมีการยกระดับทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ด้านการลงทุน ส.อ.ท.มีการหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการเร่งหาเงินทุน หรือกรีน ไฟแนนซ์ ให้ SME ในการเปลี่ยนเครื่องจักรเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งพบว่าการที่แต่ละประเทศจะเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดนั้นต้องใช้เงินปีละแสนล้านเหรียญสหรัฐ

ด้านนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ราคาพลังงานในปี 2567 นั้นจะลดลง โดยราคาน้ำมันจะอยู่ในกรอบ 75-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และปริมาณการใช้จะอยู่ที่ 103 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่อยู่ที่ 101-102 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติก็จะลดลงมาอยู่ในกรอบ 7-12 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะเกิดการปะทุความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศขึ้นมาอีก รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของโลก สภาพภูมิอากาศในแหล่งผลิต และการเปลี่ยนผ่านทางด้านพลังงาน

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปี 2566 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะภาคไฟฟ้า ยอดการใช้ไฟฟ้าทะลุ 2 แสนหน่วย ถือว่ามากที่สุด ปัจจัยการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเวลากลางคืนมีนัยสำคัญมาจาก 1.การใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือน เมื่อกลับมาถึงบ้าน ด้วยความร้อนระหว่างวันทำให้อุณหภูมิในห้องอบอ้าว 2.การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีปริมาณสูงเกือบ 5 เท่า จากตัวเลขการจดทะเบียน 1 แสนคัน ที่นิยมชาร์จไฟฟ้าในเวลากลางคืน และ 3.การติดแผงโซลาร์ ซึ่งสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เฉพาะในเวลากลางวัน ดังนั้น การใช้ไฟของ 3 การไฟฟ้าจึงสูงเวลากลางคืน ส่วนประเด็นที่เวียดนามและอินโดนีเซียราคาค่าไฟถูกกว่าประเทศไทย ต้องยอมรับว่าทั้ง2 ประเทศใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า อีกทั้งเวียดนามมีพลังงานน้ำ แต่ต้องแลกกับปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งไทยเน้นความสมดุล 3 เรื่อง ไทยมีเขื่อนใหญ่กำลังการผลิตราว 2,900 เมกะวัตต์ ถือว่าไม่มาก กฟผ.จะต้องบริหารจัดการน้ำในเขื่อน เพราะต้องคำนึงถึงท้ายเขื่อนที่ต้องรับน้ำ ดังนั้น ไทยจะเน้นการบริหารจัดการน้ำก่อนการผลิตไฟฟ้า

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

เริ่มแล้ว!!! การแข่งขันเรือใบ Trat Regatta 2025 ระดับนานาชาติครั้งแรกในจังหวัดตราด

'โฆษก​ มท.'แจงแล้ว! ​ปมเรียก​สรรพนาม'คุณลูกค้า'แทน'คุณลุง​-​คุณป้า'

ด่วน!เปิดชื่อ 55 สว. เรียกรับทราบข้อหาปม'คดีฮั้ว' แบ่งเป็น 3 ลอต

ชั้น 14 ส่อวุ่นอีก!!! 'รพ.ราชทัณฑ์'เล็งฟ้องศาลเพิกถอนมติ'แพทยสภา'

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved