วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
กับดักเศรษฐกิจไทยในยุคพึ่งพานำเข้าสูง

กับดักเศรษฐกิจไทยในยุคพึ่งพานำเข้าสูง

วันจันทร์ ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 10.25 น.
Tag : จีดีพี ทรัมป์ ภาษี เศรษฐกิจ ส่งออก SCBEIC
  •  

การนำเข้าของไทยขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2020 เช่นเดียวกับการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากจีนที่เพิ่มบทบาทมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรมหลักของประเทศ

นางสาวฐิตา เภกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC รายงานว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยในช่วงปี 2020 – 2024 ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 10% สูงกว่าการเติบโตของ GDP และมูลค่าการส่งออก ส่งผลให้สัดส่วนการนำเข้าสินค้าต่อ GDP เพิ่มขึ้นสู่ 53% ณ ปี 2024 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 12 ปี อีกทั้ง ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเผชิญภาวะขาดดุลการค้าเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างนี้ปรากฏชัดขึ้นจากการที่จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง หรือครองส่วนแบ่งการนำเข้าสูงกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่ารวม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอุตสาหกรรมสำคัญของไทย เช่น เหล็ก พลาสติก และยานยนต์ หันไปพึ่งพาและกลายเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของจีนกันมากขึ้น


ไทยกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญในการระบายสินค้าส่วนเกินจากจีน ผนวกกับกระแสนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ และการเพิ่มจำนวนของธุรกิจที่พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก ก็ถือเป็นปัจจัยเร่งให้สินค้าจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คาดว่าเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การเร่งระบายสินค้าส่วนเกินออกจากจีนซึ่งเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจากจีนเข้าสู่ประเทศไทยขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึงเกือบ 4 เท่า 

2) การเติบโตของธุรกิจแพลตฟอร์มข้ามชาติที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ไม่เพียงกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค แต่รายได้จากการเติบโตของธุรกิจออนไลน์เหล่านี้ มักไม่ได้หมุนเวียนกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มที่ และ 3) การเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าเป็นหลัก (High import content) ทั้งในภาคก่อสร้าง, ร้านอาหาร, ภาคบริการ รวมถึงภาคการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เหล็ก และพลาสติก โดยธุรกิจเหล่านี้นอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจไทยในระดับต่ำแล้ว บางส่วนยังอาจเข้ามาลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีจากชาติตะวันตก ทำให้การดำเนินกิจการมักเน้นการนำเข้าสินค้ามาประกอบขั้นต้น ก่อนส่งออกไปยังประเทศที่สามต่อไป

สินค้านำเข้ากำลังก้าวขึ้นมามีบทบาททดแทนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ทั้งในแง่การบริโภคและการส่งออก อีกทั้ง ยังพบสัญญาณที่อาจบ่งชี้ได้ว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมของไทยเกือบ 3,000 แห่ง เข้าข่ายดำเนินกิจการแบบซื้อมา–ขายไป ซึ่งบางส่วนเสี่ยงที่จะเป็นเพียงโรงงานแปรรูปเบื้องต้นหรือดำเนินกิจกรรมสวมสิทธิ ผลการวิเคราะห์โดย SCB EIC พบว่า 1) การบริโภคภายในประเทศและภาคส่งออกของไทยมีแนวโน้มพึ่งพาสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลง และหันไปพึ่งพาสินค้านำเข้า โดยเฉพาะจากจีนมากขึ้น ส่งผลกระทบให้ภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัวได้ช้า โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตเหล็ก แผงวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน และ 2) ธุรกิจภาคการผลิตในไทยเกือบ 3,000 แห่ง อาจกำลังดำเนินธุรกิจในลักษณะที่เน้นการซื้อมา-ขายไป หรือเป็นเพียง Trader ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าบางส่วนเข้าข่ายกิจกรรมสวมสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแผงวงจร, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนยานยนต์, พลาสติก, อะลูมิเนียม และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ผลกระทบจากแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้ผู้ส่งออกของไทยต้องเผชิญความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น อีกทั้ง ในระยะยาวโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอาจค่อย ๆ เปลี่ยนจาก ‘ประเทศผู้ผลิต’ ไปสู่บทบาท ‘ผู้ซื้อและประเทศทางผ่าน’ ในห่วงโซ่อุปทานโลก และทำให้เกิดการเสื่อมถอยอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมการผลิตภายในประเทศ

นโยบายเชิงรุกจากภาครัฐที่ครอบคลุม ทั้งด้าน ‘การปกป้อง’ ‘กำกับดูแล’ และ ‘การส่งเสริม’ จะเป็นกลไกสำคัญในการรักษาความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว

แม้การเปิดรับเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติจะมีส่วนช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทย อีกทั้ง สินค้านำเข้าก็ช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีตัวเลือกและระดับราคาหลากหลาย แต่รูปแบบการเติบโตที่อิงกับโมเดลซื้อมา-ขายไป และกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริงภายในประเทศ อาจกลายเป็นจุดอ่อนเชิงโครงสร้าง ดังนั้น การปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ การกำเนิดนโยบายเชิงรุกเพื่อกำกับดูแลการลงทุน ตลอดจนการคัดกรองขอบเขตและคุณภาพสินค้านำเข้า จึงเป็นกลไกสำคัญในการรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยท่ามกลางทิศทางการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

-031

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ไอร่าชี้ภาษี 36%สหรัฐฯซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย แนะรัฐเร่งขยายตลาดใหม่ในภูมิภาค ไอร่าชี้ภาษี 36%สหรัฐฯซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย แนะรัฐเร่งขยายตลาดใหม่ในภูมิภาค
  • สหรัฐฯ เปลี่ยนเกมเศรษฐกิจ ไทยต้องรู้ทัน ไม่ใช่แค่เรื่องค้าขาย สหรัฐฯ เปลี่ยนเกมเศรษฐกิจ ไทยต้องรู้ทัน ไม่ใช่แค่เรื่องค้าขาย
  • ประธานสมาคมธนาคารไทย ชี้เศรษฐกิจไทยติดกับดักซ้ำซ้อน แนะใช้มาตรการกระตุกประคองและปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ประธานสมาคมธนาคารไทย ชี้เศรษฐกิจไทยติดกับดักซ้ำซ้อน แนะใช้มาตรการกระตุกประคองและปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
  • GCAP จับตาสงครามการค้าระลอกใหม่หนุนทองคำแตะ 3,400 เหรียญ GCAP จับตาสงครามการค้าระลอกใหม่หนุนทองคำแตะ 3,400 เหรียญ
  • BBL รับฝากทรัพย์สินสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ.มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท BBL รับฝากทรัพย์สินสหกรณ์ออมทรัพย์ กฟผ.มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท
  • สินเชื่อยั่งยืนและโครงการสีเขียวช่วย SMEs เข้าถึงเงินลงทุนถูก สินเชื่อยั่งยืนและโครงการสีเขียวช่วย SMEs เข้าถึงเงินลงทุนถูก
  •  

Breaking News

'fight for นายช'ซิวแชมป์ Cyber Warrior Hackathon 2025 ตร.ไซเบอร์ผนึก'มจธ.'ปั้นยอดนักรบไซเบอร์

กระบะเลี้ยวเข้าซอย มอไซค์พุ่งชนกลางลำ หนุ่มกัมพูชาบาดเจ็บ

เปิดตัว'มะละกะ' ผลไม้ลับตะกั่วป่า! ไม่ใช่'ลองกอง-ลางสาด' ความอร่อยที่ต้องตามล่า

วงจรปิดจับภาพชัด! โจรใจบาปปั่นจักรยานเข้าวัดยามวิกาล ย่องเบาลักตู้บริจาค

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved