วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
‘สศอ.’ แนะภาคอุตสาหกรรมไทยรับมือ ‘Trump 2.0’

‘สศอ.’ แนะภาคอุตสาหกรรมไทยรับมือ ‘Trump 2.0’

วันพุธ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568, 14.58 น.
Tag : อุตสาหกรรม สศอ. ทรัมป์
  •  

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้วิเคราะห์แนวโน้มและผลกระทบจากนโยบายสำคัญของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2568 ภายใต้การบริหารประเทศในสมัยที่สองหรือที่เรียกว่า “Trump 2.0” ซึ่งมีนโยบายจะทำให้สหรัฐฯ กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง (Make American Greater Again) และ American First ที่มุ่งเน้นรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ภายหลังจากสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการแถลงและลงนามในนโยบายก้าวแรกหลายประเด็น โดยเมื่อพิจารณาแล้วมีประเด็นที่สำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมของไทย อาทิ การลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงาน และแนวทาง ด้านอุตสาหกรรมอวกาศ รวมทั้งการขึ้นภาษีศุลกากร เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องปรับตัวยกระดับศักยภาพการผลิตสินค้าไทยให้มีความพร้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตของสหรัฐฯ ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ประเด็นแรกที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้ง “Stargate” บริษัทร่วมทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับโอเพ่นเอไอ (OpenAI) ซอฟต์แบงก์ (Softbank) และออราเคิล (Oracle) มูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี AI คาดว่าจะส่งผลให้เกิดอุปสงค์ต่ออุตสาหกรรมโดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง นับว่าเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไทยมีความชำนาญและมีการส่งออกหลักไปยังสหรัฐฯ แสดงถึงความเชื่อถือของสหรัฐฯ ที่มีต่อสินค้าเหล่านี้จากไทยด้วย นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยี AI ของสตาร์เกตยังมีการมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งจะช่วยยกระดับการรักษาพยาบาลและการแพทย์ของโลก ส่งผลดีต่อการพัฒนาเป็น Medical Hub ของไทยอีกด้วย


ประเด็นที่สำคัญถัดมา ได้แก่ การถอนตัวจากข้อตกลงปารีสและการปลดล็อกข้อจำกัดด้านการผลิตพลังงานฟอสซิล โดยมีเป้าหมายจะทำให้ราคาน้ำมันและพลังงานลดลง ในส่วนนี้ สศอ. มองว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยที่คาดว่าจะได้อานิสงส์ในทางตรง ได้แก่ อุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมันและการผลิตปิโตรเลียม สำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่น่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ปิโตรเคมี ปุ๋ยและเคมีเกษตร ปูนซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ พลังงานไฟฟ้า เยื่อกระดาษและกระดาษ ขณะเดียวกัน การเน้นพลังงานฟอสซิลของสหรัฐฯ รวมทั้งการลงนามเพิกถอนคำสั่งบริหารในประเด็นเป้าหมาย “การจำหน่ายรถยนต์ใหม่ร้อยละ 50 จากทั้งหมด ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในปี พ.ศ. 2573” ที่ลงนามโดยประธานาธิบดี ไบเดน จะเป็นโอกาสให้อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานสันดาป (ICE) ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกยานยนต์ที่สำคัญของโลก (ในปี 2566 อยู่ที่อันดับ 10 ของโลก) และมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์ ICE ดังนั้น นโยบาย Trump 2.0 น่าจะส่งผลทางบวกต่อห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมนี้ของไทยและช่วยให้การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สหรัฐฯ ประกาศจะเพิ่มภาษีศุลกากรสินค้าจากแคนาดาและเม็กซิโกขึ้นเป็น 25% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 68 โดยสินค้าหลักที่สหรัฐฯ นำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก คือ รถยนต์นั่งและชิ้นส่วนยานยนต์ (ปี 2566 สหรัฐฯ นำเข้ารถยนต์นั่งและชิ้นส่วนยานยนต์จากแคนาดาและเม็กซิโกเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.25 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งจะเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่จะส่งออกไปทดแทนในระยะถัดไป เช่นเดียวกันกับจีนที่สหรัฐฯ พิจารณาปรับภาษีจากเดิมเพิ่มอีก 10% (อัตราภาษีเดิมอยู่ที่ 7.5-25%) โดยปี 2566 ที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีการนำเข้าหม้อสะสมไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบจากไทยเพิ่มขึ้นทดแทนการนำเข้าจากจีน นับเป็นโอกาสของประเทศไทยที่สหรัฐฯ มีความต้องการนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าอื่น รวมถึงไทยเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยสินค้าจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ ตลอดจนอาจเป็นโอกาสให้มีการย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพิ่มขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าดังกล่าว

สำหรับความท้าทายของไทยที่อาจจะถูกเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่ (1) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (2) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (3) ผลิตภัณฑ์ยาง (4) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และ (5) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ โดยภาคการผลิตไทยอาจแสวงหาช่องทางขยายฐานการตลาดใหม่เพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และสร้างโอกาสทางการค้าใหม่ในตลาดโลก

ประเด็นสุดท้าย เป็นการดำเนินการในระยะยาวที่อาจจะยังไม่ได้เห็นภาพชัดเจนในขณะนี้ ได้แก่ การประกาศนำธงชาติสหรัฐฯ ไปปักบนดาวอังคาร ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ จะกลับเข้าสู่การแข่งขันด้านอวกาศอีกครั้ง ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการทรัพยากร และ Supply Chain ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยประเทศไทยสามารถเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ดังกล่าวได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ข้อขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการติดตามนโยบายสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดที่อาจมีต่อภาคอุตสาหกรรมไทยต่อไป

“Trump 2.0 นำมาทั้งโอกาสและความท้าทายต่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย การเตรียมพร้อมเชิงนโยบายและการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ไทยเป็นฐานการส่งออกสินค้าหลักของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างวางแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเทคโนโลยีและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สะท้อนโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าอุตสาหกรรมไทยในเวทีการค้าโลก” นายภาสกร กล่าว

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • สศอ. ผนึก มว. - เอกชน เปิดตัว ‘เครื่องวิเคราะห์เครื่องช่วยหายใจ รุ่น VA-01’ สศอ. ผนึก มว. - เอกชน เปิดตัว ‘เครื่องวิเคราะห์เครื่องช่วยหายใจ รุ่น VA-01’
  • อีสท์ วอเตอร์ ตั้งกรรมการใหม่เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจน้ำสู่ความยั่งยืน อีสท์ วอเตอร์ ตั้งกรรมการใหม่เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจน้ำสู่ความยั่งยืน
  • ‘พาณิชย์’ ขับเคลื่อนการค้าด้วยเทคโนโลยี พร้อมรับมือนโยบายการค้าสหรัฐฯ ‘พาณิชย์’ ขับเคลื่อนการค้าด้วยเทคโนโลยี พร้อมรับมือนโยบายการค้าสหรัฐฯ
  • อุตฯร่วมมือ KTR ยกระดับเทคโนโลยีการผลิต อุตฯร่วมมือ KTR ยกระดับเทคโนโลยีการผลิต
  • จับตาความเสี่ยงของสงครามการค้าและค่าแรงที่สูงขึ้นต่อธุรกิจกุ้งไทย จับตาความเสี่ยงของสงครามการค้าและค่าแรงที่สูงขึ้นต่อธุรกิจกุ้งไทย
  • อุตฯ เร่งยกเลิกเตา IF หลังได้ผู้ทรงคุณวุฒิ กมอ.ชุดใหม่ อุตฯ เร่งยกเลิกเตา IF หลังได้ผู้ทรงคุณวุฒิ กมอ.ชุดใหม่
  •  

Breaking News

มิตรภาพแน่นแฟ้น! 'ปูติน-สี จิ้นผิง'ร่วมชมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะ

อดทนต่อคำปรามาส! 'นิพิฏฐ์'ขอบคุณทุกฝ่าย ยืนหยัดต่อสู้'คดีชั้น 14'

มาแล้ว! กรมอุตุฯคาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 9-15 พ.ค.68

(คลิป) แนวหน้าTAlk : 'กูพูดไม่ได้' ย้อนอดีตเพื่อนรัก สุรนันทน์ ถึง บุญทรง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved