วันพฤหัสบดี ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
นโยบายดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติทำรพ.ทั้ง‘ไทย-ญี่ปุ่น’กระอัก เหตุถูกเบี้ยวค่ารักษาเพียบ

นโยบายดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติทำรพ.ทั้ง‘ไทย-ญี่ปุ่น’กระอัก เหตุถูกเบี้ยวค่ารักษาเพียบ

วันอังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 15.45 น.
Tag : นักท่องเที่ยวต่างชาติ เบี้ยวค่ารักษา
  •  

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 เว็บไซต์ นสพ. Nikkei Asian Review ของญี่ปุ่น เสนอรายงานพิเศษ “Tourism proves hazardous to Thai hospitals' financial health” ระบุว่า นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลไทย กำลังสร้างภาระให้กับโรงพยาบาล อาทิ นพ.เฉลิมพงษ์ สุคนธผล (Chalermpong Sukontapol) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ระหว่างเดือน พ.ย.-มี.ค. ของทุกปี รพ.วชิระภูเก็ต รับนักท่องเที่ยวที่บาดเจ็บจากการขับขี่พาหนะทางน้ำบ้าง มอเตอร์ไซค์บ้าง รวมถึงถูกลิงหรืองูกัดบ้าง แต่มีน้อยคนที่ชำระค่ารักษาอย่างครบถ้วน

“เมื่อเร็วๆ นี้มีชายหนุ่มชาวอเมริกันคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุในการใช้มอเตอร์ไซค์ เขาอยู่ในการดูแลอย่างเข้มงวดจากโรงพยาบาลในระยะแรก ก่อนจะย้ายไปพักฟื้นในห้องผู้ป่วยทั่วไปอีกไม่กี่เดือน ปัญหาคือเขาไม่มีประกันชีวิตสำหรับนักท่องเที่ยว วันนี้ทางโรงพยาบาลยังคงรอค่ารักษาซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท” นพ.เฉลิมพงษ์ กล่าว


ผอ.รพ.วชิระภูเก็ต กล่าวต่อไปว่า เมื่อผู้ป่วยออกไปจากโรงพยาบาลแล้วการติดตามให้ชำระค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเรื่องยากมาก แม้กระทั่งการให้เพื่อนๆ ผู้ป่วยที่เป็นคนไทยช่วยประสานกับสถานทูตก็แทบไม่มีผล แต่ด้วยจรรยาบรรณแพทย์แล้วก็ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาชาวต่างชาติเหล่านี้ได้ อีกทั้ง รพ.วชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างเสมอภาคไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือต่างชาติ 

ทั้งนี้แม้จะมีความพยายามจากทางการไทยให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคนซื้อประกันชีวิตเมื่อเดินทางมายังประเทศไทย แต่ภาคเอกชนของไทย มองว่าอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยถึงร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ซึ่ง นพ.เฉลิมพงษ์ เสนอแนะว่า ควรมีมาตรการให้นักท่องเที่ยวจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าภูเก็ตเป็นเงิน 1 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 30 บาท เพื่อเป็นกองทุนชำระค่ารักษาพยาบาล แต่ก็ถูกคัดค้านเนื่องจากข้อกังวลว่าแล้วใครจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดสมควรได้รับเงินจำนวนนี้

เช่นเดียวกับ Sarayut Ramarn บุรุษพยาบาลประจำ รพ.วชิระภูเก็ต ที่กล่าวเสริมว่า ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับคุณภาพที่ลดลง นักท่องเที่ยวมักเตรียมเงินมาสำหรับเป็นค่าที่พัก อาหารและการเฉลิมฉลอง แต่ไม่เผื่อสำหรับการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ในปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.2560-ก.ย.2561) รพ.วชิระภูเก็ต รับผู้ป่วยเป็นชาวต่างชาติจำนวน 9,000 คน ทั้งที่เป็นชาวรัสเซีย จีนและฝรั่งเศส แต่ในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งค้างค่ารักษา

รายงานของสื่อญี่ปุ่น กล่าวต่อไปว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติไปเยือนประเทศไทยถึง 38 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ถึงเท่าตัว โดยในจำนวนนี้ 14 ล้านคนเดินทางไปยังเกาะภูเก็ต ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของไทย เปิดเผยว่า ยอดค้างชำระค่ารักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ณ เดือน ก.ย. 2562 อยู่ที่ 448 ล้านบาท ซึ่ง ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ (Akom Praditsuwan) รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ยอมรับว่า การติดตามให้นักท่องเที่ยวมาชำระค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องยาก เพราะหลายรายไม่ได้ให้ข้อมูลการติดต่อที่เป็นความจริง

ไม่เฉพาะแต่ประเทศไทย โรงพยาบาลในญี่ปุ่นเองก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยจากนโยบายดึงเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยในปี 2561 มีชาวต่างชาติไปเยือนแดนอาทิตย์อุทัยถึง 31 ล้านคน และรัฐบาลญี่ปุ่นหวังว่าจะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้ได้ถึง 60 ล้านคนในปี 2573 แต่ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า ที่ Tokyo's National Center for Global Health and Medicine มีผู้ป่วยชาวต่างชาติอย่างน้อย 3 คน ไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ ในจำนวนนี้มี 1 คนที่ถูกเรียกเก็บถึง 10 ล้านเยน และมีอีก 1 คนที่หายตัวไปโดยค้างค่ารักษาจำนวน 1 ล้านเยน

ยาสุโอะ สุกิอุระ (Yasuo Sugiura) ผู้อำนวยการ the hospital's International Health Care Center กล่าวว่า ร้อยละ 13 ของผู้ป่วยนอกเป็นชาวต่างชาติ ปัญหาคือคนเหล่านี้ไม่มีประกันชีวิตของนักท่องเที่ยว หรือมีแต่ไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะชดเชยค่ารักษาได้ตามจริง ทั้งนี้ในมุมหนึ่งกฎหมายของญี่ปุ่นห้ามปฏิเสธการรักษาผู้ป่วย แต่อีกมุมหนึ่ง ในปี 2561 ที่ผ่านมา ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ พบว่า ร้อยละ 18 ของโรงพยาบาลทั้งหมด 2,174 แห่ง ยังรอค่ารักษาค้างจ่ายจากชาวต่างชาติ เฉลี่ยแห่งละ 4.33 แสนเยน 

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบังคับให้นักท่องเที่ยวซื้อประกันชีวิต แต่ก็ยังมีอีกร้อยละ 27 ที่ไม่ครอบคลุม ทำให้โรงพยาบาลเริ่มหาทางรอดของตนเอง อาทิ Tokyo-based Aioi Nissay Dowa Insurance Co. เปิดตัวกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้โรงพยาบาลจ่ายเบี้ยประกันแล้วจะชดเชยให้กรณีมีผู้ป่วยค้างชำระค่ารักษา โดยตั้งแต่เดือน เม.ย. 2562 เป็นต้นมา มีโรงพยาบาลราว 10 แห่งในญี่ปุ่นให้ความสนใจกรมธรรม์ดังกล่าว

นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว ทั้งไทยและญี่ปุ่น ตลอดจนอีกหลายประเทศในทวีปเอเชียที่เข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัย ต่างต้องรับมือปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ยืดเยื้อของประชากรในประเทศ ทำให้รัฐบาลของประเทศเหล่านี้เริ่มออกมาตรการสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศระยะยาว เช่น ตั้งแต่ 31 ต.ค. 2562 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติที่ถือวีซ่าพักอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชากรวัยเกษียณ ต้องทำประกันชีวิตของตนเอง ส่วนในเกาหลีใต้ บังคับทำประกันชีวิตสำหรับชาวต่างชาติที่พักอาศัยเป็นเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

รศ.ยูจีน ตัน (Eugene Tan) นักวิชาการด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีวิธีแก้ปัญหาแบบง่ายๆ เพราะแม้รัฐบาลส่วนใหญ่จะเฝ้าระวังนักท่องเที่ยวที่ไม่ยอมจ่ายค่ารักษา แต่การบังคับใช้กฎหมายก็เป็นเรื่องท้าทาย หรือมาตรการบังคับทำประกันภัยชาวต่างชาติ จะส่งผลให้ประเทศนั้นไม่เป็นที่ดึงดูดในสายตานักท่องเที่ยว ส่วนการสร้างระบบประกันชีวิตจากใบเสร็จรับเงินการท่องเที่ยวเพื่อชดเชยให้โรงพยาบาล ก็มีคำถามว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการจะคุ้มหรือไม่

ไมเคิล เชียม (Michael Chiam) อาจารย์ด้านวิชาการท่องเที่ยว วิทยาลัยโพลีเทคนิคหงีอัน (Ngee Ann Polytechnic) สิงคโปร์ แนะนำว่า โรงพยาบาลควรบริหารด้วยความโปร่งใส และหากผู้ป่วยจะต้องชำระเงินเอง โรงพยาบาลต้องตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไรให้ดีที่สุดตามศักยภาพที่จ่ายได้ ด้าน ยูโกะ ชิคาโนะ (Yuko Shikano) ผู้ประสานงานด้านผู้ป่วยต่างชาติ NTT Medical Center Tokyo ญี่ปุ่น ให้ความเห็นว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการช่วยชีวิต แต่ในบางกรณีอาจมีวิธีควบคุมค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างกันไปตามผู้ป่วยแต่ละคน

ชิคาโนะ ยกตัวอย่างเมื่อ 2 ปีก่อน นักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์ วัย 50 เศษรายหนึ่ง มีอาการตกเลือดในสมองและต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วนและต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังจากนั้น ผู้ป่วยรายนี้ถูกเรียกเก็บค่ารักษาถึง 7 ล้านเยน แม้จะมีประกันชีวิตแต่ไม่ครอบคลุม ด้านภรรยาของผู้ป่วยขอให้โรงพยาบาลลดค่ารักษา ท้ายที่สุดโรงพยาบาลก็พยายามเท่าที่ทำได้ 

เช่น ลดการ CT Scan และตัดการกายภาพบำบัดออก ผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับฟิลิปปินส์ได้ และอีก 2 เดือนให้หลัง เขาก็กลับมาจ่ายค่ารักษาให้โรงพยาล ทั้งนี้สิ่งสำคัญอยู่ที่การได้รับความยินยอมในแผนการรักษาและค่าใช้จ่าย ซึ่งโรงพยาบาลที่แจ้งค่ารักษาให้ผู้ป่วยต่างชาติทราบล่วงหน้า ก็มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาที่ผู้ป่วยจะไม่ยอมจ่ายค่ารักษาในภายหลัง 

รศ.เซรินา โอคามุระ (Serina Okamura) นักวิชาการจาก มหาวิทยาลัยนานาชาติด้านสุขภาพและสวัสดิการ (International University of Health and Welfare) ญี่ปุ่น กล่าวว่า การให้ความยินยอมกับราคาเป็นเรื่องสำคัญ และการสื่อสารที่ไม่ดีนำไปสู่ปัญหาการไม่ชำระค่ารักษา ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวต้องร่วมมือกันเพื่อลดภาระในขณะที่ยังต้องการดึงดูดนักท้องเที่ยว 

รายงานข่าวปิดท้ายที่ความเห็นของ โทนี สมิธ (Tony Smith) ชายชาวนิวซีแลนด์ วัย 66 ปี ที่เพิ่งเดินทางไปยัง จ.ภูเก็ต ประเทศไทย และทำประกันภัยไว้ ว่า ด้านหนึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต้องทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น ในการให้ความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงจากการไม่มีหลักประกันครอบคลุม แต่อีกด้านหนึ่งก็อยู่ที่ความรับผิดชอบของตัวนักท่องเที่ยวเองด้วย

ขอบคุณเรื่องจาก : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Asia-Insight/Tourism-proves-hazardous-to-Thai-hospitals-financial-health

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ไปเที่ยวเมืองไทยต้องรู้! สื่ออินเดียตีข่าวข้อกำหนด‘แสดงหลักฐานการเงิน’กลับมาบังคับใช้อีกครั้ง ไปเที่ยวเมืองไทยต้องรู้! สื่ออินเดียตีข่าวข้อกำหนด‘แสดงหลักฐานการเงิน’กลับมาบังคับใช้อีกครั้ง
  • ‘ไทย’ว่าไง? ‘เวียดนาม’รับลูกสื่อ‘อินเดีย’ โวชาวภารตะไปเที่ยวพุ่ง ตั้งเป้าแข่งดึงต่างชาติเยือน ‘ไทย’ว่าไง? ‘เวียดนาม’รับลูกสื่อ‘อินเดีย’ โวชาวภารตะไปเที่ยวพุ่ง ตั้งเป้าแข่งดึงต่างชาติเยือน
  • \'เกาหลีเหนือ\'ปิดรับนักท่องเที่ยวแล้ว หลังเพิ่งเปิดเมืองไม่กี่สัปดาห์ 'เกาหลีเหนือ'ปิดรับนักท่องเที่ยวแล้ว หลังเพิ่งเปิดเมืองไม่กี่สัปดาห์
  • ไม่เกรงกลัวกันเลย! สื่อนอกตีข่าวนทท.ต่างชาติโชว์สยิวในไทย เกิดซ้ำซากทั้งที่ผิดกฎหมาย ไม่เกรงกลัวกันเลย! สื่อนอกตีข่าวนทท.ต่างชาติโชว์สยิวในไทย เกิดซ้ำซากทั้งที่ผิดกฎหมาย
  • ค่าเหยียบแผ่นดิน! ‘บาหลี’ประกาศเก็บภาษี‘นักท่องเที่ยวต่างชาติ’ ค่าเหยียบแผ่นดิน! ‘บาหลี’ประกาศเก็บภาษี‘นักท่องเที่ยวต่างชาติ’
  •  

Breaking News

หายใจก็ผิด!รองเลขาธิการนายกฯพ้อ‘แพทองธาร’โดนมุ่งดิสเครดิต

เปิดคำวินิจฉัย! กกต.ยกคำร้อง เลือก สว.ระดับจังหวัดบุรีรัมย์ ฮั้ว

สภา กทม.หารือ อบจ.ฉะเชิงเทรา แก้ปัญหาทิ้งขยะลงแม่น้ำ-ปล่อยน้ำเสียจากโรงงาน

รบกันทั้งคืน! 'ทหารเมียนมา-กะเหรี่ยง'ปะทะเดือด 'ผบ.ฉก.ราชมนู'สั่งเข้มชายแดนไทย 24 ชม.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved