นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สถานการณ์การค้าโลกที่กำลังเผชิญกับการปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง Reciprocal Tariffs และกรณีที่อินโดนีเซีย และเวียดนาม ยอมลดภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐลงเหลือ 0% นั้น ยอมรับว่าได้สร้างความกังวลให้กับภาคเอกชนไทยอย่างมาก โดยในอนาคตไทยอาจถูกบีบให้ลดภาษีลงเหลือ 0% เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่นั้น ตน เชื่อว่านายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็คงกังวลเช่นกัน แม้ว่าอินโดนีเซียจะได้ดุลการค้ากับสหรัฐน้อยกว่าไทย ซึ่งไทยได้ดุลราว 45,000 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ถือว่ามากกว่าอินโดนีเซีย 2.5 เท่า แต่ก็ยังสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงยอมลดภาษีให้สหรัฐลงทั้งหมด
"สถานการณ์นี้เป็นไปตามที่สหรัฐกล่าวเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเอกชนก็กำลังรอฟังข่าวว่าทางอินโดนีเซียจะออกมาชี้แจงในเรื่องนี้เหมือนเวียดนามหรือไม่ จึงต้องจับตาดู ดังนั้น ยอมรับว่า หากไทยต้องโดนสูตรคิดภาษีแบบอินโดนีเซีย ก็ถือเป็นประเด็นที่กังวลเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เข้าใจว่าอยู่ในทีมเจรจา หากเป็นไปอย่างนั้นอาจเป็นโจทย์ที่ยากกว่าเรื่องของ Local Content แต่เมื่อรู้โจทย์ก็คงแก้ได้ แม้ว่าจะไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น ทุกคนก็เป็นกำลังใจ เพราะเราได้ดุลการค้าน้อยกว่าอินโดนีเซีย แต่เขายอมขนาดนั้นก็สงสัย ยังคงเชื่อมั่นทีมไทยแลนด์ในการเจรจา“นายนาวากล่าว
ทั้งนี้ในกรณีที่อินโดนีเซียได้ลดภาษีนำเข้าศุลกากรสหรัฐลง 19% จากเดิม 32% ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและอาจสร้างความหนักใจให้กับทีมไทยแลนด์มากพอสมควร เพราะแม้ว่าไทยจะได้ดุลการค้าเยอะกว่าอินโดนีเซีย แต่อินโดนีเซียมีการพึ่งพิงตลาดสหรัฐมากกว่าไทยอยู่ที่ 30% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับเวียดนาม ในขณะที่ไทยส่งออกไปสหรัฐราว 18% ตนจึงเชื่อว่าทีมเจรจาของไทยมีความรู้ความสามารถและทักษะที่ดีเยี่ยม
นายนาวา กล่าวว่า จากการหารือกับภาคเอกชนทั้ง 47 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้ส่งข้อเสนอแนะและข้อมูลให้กับทีมรัฐบาลไปหมดแล้ว และเชื่อว่าจะเป็นข้อมูลที่ดีและสนับสนุนให้กับทีมเจรจาไทยแลนด์ได้อย่างดี แต่ในส่วนของการที่ประเทศไทยจะเทหน้าตักยอมลดภาษีนำเข้า 0% หรือไม่นั้น ส.อ.ท. ยืนยันว่า เรายอมแค่สหรัฐ 0% ประเทศเดียว และเป็นแค่บางรายการเท่านั้น โดยสินค้าที่ยอมลดภาษี 0% เช่น ผลิตภัณฑ์ยา เพราะสหรัฐมีความสามารถที่จะผลิตยาที่มีคุณภาพทได้อยู่แล้ว ส่วนกลุ่มสินค้าที่ไทยไม่ควรลดภาษีนำเข้าเป็น 0% คือ กลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีการลงทุนสูงและอยู่ในช่วงทรานส์ซิชั่น เป็นต้น
ทั้งนี้ทางภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะเพื่อรับมือโดยเฉพาะมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันคือเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและซอฟต์โลน โดยการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท โดยมาตรการซอฟต์โลนอยากให้เห้นในวันนี้หรือพรุ่งนี้เลย ซึ่งมาตรการนี้จะต้องมีความชัดเจนและเข้าสนับสนุนให้ตรงจุด
"เรื่องเงินเยียวยานี้มี ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยสมาคมธนาคารไทย ได้ยืนยันว่ามีสภาพคล่องเหลือเพียงพอ แต่ต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติธนาคาร ด้วยความโชคดีที่เศรษฐกิจของเราตอนนี้ยังมีธนาคารที่แข็งแกร่ง สามารถค้ำจุนได้ และธนาคารจะพยายามปล่อยสินเชื่อ รวมถึงรัฐบาลจะปล่อยอย่างรอบคอบและรวดเร็วที่สุดในวันนี้" นายนาวากล่าว
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี