วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
เทรนด์การบริโภคอย่างมีจิตสำนึก มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

เทรนด์การบริโภคอย่างมีจิตสำนึก มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ

วันศุกร์ ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2568, 17.00 น.
Tag : SCBEIC เทรนด์การบริโภค
  •  

นางสาวฐิตา เภกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เปิดเผยบทวิเคราะห์ เรื่อง Green road, Go sustain เปลี่ยนการสัญจรให้ยั่งยืนทุกเส้นทาง ว่า “เทรนด์การบริโภคอย่างมีจิตสำนึก” กำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการ เพราะผู้บริโภคเริ่มหันมาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น

แนวคิดเรื่อง “การบริโภคอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ” หรือ “Conscious consumerism” กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มใส่ใจต่อผลกระทบที่เกิดจากการเลือกซื้อสินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน และบางส่วนยังยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม สะท้อนจากมูลค่าตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนของโลกที่ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 10% ในช่วงปี 2019 – 2023 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 19% ของยอดขายสินค้าทั้งหมดจากทั่วโลก


โดยแนวคิด  Conscious consumerism ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญค่อนข้างครอบคลุมในหลายมิติ อาทิ การหันมาให้ความสำคัญกับการกินอาหารที่ผลิตอย่างยั่งยืน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายหรือรีไซเคิลได้ รวมถึงการสัญจรไร้มลพิษ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สะท้อนถึงความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนทางสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ

ทั้งนี้ SCB EIC ได้เล็งเห็นถึงความท้าทายและโอกาสจากกระแส Conscious consumerism ที่กำลังจะก้าวเข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชาวไทย จึงได้จัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคภายใต้หัวข้อ “การบริโภคอย่างยั่งยืน” โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 1,103 รายทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีความยั่งยืน

โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.วิถีการสัญจรอย่างยั่งยืน (Sustainable mobility) 2.พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน (Sustainable eating) และ 3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สีเขียว (Green electronics) ซึ่งผลการศึกษาจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในมิติต่างๆ

ผลสำรวจของ SCB EIC พบว่าคนไทยพร้อมจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึงราว 12% เพื่อสนับสนุนสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน ซึ่งสัดส่วนนี้สูงกว่าผลสำรวจของ PwC ที่พบว่าผู้บริโภคทั่วโลกเต็มใจจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับความยั่งยืนแพงขึ้นราว 10%

นอกจากนี้ SCB EIC ยังพบว่า การเลือกซื้อสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีฟิลหรือรีไซเคิลได้ ก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเริ่มตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความต้องการลดปริมาณขยะ สอดรับกับแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 2 โดยกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ตั้งเป้าหมายการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติกให้ได้ 100% ภายในปี 2027 (จากปัจจุบันสัดส่วนการรีไซเคิลอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 25% ระหว่างปี 2022 – 2024)

โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนควรมุ่งไปที่การเพิ่มความหลากหลาย ทั้งในด้านฟังก์ชันการใช้งาน การกำหนดราคาให้เข้าถึงได้ และช่องทางจัดจำหน่ายที่สะดวกและครอบคลุม

ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอุปสรรคสำคัญในการปฏิบัติตามวิถี Conscious consumerism คือ การที่สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์มีตัวเลือกค่อนข้างจำกัด ราคาสูง และหาซื้อได้ยาก ส่งผลให้ความตื่นตัวด้านความยั่งยืนยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้สูงเป็นหลัก ดังนั้น หนึ่งในช่องทางการผลักดันให้แนวคิดเศรษฐกิจยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงควรส่งเสริมให้ภาคธุรกิจหันมาเพิ่มความหลากหลายแก่สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์แนวคิดนี้ ทั้งในด้านฟังก์ชันการใช้งาน การกำหนดราคาให้เข้าถึงได้สำหรับผู้บริโภคทุกกลุ่ม รวมถึงการขยายช่องทางจัดจำหน่ายให้สะดวกและกระจายตัวครอบคลุม

คนไทยค่อนข้างตื่นตัวกับแนวคิดการสัญจรอย่างยั่งยืน (Sustainable mobility) แต่การปรับพฤติกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นกลับยังทำได้ค่อนข้างจำกัด

แม้ว่าแนวคิดการสัญจรอย่างยั่งยืนจะได้รับความสนใจในวงกว้าง แต่พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของคนไทยยังคงเคยชินและนิยมพึ่งพาพาหนะส่วนตัวเป็นหลัก อีกทั้ง การปรับพฤติกรรมการเดินทางให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นก็ทำได้ยาก เพราะเผชิญความท้าทายจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ

1.ตัวเลือกการคมนาคมยังคงพึ่งพายานยนต์ระบบสันดาป (ICE) เป็นหลัก ส่วนหนึ่งเพราะไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคยานยนต์ไร้มลพิษ (ZEV)

2.ต้นทุนการสัญจรด้วยระบบขนส่งสาธารณะอยู่ในระดับสูง สะท้อนจากอัตราค่าโดยสารของรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณ 6% และ 12% ของค่าแรงขั้นต่ำรายวันสำหรับแรงงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

3.ตัวเลือกการสัญจรอย่างยั่งยืนมีน้อยและโครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในการใช้ Micromobility รวมถึงการพัฒนาแพลตฟอร์ม Carpool service  ก็ยังไม่แพร่หลายและได้รับความนิยมในวงจำกัด

การปรับตัวสู่การสัญจรอย่างยั่งยืนยังเน้นลดต้นทุนจากการขับขี่พาหนะส่วนตัวเป็นหลัก ขณะที่ความผันผวนในตลาดรถ BEV อาจทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคยานยนต์ไร้มลพิษล่าช้าออกไป

มุมมองต่อแนวคิดการสัญจรอย่างยั่งยืนของคนไทยในปัจจุบันยังค่อนข้างจำกัดอยู่ในด้านการลดต้นทุนจากการใช้งานพาหนะส่วนตัวเป็นหลัก ขณะที่ความตระหนักถึงการลดมลพิษและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเป็นเพียงประเด็นรองที่ยังถูกให้ความสำคัญไม่มากนัก นอกจากนี้ความกังวลเรื่องความเพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะและสงครามราคาในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าล้วน (BEV) มีส่วนทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มชะลอการตัดสินใจซื้อและมีส่วนทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคยานยนต์ไร้มลพิษล่าช้าออกไปอีก

การพัฒนาประสิทธิภาพระบบขนส่งมวลชน การเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ทางเท้าและเลนจักรยาน รวมถึงการเร่งขับเคลื่อนมาตรการเกี่ยวกับ Sharing economy จะทำให้แนวคิดการสัญจรอย่างยั่งยืนนี้เกิดขึ้นจริงและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

SCB EIC พบว่า หนึ่งในแนวทางการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนแนวคิดการสัญจรอย่างยั่งยืนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของชาวไทยได้มากที่สุด คือ การยกระดับระบบขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมและมีต้นทุนต่ำลง ควบคู่กับการพัฒนาทางเท้าและเลนจักรยานให้สะอาด ปลอดภัย รวมถึงมีมาตรการขับเคลื่อนแนวคิด Sharing economy อาทิ การผลักดันให้หน่วยงานรัฐและเอกชนมีสวัสดิการรถโดยสารรับ-ส่งพนักงาน รวมไปถึงการสนับสนุนแพลตฟอร์ม Carpool ที่ภาครัฐควรมีส่วนร่วมในการกำกับดูแล เป็นต้น

-033

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • คาด ‘กนง.’ลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง เหตุ ‘ภาษีทรัมป์’ กระทบศก.ไทยหนัก คาด ‘กนง.’ลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง เหตุ ‘ภาษีทรัมป์’ กระทบศก.ไทยหนัก
  • SCB EIC คาดตลาดสีทาอาคารปี 68 มีมูลค่า2.76 หมื่นล้านบาท SCB EIC คาดตลาดสีทาอาคารปี 68 มีมูลค่า2.76 หมื่นล้านบาท
  • แนะใช้กลยุทธ์”4P”รับมือตลาดโลกผันผวน แนะใช้กลยุทธ์”4P”รับมือตลาดโลกผันผวน
  • SCB EIC ชี้ทรัมป์ขึ้นภาษีกระทบไทยทางตรง-อ้อม SCB EIC ชี้ทรัมป์ขึ้นภาษีกระทบไทยทางตรง-อ้อม
  • Green electronics … เส้นทางสู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน Green electronics … เส้นทางสู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์สีเขียวเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีน
  • ธุรกิจคลังสินค้าปี 68 โต 9.3% หลังต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาไทย ธุรกิจคลังสินค้าปี 68 โต 9.3% หลังต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาไทย
  •  

Breaking News

'JIGSAW PLAY GROUND VOL.1'เปิดตัวเวที Start up สำเร็จดันศิลปินรุ่นใหม่สู่เวทีระดับประเทศ

'ไป๊ป-นิว-เอมี่-บอนนี่'เสิร์ฟความสนุกผ่านกิจกรรม Beyond The Vines Padel Day Out : A BTV Social

'จุลพันธ์'เผย'เอดีบี'เชื่อมั่นศักยภาพลงทุนไทย ชี้ จีดีพีทั่วโลกตก จ่อเรียกถกกระตุ้นเศรษฐกิจ

พันตันวิกฤต! แตงโมอยุธยาราคาต่ำสุดในรอบปี เกษตรกรขาดทุนยับ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved