ช่วงนี้อุณหภูมิสูงขึ้น และมีเหตุการณ์ไฟไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรให้เห็นกันบ่อยครั้ง จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานต่อเนื่องและมีผู้คนอยู่หนาแน่นตลอดเวลา เช่น โรงพยาบาล ที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบความปลอดภัยเป็นพิเศษ
นายภคิน เอกอธิคม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้เสนอแนะแนวทางที่ใช้ในการจัดการเพลิงไหม้ในพื้นที่โรงพยาบาล ทั้งเชิงรุกเพื่อการป้องกันเหตุก่อนเกิด และเชิงรับเพื่อรับมือเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยเป็นแนวทางที่พลัสฯ ใช้ในการบริหารจัดการโรงพยาบาลที่อยู่ในพอร์ตโฟลิโอที่บริหารอยู่ด้วย
1. จัดอบรมการบริหารจัดการพื้นที่ (Area Management) ให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ การบริหารพื้นที่เป็นรากฐานสำคัญของความปลอดภัย เจ้าหน้าที่และพนักงานทุกส่วนควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร อุปกรณ์ดับเพลิง เส้นทางหนีไฟ และขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ตรวจสอบความเสี่ยงผ่าน Walk Through Survey เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงในดูแลความเรีบร้อยและความปลอดภัยของอาคาร อย่างเช่น ทีมจัดการอาคาร ทีมช่างเทคนิค ทีมรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) หรือผู้เกี่ยวข้องต่างๆ จะต้องมีแผนในการเดินตรวจสอบพื้นที่ 100% อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินและลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัยและอุบัติภัยในอาคาร โดยเฉพาะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียด เนื่องจากมีผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ และมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการปกป้อง
3. การฝึกซ้อมดับเพลิงแบบแยกตามส่วนงาน (Unit Fire Drill) การฝึกซ้อมดับเพลิงให้กับเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะของแต่ละ หน่วยงานช่วยให้เกิดความคล่องตัวและเตรียมพร้อมในการรับมือกับ สถานการณ์ฉุกเฉินได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้อาจจะเป็นบุคคลแรกที่ระงับเหตุไม่ให้ลุกลามได้ โดยแต่ละหน่วยงานจะมีการจำลองสถานการณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การฝึกซ้อมดับเพลิงประจำปีแบบไม่แจ้งล่วงหน้า เพื่อให้การเตรียมความพร้อมเป็นไปอย่างสมจริง การฝึกซ้อมไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในช่วงเวลาทำงานปกติที่มีมีทีมงานอยู่ครบ แต่ต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมในช่วงเวลากลางคืนหรือเวลาที่มีบุคลากรเหลือน้อยด้วย รวมถึงการปรับเปลี่ยนจุดเกิดเหตุและช่วงเวลาของการฝึกซ้อมช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา
5. การประเมินผลและปรับปรุงแผนการฝึกซ้อม ทุกครั้งหลังการฝึกซ้อม จะมีการประเมินผลอย่างจริงจังเพื่อสรุปแนวทางแก้ไขและพัฒนาการรับมือให้ดียิ่งขึ้น ข้อสังเกตที่ได้รับจากการฝึกซ้อมจะถูกนำมาปรับปรุงแผนปฏิบัติการให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่าหากเกิดเหตุจริง จะสามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายภคินกล่าวว่า พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอาคารมากว่า 28 ปี มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในทุกอาคารที่อยู่ภายใต้การบริหาร รวมถึงโรงพยาบาลที่ต้องการความพร้อมสูงในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับชีวิตของบุคลากร, ผู้ป่วย, และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าสูง การเตรียมความพร้อมอย่างครบถ้วน ทั้งในเชิงป้องกันและเชิงรับมือ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการที่ดีไม่เพียงแค่ดูแลอาคาร แต่ยังรวมถึงการดูแลความปลอดภัยของทุกคนที่อยู่ในสถานที่นั้นๆ ด้วย
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี