วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
Aluminium Loop  ชูระบบ Closed Loop  หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างต้นแบบยั่งยืนระดับโลก

Aluminium Loop ชูระบบ Closed Loop หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างต้นแบบยั่งยืนระดับโลก

วันอังคาร ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 17.16 น.
Tag : เศรษฐกิจหมุนเวียน อลุูมิเนียม
  •  

‘Aluminium Loop’ (อลูมิเนียม ลูป) ผนึกกำลังพันธมิตรปฏิวัติวงจรรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ด้วยระบบรีไซเคิล Closed Loop รายแรกของไทย จากกระป๋องเก่าสู่กระป๋องใหม่หมุนวนไม่สิ้นสุด ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดพลังงานในการผลิต และลดการปล่อยคาร์บอน มุ่งสู่การเป็นบรรจุภัณฑ์ Net Zero ส่งต่อความความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้าน ภวินท์ ชยาวิวัฒน์กุล ผู้ก่อตั้งโครงการ ตั้งเป้าเก็บกลับบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใช้แล้วปีนี้ 800 ล้านใบ และเป้าหมายใหญ่ 5,000 ล้านใบ ครอบคลุมความต้องการใช้งานทั้งประเทศให้เข้าสู่ระบบ Aluminium Loop พร้อมมุ่งขับเคลื่อนวงจรรีไซเคิลไทยเป็นต้นแบบยั่งยืนระดับโลก

นายภวินท์ ชยาวิวัฒน์กุล ผู้ก่อตั้งโครงการ Aluminium Loop และรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า Aluminium Loop เป็นโครงการที่ตอบรับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลก โดยปฏิวัติวงจรการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในประเทศไทยด้วยการพัฒนาระบบรีไซเคิลแบบวงจรปิด (Closed Loop) ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่สามารถทำซ้ำแบบไม่มีสิ้นสุด โดยคุณภาพของบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมยังคงเดิม นับเป็นรายแรกของประเทศไทยที่สามารถทำได้ครบวงจร ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของประเทศให้แข็งแกร่งและยั่งยืน


“ผมมุ่งมั่นและให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืนที่กำลังเป็นมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของโลกยุคใหม่ จึงได้เริ่มโครงการ Aluminium Loop เพื่อให้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมไม่เพียงตอบโจทย์การเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่สามารถรีไซเคิลได้ แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดปัญหาขยะหลังการบริโภค และลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ด้วยการคิดค้นและพัฒนาระบบรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมแบบครบวงจร ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโมเดลที่ก้าวล้ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง รวมถึงช่วยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” นายภวินท์ กล่าว

ขณะที่กระบวนการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมแบบครบวงจร ปัจจุบันในภูมิภาคเอเชีย มีเพียง 4 ประเทศที่สามารถดำเนินการได้ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพที่โดดเด่น เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยสำหรับ การรีไซเคิลแบบวงจรปิด อีกทั้งยังมีการสร้างความร่วมมือจากพันธมิตรรายสำคัญที่ช่วยให้โครงการ Aluminium Loop  มุ่งสู่ การบรรลุเป้าหมายในการสร้างสรรค์ ขับเคลื่อน และขยายวงจรการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมที่ยั่งยืนที่สุดในโลก ได้แก่

1.ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด (TBC) ในฐานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมรายใหญ่ที่สุดในไทย และอาเซียน มีกำลังการผลิตสูงถึง 5,000 ล้านกระป๋องต่อปี ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากความร่วมมือกับ  Ball Corporation ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ทำให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนวงจร รีไซเคิลที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมอย่างเป็นรูปธรรม

2.ผู้เก็บรวบรวม บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม ใช้แล้วในประเทศไทย ซึ่งบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใช้แล้วถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับผู้เก็บขยะรายย่อยได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณค่าของตัววัสดุที่มีมูลค่ารับซื้อค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ทำให้มีประสิทธิภาพ ในการเก็บรวบรวมสูง จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการรีไซเคิลที่แข็งแกร่ง          

3. ผู้รีไซเคิล บริษัท แองโกล เอเซีย เทรดดิ้ง จำกัด (Anglo Asia Trading) ใช้นวัตกรรมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมโดยผ่านกระบวนการทำความสะอาด กำจัดสี และบด เพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใช้แล้วให้เป็นอลูมิเนียมรีไซเคิล  อัดก้อน

4. ผู้ผลิตวัตถุดิบ บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด (UACJ Thailand) ทำหน้าที่เปลี่ยนอลูมิเนียมรีไซเคิลให้เป็นวัตถุดิบอลูมิเนียมใหม่ โดยผ่านขั้นตอนการหลอม ขึ้นรูปเป็นแท่ง รีดเป็นแผ่น และจัดส่งในรูปแบบม้วนอลูมิเนียม (Aluminium Coil) เพื่อนำไปใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวสามารถทำได้ภายในรัศมี 400 กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในระยะทางที่สั้นที่สุดในโลก ทำให้การดำเนินงานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานมีความสะดวกและรวดเร็ว และส่งผลต่อการลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง โดยการผลิตบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใหม่จากวัสดุอลูมิเนียมรีไซเคิลช่วยให้ประหยัดต้นทุนทางการเงิน เวลา และทรัพยากร จึงส่งเสริมความยั่งยืนให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

สำหรับการรีไซเคิลแบบวงจรปิด หรือ Closed Loop มีจุดเด่นในด้านการหมุนเวียนผลิตภัณฑ์ให้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่พร้อมใช้งานได้ใหม่ ซึ่งบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมสามารถรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใหม่ได้ไม่จำกัดครั้ง ด้วยคุณสมบัติของอลูมิเนียมที่สามารถหลอมเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้ใหม่โดยไม่สูญเสียคุณภาพ อีกทั้งไม่ต้องปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของวัสดุใหม่ ช่วยลดการใช้ทรัพยากร รวมถึงลดพลังงานในการผลิตลงได้กว่า 95% นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมหาศาล ก่อเกิดเป็นวงจรการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการรีไซเคิลแบบวงจรเปิด หรือ Open Loop ที่เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของวัสดุจากผลิตภัณฑ์เดิม ก่อนการรีไซเคิลไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ จากกระป๋องอลูมิเนียมไปเป็นชิ้นส่วนรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ซึ่งถึงแม้จะช่วยต่ออายุวัสดุอลูมิเนียม แต่ต้องเพิ่มทรัพยากรใหม่และใช้พลังงานในการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน นำไปสู่การตัดวงจร ความยั่งยืนของระบบการรีไซเคิลที่ Aluminium Loop ให้ความสำคัญ และต้องการผลักดันให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงกระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ซึ่งการรีไซเคิลแบบวงจรปิด ถือเป็นมาตรฐานสูงสุดที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและเป็นวงจรที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายด้านต้นทุนที่สูงกว่าบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องส่งเสริมให้ผู้บริโภคยอมรับบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมในฐานะบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่ยั่งยืน รวมถึงการสื่อสารถึงระบบการรีไซเคิลแบบวงจรปิดให้สามารถเข้าใจได้ง่ายและชัดเจนถึงผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อทำให้เกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจของสาธารณชนในวงกว้าง และป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการอ้างถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเกินจริง (Greenwashing) โดยความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐในการเพิ่มความน่าเชื่อถือของบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียม เพื่อรักษาความพยายามในการสร้างระบบรีไซเคิลที่ยั่งยืนในประเทศไทย รวมถึงการออกมาตรการและนโยบายที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดความเข้าใจในบรรจุภัณฑ์และระบบการรีไซเคิลแบบต่างๆ ได้อย่างตรงไปตรงมา รวมถึงกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนคิดค้นและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น

ทั้งนี้ Aluminium Loop ได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยตลอดโครงการสามารถเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใช้แล้วกลับมารีไซเคิลมากกว่า 1,000 ล้านใบ ซึ่งในปีนี้มีเป้าหมายสำคัญในการขยายปริมาณการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมใช้แล้วให้ได้ 800 ล้านใบ และในระยะยาว 5,000 ล้านใบ ซึ่งจะครอบคลุมปริมาณการใช้งานบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมทั้งหมดในประเทศไทยให้มาเข้าร่วมระบบรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนนี้ พร้อมกันนี้ยังมุ่งมั่นที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมมีความยั่งยืนครอบคลุมหลายมิติมากขึ้น โดยมีแผนจะเปิดตัวโครงการ Aluminium Solar ภายในปีนี้ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในกระบวนผลิต โดยตั้งเป้าผลักดันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรจุภัณฑ์อลูมิเนียมสามารถปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้พันธมิตรของ Aluminium Loop เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดทั้งกระบวนการ

 

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • DOW หนุนใช้เทคโนโลยีสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน DOW หนุนใช้เทคโนโลยีสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • \'นฤมล\'โชว์วิสัยทัศน์บนเวที SPIEF ย้ำไทยขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ 'นฤมล'โชว์วิสัยทัศน์บนเวที SPIEF ย้ำไทยขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ
  •  

Breaking News

เรื่องย่อ 'KNOCK OUT หมัดน็อกล็อกหัวใจ'

'หลุยส์ ทรูฮีโย'สอยลิขสิทธิ์จัดประกวดเวทีจักรวาลฝั่งชาย

เตรียมพัฒนา ‘บ่อกินรี’ สระน้ำธรรมชาติ-ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

'นายกฯอุ๊งอิ๊งค์'ให้กำลังใจคนทำงาน คุมเพลิงโดยรอบได้แล้วไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved