วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
คลังหวัง 5 ปัจจัยดันเศรษฐกิจไทยโตเกิน 3%

คลังหวัง 5 ปัจจัยดันเศรษฐกิจไทยโตเกิน 3%

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568, 12.50 น.
Tag : คลัง เศรษฐกิจไทย
  •  

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.5% (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.3 ถึง 2.8%) ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวที่ 1.9% ต่อปี โดยได้แรงสนับสนุนหลักจาก 1.การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเท่ากับ 35.5 ล้านคน 2. การบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัว 4.7% (ช่วงคาดการณ์ที่ 4.5 ถึง 5.0%) ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นและความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น และ 3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐตามเกณฑ์สถิติดุลการชำระเงิน (Balance of Payments: BOP) ที่คาดว่าจะขยายตัว 5.9% (ช่วงคาดการณ์ที่ 5.7 ถึง 6.2%)

สำหรับการบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 0.6% (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.4 ถึง 0.9%) และการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 2.1% (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.9 ถึง 2.4%) อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าหดตัวที่ -2.7% (ช่วงคาดการณ์ที่ -3.0 ถึง -2.5%) เนื่องจากการหดตัวของการลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือโดยเป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์สันดาปที่ลดลง ประกอบกับการเข้าถึงสินเชื่อที่ยากทำให้ผู้ประกอบการยังชะลอการตัดสินใจลงทุน ซึ่งต้องจับตาการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างใกล้ชิดในระยะต่อไป


ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.4% (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.2 ถึง 0.7%)  เนื่องจากราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวลดลง สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะเกินดุล 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2% ของ GDP

ในปี 2568 กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 3% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.5–3.5%) โดยมี 4 ปัจจัยบวกหลัก ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.3% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.8 ถึง 3.8%) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวดีต่อเนื่องมูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว 4.4% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 3.9 ถึง 4.9%) สอดคล้องกับความต้องการสินค้าของตลาดโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะยังขยายตัวต่อเนื่อง ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 38.5 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนรายได้จากการท่องเที่ยวและส่งเสริมภาคบริการและภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง

นายพรชัย กล่าวว่า การลงทุนในปี 2568 จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์สำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1. การลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.2 ถึง 3.2%) จากการเร่งดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยบีโอไอ ซึ่งมีมูลค่าขอรับการส่งเสริมสูงกว่า 1.14 ล้านล้านบาทในปี 2567 และมีโครงการยื่นขอส่งเสริมกว่า 3,100 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะทยอยลงทุนจริงภายใน 1–4 ปี หลังการอนุมัติ และ 2. การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.4% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.9 ถึง 3.9%) จากความต่อเนื่องในการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนและการเร่งรัดโครงการสำคัญเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระตุ้นการลงทุนต่อเนื่องในภาคเอกชน นอกจากนี้ แรงหนุนจากเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2568 ยังส่งผลให้การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวที่ 1.3% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.8 ถึง 1.8%)

ด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.9% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.4 ถึง 1.4%) เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าตามอุปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวดี ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 13.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 2.4% ของ GDP (ช่วงคาดการณ์ที่ 1.9 ถึง 2.9% ของ GDP) สะท้อนถึงศักยภาพที่เข้มแข็งของภาคต่างประเทศ และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

นายพรชัย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีโอกาสขยายตัวได้สูงกว่า 3 % หากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศเอื้ออำนวยรวมถึงมีการเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินของนโยบายต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ดังนี้ 1. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2568 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายของประชาชนผู้ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (ระยะที่ 3) เพื่อทำให้เม็ดเงินทั้งหมดถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่และทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากที่สุด

3. การเร่งรัดการลงทุนในโครงการบ้านเพื่อคนไทยเพื่อให้เกิดการลงทุนตามแผนงาน 4. การกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและช่วงปลายปีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 และ 5. การเร่งรัดโครงการการลงทุนของภาคเอกชนหลังได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Data Center และ Cloud Region เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนจริงสู่ระบบเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งหากสามารถผลักดันแนวทางการเร่งรัดได้เต็มศักยภาพแล้ว คาดว่าจะเพิ่มอัตราการขยายตัวได้อีก 0.5% ทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ถึง 3.5% ตามกรอบบนของช่วงคาดการณ์

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตที่เข้มแข็ง (Resilient Growth)ของประเทศไทยในปี 2568 โดยใช้เครื่องมือทางการคลังอย่างเต็มศักยภาพเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินในระดับครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเดินหน้าผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจการเงิน (Financial Hub) เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม ยังควรติดตามปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ 1. แนวทางนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ของประเทศต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ 2. การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มขึ้นกับผลกระทบต่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมไทย     3. ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย 4. ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในหลายภูมิภาคที่อาจสร้างความผันผวนและจำกัดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย และ 5.ปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจของไทย ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อและการใช้จ่ายในระยะต่อไป

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2  มาแล้ว!! โครงการคุณสู้ เราช่วย ระยะที่ 2 มาแล้ว!!
  • ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง ปัจจัยเสี่ยงกดดัน ศก. ธุรกิจชะลอลงทุนตุนสภาพคล่อง
  • คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา คลัง ถกเอกชน รับมือ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา
  • ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank ธปท. เคาะ 3 กลุ่มทุนฯ ตั้ง Virtual Bank
  • สบน.-ก.ล.ต.ออกกฏหมายลูกรองรับ G-Token วงเงิน5พันล้าน สบน.-ก.ล.ต.ออกกฏหมายลูกรองรับ G-Token วงเงิน5พันล้าน
  • คลังลงพื้นที่โครงการปรับปรุงท่าเรือภูเก็ต-โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุ จ.ภูเก็ต คลังลงพื้นที่โครงการปรับปรุงท่าเรือภูเก็ต-โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุ จ.ภูเก็ต
  •  

Breaking News

วัดแทบแตก! ครอบครัวฝรั่งหัวใจพุทธ สร้างวัด-แจกไข่ไก่ชาวบ้าน

(คลิป) เคลียร์ชัด!! ไทกร เปิดดีลลับตั้งนายก ตีแผ่หมดเปลือก ใครเป็นใคร!!

ช่อง 7HD ชวนกรี๊ด ร่วมเกาะติดบรรยากาศสดจากงานบวงสรวง ซีรีส์ชุดฟอร์มยักษ์ '4 Element บ้านวาทินวณิช'

'รังสิมันต์'เผย'นายกฯ-กต.'ให้ความร่วมมือน้อย! หลังไม่แจง กมธ.มั่นคงฯ ปมคลิปเสียง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved