วันเสาร์ ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / โลกธุรกิจ
SKY ICT จับมือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมแกร่งพัฒนาบุคลากรด้านการบิน

SKY ICT จับมือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมแกร่งพัฒนาบุคลากรด้านการบิน

วันพฤหัสบดี ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2568, 15.44 น.
Tag : การบิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ SKYICT
  •  

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) (SKY) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการบินกำลังกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังโควิด-19 และในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยมีศักยภาพโดดเด่นมาก ทั้งในด้านสนามบิน สถานที่ตั้ง และระบบขนส่ง แต่สิ่งที่เรายังขาดอยู่คือบุคลากรที่มีทักษะขั้นสูง สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการบิน เช่น AI, Cybersecurity, Smart Airport System และระบบ Automation การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในครั้งนี้จึงเป็นการลงทุนกับคน ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญที่สุดในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เราหวังว่าโมเดลนี้จะเป็นต้นแบบของการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาอย่างยั่งยืน SKY ICT ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีสนามบิน พร้อมเปิดโอกาสให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมเรียนรู้ ทดลองงานวิจัย และฝึกประสบการณ์จริง เพราะสนามบินในยุคปัจจุบันและอนาคตจะปฏิบัติการด้วยระบบ Data-driven และ Automation เพื่อให้ประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสารเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ไร้รอยต่อ เราจึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เข้าใจทั้งภาคเทคนิคและความต้องการของผู้โดยสาร ความร่วมมือครั้งนี้คือการสร้างแพลตฟอร์มให้ “คนรุ่นใหม่” ได้ก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนวงการเทคโนโลยีด้านการบินของไทยในอนาคต

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว มุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว สร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมการบิน และเสริมขีดความสามารถของประเทศให้เทียบชั้นศูนย์กลางการบินระดับโลก  โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาหลักสูตร การฝึกงาน การวิจัย และโครงการนำร่องในประเด็นสำคัญ เช่น การวางระบบ Biometric ในสนามบิน การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ความหนาแน่นผู้โดยสาร การพัฒนา Digital Twin เพื่อบริหารจัดการสนามบิน รวมถึงการเสริมสร้างความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ซึ่งขณะนี้โครงการนำร่องดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว อาทิ โครงการ SKY-KU Aviation Lab and Learning Center ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญภายใต้ MOU ฉบับนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในต้นเดือนธันวาคม 2568 ซึ่งห้องปฏิบัติการแห่งนี้จะถูกออกแบบให้เป็นห้องจำลองสถานการณ์จริงของผู้โดยสารในสนามบิน ครบถ้วนด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ ระบบ Check-In and Boarding system (CUPPS: Common Use Passenger Processing System) ระบบ Self Check-In Kiosk (CUSS: Common Use Self-Service) ระบบ Self Bag Drop ระบบ Self Boarding Gate รวมไปถึงมีชุดวิดีโอสาธิตระบบ AODB (Airport Operational Database) วิดีโอสาธิตระบบ BRS (Baggage Reconciliation System) และมีพื้นที่จำลองขั้นตอนผู้โดยสาร (Passenger Journey Simulation Zone) โดย SKY-KU Aviation Lab and Learning Center แห่งนี้จะเป็นพื้นที่การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการที่ทันสมัยสำหรับนักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา พร้อมเปิดโอกาสให้เกิดการทดลองใช้งานจริง การเรียนรู้จากเทคโนโลยีชั้นนำ และการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมการบิน


ศาสตราจารย์วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า นักศึกษาของเราจะได้มีโอกาสสัมผัสกับสถานการณ์จริง ฝึกงานกับบริษัทชั้นนำ และทำโครงการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ซึ่งจะช่วยให้บัณฑิตที่จบออกไปมีความพร้อม สามารถปฏิบัติงานได้ทันทีและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยเนื้อหาหลักของความร่วมมือครอบคลุม 3 ด้านสำคัญ ได้แก่
1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร: ครอบคลุมตั้งแต่ระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ไปจนถึงบัณฑิตศึกษา เพื่อผลิตแรงงานฝีมือและบุคลากรเฉพาะทางเข้าสู่อุตสาหกรรม
2. การใช้ทรัพยากรและองค์ความรู้ร่วมกัน: เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล วิจัย อุปกรณ์ และสถานที่ รวมถึงพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
3. การวิจัยและนวัตกรรม: สนับสนุนการทำวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการบ่มเพาะนวัตกรรม เพื่อสร้างศักยภาพการผลิตและการแข่งขันของประเทศ

อาจารย์ ดร.นวทัศน์ ก้องสมุทร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวเสริมถึงความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีด้านการบินเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่อุตสาหกรรมกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว เราเห็นได้ชัดจากแนวโน้มระดับโลกที่สนามบินและสายการบินต่าง ๆ ได้นำระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบ Self Check-in, E-Gate, ระบบบริหารจัดการข้อมูลเที่ยวบิน หรือแม้แต่การใช้ Big Data เพื่อคาดการณ์ความต้องการของผู้โดยสาร ดังนั้น การเตรียมคนให้มีทักษะทางเทคโนโลยี พร้อมทั้งเข้าใจการประยุกต์ใช้ในบริบทของอุตสาหกรรมจริง จะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการบินระดับภูมิภาคและโลก ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศก็พร้อมจะร่วมมืออย่างเต็มที่กับ SKY ICT ในการบ่มเพาะนักศึกษาที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต

- 030 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘การบินไทย’ ผนึก ‘เตอร์กิชแอร์ไลน์’ ลงนามความร่วมมือ Joint Business Agreement ‘การบินไทย’ ผนึก ‘เตอร์กิชแอร์ไลน์’ ลงนามความร่วมมือ Joint Business Agreement
  • ANI ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น เพิ่ม Free Float ANI ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น เพิ่ม Free Float
  • วิทยุการบินฯ สร้างเครือข่ายรณรงค์จุดบั้งไฟให้ปลอดภัย วิทยุการบินฯ สร้างเครือข่ายรณรงค์จุดบั้งไฟให้ปลอดภัย
  • กพท.จับมือทุกภาคส่วนการบิน เตรียมตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO หนุน Air Cargo สัญชาติไทย กพท.จับมือทุกภาคส่วนการบิน เตรียมตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO หนุน Air Cargo สัญชาติไทย
  • AOT เจรจาธุรกิจการบิน Routes Asia 2025 สร้างศูนย์กลางการบินในภูมิภาค AOT เจรจาธุรกิจการบิน Routes Asia 2025 สร้างศูนย์กลางการบินในภูมิภาค
  • ไทยเตรียมกลับคืนสู่ CAT1 หลัง FAA ตรวจประเมินขั้น ไทยเตรียมกลับคืนสู่ CAT1 หลัง FAA ตรวจประเมินขั้น
  •  

Breaking News

‘นาวิกโยธิน’ตอบโต้‘กัมพูชา’หนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตย

‘ทัพเรือ’ลั่น‘ฝึกอย่างไร รบอย่างนั้น’ ลุยฝ่าทุ่นระเบิด ผลักดันกำลังต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย

‘ธนกร’หนุนสภาฯไม่ตัดงบจัดซื้อ‘อาวุธ’กลาโหม ชี้เร่งเพิ่มขีดความสามารถกองทัพไทย

กองทัพภาค2 ส่งกำลังใจ'กองทัพเรือ' เจอ'เขมร'โจมตี ทหารไทยโต้กลับแบบสาสม

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved