นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ แถลงการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2568 มีมูลค่า 28,649.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (938,533 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ที่15.5% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 15.6% การชะลอการใช้มาตรการทางภาษีของสหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้นำเข้าในสหรัฐฯ เร่งนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นเพื่อปิดความเสี่ยงด้านราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนเติบโตได้ดี ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัล ขณะที่สินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะผลไม้สดและแช่แข็งฟื้นตัวกลับมาได้ดีในเดือนนี้ เช่นเดียวกับ มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง ต่างขยายตัวในเดือนนี้
ทั้งนี้ การส่งออกครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัวที่ 15% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 14.2% มีมูลค่าการค้ารวม ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน 2568 การส่งออก มีมูลค่า 28,649.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.5% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 27,588.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.1% ดุลการค้า เกินดุล 1,061.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออกครึ่งแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 166,851.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 166,914.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.6% ดุลการค้า ขาดดุล 62.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2568 การส่งออก มีมูลค่า 938,533 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 914,880 ล้านบาท ขยายตัว 3.% ดุลการค้า เกินดุล 23,654 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออกครึ่งแรกของปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 5,578,959 ล้านบาท ขยายตัว 7.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 5,651,241 ล้านบาท ขยายตัว 4.6% ดุลการค้า ขาดดุล 72,282 ล้านบาท
สำหรับ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 13.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือนโดยสินค้าเกษตร ขยายตัว 10.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยาย 17.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ขยายตัว 57% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัว 15.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน มาเลเซีย และเกาหลีใต้)
ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 124.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา จีน และอินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัว 35.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เมียนมา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว 6.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเวียดนาม) น้ำตาลทราย ขยายตัว 35.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ซูดาน และจีน) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว 28.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 21 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัว 41.1% หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ เซเนกัล แคเมอรูน และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน แคนาดา ฮ่องกง และสิงคโปร์) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัว 1.5% กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา เปรู และอิสราเอล) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 2.4%
นอกจากนี้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 17.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 57.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และไอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัว 23.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีใต้) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัว16.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฮ่องกง) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว 46.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 8.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย สหราชอาณาจักร เยอรมนี และญี่ปุ่น) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ ขยายตัว36.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และสโลวาเกีย)
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัว 15.9% กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาร์เจนตินา อิรัก และตุรกี) เคมีภัณฑ์ หดตัว 4.3% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ ลาว เมียนมา และกัมพูชา) เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ หดตัว 14.7% กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฮ่องกง บราซิล แอฟริกาใต้ และไต้หวัน) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัว 53.5% หดตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย เม็กซิโก และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 19.3%
นอกจากนี้การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวดี โดยเฉพาะตลาดหลัก เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ที่ได้รับปัจจัยหนุนต่อเนื่องจากการเร่งนำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้าก่อนที่มาตรการภาษีต่างตอบแทนของสหรัฐฯ จะมีผลบังคับใช้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัว 19.3% โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ 41.9% จีน 23.1% สหภาพยุโรป 11.9% และ CLMV 9% และกลับมาขยายตัวในตลาดอาเซียน 6.5% และญี่ปุ่น 3.2% ตลาดรอง ขยายตัว 1% โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ 20.1% รัสเซียและกลุ่ม CIS 14.1% และสหราชอาณาจักร 17.6% ขณะที่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย 14.1% ตะวันออกกลาง 4.5% แอฟริกา 13.7% ลาตินอเมริกา 1.6% ตลาดอื่น ๆ ขยายตัว 202.4%
ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 41.9% (ขยายตัวต่อเนื่อง 21 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของ ปี 2568 ขยายตัว 29.7%
ตลาดจีน ขยายตัว 23.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยางพารา และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 18.8%
ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัว 3.2% (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 1.2%
ตลาดสหภาพยุโรป ขยายตัว 11.9% (ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และเคมีภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม และเลนซ์ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 9.4 %
ตลาดอาเซียน ขยายตัว 6.5% (กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงวงจรไฟฟ้า สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 5.1%
ตลาด CLMV ขยายตัว 9% (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ทองแดงและของทำด้วยทองแดง เม็ดพลาสติก และสินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 11.3%
ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัว 20.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อัญมณีและเครื่องประดับ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป
เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 46.5%
ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัว 14.1% (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 หดตัว 9.7% ตลาดตะวันออกกลาง หดตัว 4.5% (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และข้าว สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำตาลทราย และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 5.9%
ตลาดทวีปแอฟริกา หดตัว 13.7% (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ข้าว เคมีภัณฑ์ และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และน้ำตาล ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 2.2%
ตลาดลาตินอเมริกา หดตัว 1.6% (กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 9.5%
ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัว 14.1% (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และรองเท้าและชิ้นส่วน ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 21%
ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัว 17.6% (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ไก่แปรรูป และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2568 ขยายตัว 12.4%
แนวโน้มการส่งออกครึ่งหลังของปี 2568 การดำเนินมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ส่งผลต่อการค้าไทยและโลก
อย่างมีนัยสำคัญ ผลของการเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ก่อนที่ภาษีต่างตอบแทนจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 68 เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อทิศทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคตของไทย โดยไทยได้ยื่นข้อเสนอฉบับใหม่ที่เปิดตลาดมากขึ้นให้กับ
ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ซึ่งได้รับการตอบรับในทิศทางที่ดี คาดว่าไทยจะได้รับอัตราภาษีที่เหมาะสม และยังสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นในภูมิภาคได้ ในระยะยาวการสร้างความสมดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ ถือว่าจะเป็นโอกาสให้ไทยเร่งปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้างห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศเพื่อรองรับการกระจายความเสี่ยงการผลิตและลงทุน และยกระดับสภาพแวดล้อมทางการค้าของประเทศให้แข่งขันได้ในระดับโลกเพิ่มขึ้น ในส่วนของการบรรเทาผลกระทบ ภาครัฐได้เตรียมความพร้อมด้วยมาตรการสนับสนุนทั้งภาคธุรกิจและเกษตรกรรม สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ที่คาดว่าจะ
ส่งผลต่อการส่งออกในครึ่งปีหลัง อาทิ ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลไม้ที่กำลังออกสู่ตลาด สงครามในตะวันออกกลาง การชะลอการลงทุนเพื่อรอดูท่าทีการเจรจา การปรับตัวของผู้ส่งออกในการปรับเปลี่ยนแหล่งนำเข้าวัตถุดิบให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของการลดภาษีของสหรัฐฯ สถานการณ์เหล่านี้เป็นประเด็นที่กระทรวงพาณิชย์ยังคงต้องติดตามและหามาตรการรับมือ เพื่อแก้ปัญหา และหาแนวทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสมต่อไป
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี