วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ย้ำ ‘สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’ต้องทำ ‘เป็นหนังสือสัญญา’ เท่านั้น..ถึงมีผลบังคับตามกฎหมาย

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ย้ำ ‘สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’ต้องทำ ‘เป็นหนังสือสัญญา’ เท่านั้น..ถึงมีผลบังคับตามกฎหมาย

วันเสาร์ ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 09.07 น.
Tag :
  •  

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ในฐานะหน่วยงาน 
ที่กำกับดูแลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจตาม พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้มีการขับเคลื่อนให้ภาคธุรกิจและประชาชนที่ต้องการเข้าถึงแหล่งทุนสามารถนำทรัพย์สิน
ตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ กิจการ ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้อง สังหาริมทรัพย์ (สินค้าคงคลัง ลูกหนี้ทางการค้า เครื่องจักร) มาใช้เป็นหลักประกัน ประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองให้กับผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) แต่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือและผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) ควรเก็บสัญญาดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2568) มีการจดทะเบียน สัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้วรวมทั้งสิ้น 878,337 คำขอ มูลค่ารวมกว่า 20,177,000 ล้านบาท

กฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการราย ย่อย (SME) และประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรม โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อาทิ การลงพื้นที่ ให้คำปรึกษาเชิงลึกกับผู้ประกอบการ จัดสัมมนาออนไลน์และออฟไลน์ การอบรมเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน และ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง รวมทั้ง สร้างสื่อการเรียนรู้ผ่าน DBD Academy ‘รอบรู้ หลักประกัน รู้ทันธุรกิจ’ และ YouTube “กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ DBD” แนะนำวิธีการและขั้นตอน การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ผ่านระบบ e-Secured ดังนั้น ผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) และผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) ควรศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ หน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง


อธิบดีอรมน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) และผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) บางส่วนที่อาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องขั้นตอนและรายละเอียดของการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ โดยเฉพาะในส่วนของการทำ ‘สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ’ จะต้องทำเป็น ‘หนังสือสัญญา” เท่านั้น ถึงจะ มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
และที่สำคัญ ผู้รับหลักประกัน (เจ้าหนี้) ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้หลักประกัน (ลูกหนี้) ก่อน 
จึงจะสามารถนำมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ 
จึงขอย้ำอีกครั้งว่า สัญญาหลักประกันทางธุรกิจต้องทำเป็น “หนังสือสัญญาเท่านั้น” ถึงมีผลบังคับตามกฎหมาย 
โดยขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในสัญญาหลักประกันทางธุรกิจทุกฝ่าย ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง เพื่อให้กฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาส ให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ทั้งนี้ ผู้ที่มีเจตนาไม่สุจริต ปลอมแปลงหรือแสดงเอกสารอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ มีโทษความผิดทางอาญาถึงขั้นจำคุกได้

นอกจากนี้เพื่อความโปร่งใสและอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบว่ามีผู้นำทรัพย์สินมาจดทะเบียน
เป็นหลักประกันทางธุรกิจหรือไม่ กรมฯ ได้จัดทำระบบสืบค้นข้อมูลการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลสัญญาหลักประกันทางธุรกิจได้อย่างโปร่งใสและใช้ประกอบการพิจารณาทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ อย่างรอบคอบและเป็นธรรม ผ่านเว็บไซต์ www.dbd.go.th หัวข้อ Hot Service >> New Service >> ระบบ
จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured) >> ค้นหาข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจ และทางแอปพลิเคชัน DBD 
e-Service เลือกแบนเนอร์จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ (e-Secured) ได้ด้วย

ปัจจุบัน (วันที่ 15 พฤษภาคม 2568) มีคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจจำนวนทั้งสิ้น 878,337 คำขอ ทรัพย์สินรวมมูลค่าที่ใช้เป็นหลักประกันจำนวน 20,177,454 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องเป็นทรัพย์สินที่ถูกนำมาใช้เป็น หลักประกันมากที่สุด ร้อยละ 80.76 (มูลค่า 16,296,094 ล้านบาท) รองลงมา สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบ ธุรกิจ ได้แก่ สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ เครื่องบิน สัตว์พาหนะ เป็นต้น ร้อยละ 18.96 (มูลค่า 3,825,296 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา ร้อยละ 0.07 (มูลค่า 14,495 ล้านบาท) กิจการ ร้อยละ 0.01(มูลค่า 1,659 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ร้อยละ 0.002 (มูลค่า 398 ล้านบาท)

ขณะที่ไม้ยืนต้นที่มีค่าก็ได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินและธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ รับเป็นหลักประกันทางธุรกิจเช่นกัน โดยในช่วงที่ผ่านมามีจำนวน 167,302 ต้น มูลค่าสินเชื่อรวมกว่า 186 ล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1,520 ต้น มูลค่าสินเชื่อ 10.8 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 23,000 ต้น มูลค่าสินเชื่อ 128 ล้านบาท และธุรกิจพิโกไฟแนนซ์ จำนวน 142,782 ต้น มูลค่าสินเชื่อ 47 ล้านบาท ต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจส่วนใหญ่ ได้แก่ ต้นสัก ต้น ขนุน ยางพารา ต้นยูคาลิปตัส ไม้สกุลทุเรียน ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลยาง เป็นต้น” อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดการอบรมเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ กองทะเบียน หลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2547 5048 e-mail : stro@dbd.go.th หรือ www.dbd.go.th, Call Center 1570

-032

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘พาณิชย์’ ประสานผู้ประกอบการ เข้ารับซื้อมะม่วงแฟนซี จ.เชียงใหม่-ลำพูน ‘พาณิชย์’ ประสานผู้ประกอบการ เข้ารับซื้อมะม่วงแฟนซี จ.เชียงใหม่-ลำพูน
  • “พาณิชย์เผยข่าวดี ตลาดซาอุดีอาระเบียสนใจนำเข้ามันสำปะหลังไทย” “พาณิชย์เผยข่าวดี ตลาดซาอุดีอาระเบียสนใจนำเข้ามันสำปะหลังไทย”
  • พิชัย” ขอบคุณ “นายกแพทองธาร” ช่วยโปรโมตสินค้าไทย-ซอฟต์พาวเวอร์ไทย-สัญลักษณ์ใหม่ Thai Select ที่กรุงลอนดอน พร้อมรับทุกข้อสั่งการ ขับเคลื่อนต่อในตลาดทั่วโลก พิชัย” ขอบคุณ “นายกแพทองธาร” ช่วยโปรโมตสินค้าไทย-ซอฟต์พาวเวอร์ไทย-สัญลักษณ์ใหม่ Thai Select ที่กรุงลอนดอน พร้อมรับทุกข้อสั่งการ ขับเคลื่อนต่อในตลาดทั่วโลก
  • พิชัย” ถกญี่ปุ่นหนุนความร่วมมือเศรษฐกิจแห่งอนาคต พร้อมชักชวนลงทุนเพิ่มในไทย พิชัย” ถกญี่ปุ่นหนุนความร่วมมือเศรษฐกิจแห่งอนาคต พร้อมชักชวนลงทุนเพิ่มในไทย
  • กรมการค้าภายใน ยืนราคารับซื้อปาล์มน้ำมัน 5 บาทต่อกิโลกรัม กำชับโรงงานสกัดรับซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือห้างค้าปลีกจำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดไม่เกินลิตรละ 50 บาท กรมการค้าภายใน ยืนราคารับซื้อปาล์มน้ำมัน 5 บาทต่อกิโลกรัม กำชับโรงงานสกัดรับซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือห้างค้าปลีกจำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดไม่เกินลิตรละ 50 บาท
  • DITP ประกาศความสำเร็จการพัฒนาศักยภาพพลังสร้างสรรค์ของนักออกแบบและผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ Designers\' Room/Talent Thai/Creative Studio Promotion สู่ตลาดโลก ปี 2568 DITP ประกาศความสำเร็จการพัฒนาศักยภาพพลังสร้างสรรค์ของนักออกแบบและผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ Designers' Room/Talent Thai/Creative Studio Promotion สู่ตลาดโลก ปี 2568
  •  

Breaking News

(คลิป) เป๊บซี่ ดีไหมล่ะ : เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ & กิตติมา ธารารัตนกุล

กอ.รมน.ภาค4สน. โต้ข่าวปลอมกราดยิงยี่งอ! ยืนยันสถานการณ์ปกติ

ภท. เล็งฟ้องกลับ 'ณฐพร' ทำพรรคเสียหาย ข้องใจถูก 'ดีเอสไอ' ใช้เป็นเครื่องมือเล่นงาน

(คลิป) หวิดอันตราย! หลอดไฟก่อสร้างจมน้ำ หน้าThai PBS พลเมืองดีเข้ากู้สถานการณ์แล้ว

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved