วันพฤหัสบดี ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘mRNA’เทคโนโลยีผลิตวัคซีนโควิด‘ไฟเซอร์’ อาจถูกใช้รักษามะเร็งได้ในอนาคต

‘mRNA’เทคโนโลยีผลิตวัคซีนโควิด‘ไฟเซอร์’ อาจถูกใช้รักษามะเร็งได้ในอนาคต

วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564, 19.30 น.
Tag : โควิด ไฟเซอร์ รักษามะเร็ง วัคซีนโควิด mRNA
  •  

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2564 สำนักข่าว Voice of America สหรัฐอเมริกา เสนอข่าว COVID Vaccines Open Door for Cancer Treatments, Others ระบุว่า เทคโนโลยีใหม่อย่าง mRNA ที่ใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา อาจถูกนำไปต่อยอดเพื่อใช้รักษาโรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง และอื่นๆ ได้ในอนาคต โดยนักวิทยาศาสตร์กำลังใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการคัดเลือกระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเนื้องอก และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโจมตีผิดพลาด เช่นเดียวกับโรคประสาทส่วนกลางเสื่อม เทคโนโลยีใหม่อาจกำจัดโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ออกไปจากร่างกายได้

mRNA เป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่ถูกพัมนามานานหลายปี และวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนชนิดแรกที่ผลิตจากเทคโนโลยีนี้ ซึ่ง ดรูว์ ไวส์แมน (Drew Weissman) ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้แสดงให้โลกเห็นว่า วัคซีน RNA คืออะไรและสามารถทำอะไรได้บ้าง


RNA นั้นคล้ายกับ DNA ที่เป็นสารเก็บพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต “m” หมายถึงผู้ส่งสารในขณะที่ DNA เก็บพิมพ์เขียวพันธุกรรม mRNA จะทำให้ร่างกายสร้างชิ้นส่วนไวรัสขึ้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองหากมีไวรัสจริงๆ เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแบบเดิมที่มักใช้เชื้อที่ตายแล้วหรือถูกทำให้อ่อนแอลง การผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม หมายถึงการเจริญเติบโตของไวรัสปริมาณมากหรือบางส่วนไปเพาะเลี้ยงในระบบสิ่งมีชีวิตที่ละเอียดอ่อน เช่น ไข่ไก่ หรือถังเซลล์ จากนั้นนำมาทำให้บริสุทธิ์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย

วัคซีน mRNA ผลิตได้ง่ายและเร็วกว่านั้น RNA เป็นเพียงสายของโมเลกุลที่สามารถประกอบได้ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่วัคซีนโควิด-19 ที่ใชแทคโนโลยีนี้สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เล็งเห็นว่าน่าจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้รักษาโรคมะเร็ง เพราะในขณะที่ยาที่มีอยู่ทำงานด้วยการระบุเป้าหมายกลายพันธุ์เฉพาะที่มักพบในเซลล์มะเร็ง แต่วัคซีน mRNA สามารถปรับแต่งให้เข้ากับเนื้องอกของผู้ป่วยแต่ละรายได้ ซึ่งเนื้องอกแต่ละตัวมีการกลายพันธุ์ที่ไม่ซ้ำกัน

เช่น การสัมผัสกับแสงแดดจะทำลาย DNA ในพื้นที่สุ่มทั่วทั้งยีนของเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วย การกลายพันธุ์เหล่านี้บางส่วนทำให้เซลล์กลายเป็นมะเร็ง แต่การกลายพันธุ์นี้พบได้ในเซลล์มะเร็งเท่านั้น จึงเป็นเป้าหมายของระบบภูมิคุ้มกันในการโจมตีโดยไม่ทำร้ายเซลล์ที่แข็งแรงของผู้ป่วย การทดลองทางคลินิกระยะแรกของวัคซีน mRNA สำหรับใช้กับโรคมะเร็ง ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2560 ในวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงอย่าง Nature นักวิจัยของไบโฮเอ็นเทคและคณะ ได้นำเนื้องอกออกจากผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังจำนวน 13 ราย

คณะผู้วิจัยได้อ่านจีโนมของเซลล์มะเร็งทั้งหมดและระบุการกลายพันธุ์ 10 ครั้งในแต่ละเนื้องอก และให้วัคซีน mRNA กับผู้ป่วยโดยพิจารณาจากการกลายพันธุ์ของเนื้องอกของผู้ป่วยแต่ละราย จากนั้นอีก 1-2 ปีให้หลัง การตรวจสอบพบผู้ป่วย 8 ราย ไม่มีเนื้องอกเกิดขึ้นใหม่อีก ซึ่งเป็นอัตราที่สูงอย่างเหลือเชื่อ ในขณะที่ 1 ราย มีเนื้องอกกลับมาใหม่ แต่ก็ทุเลาลงเมื่อได้รับยาชนิดอื่น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องทำการศึกษากันต่อไปก่อน ถึงกระนั้น ไวส์แมน ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ ก็มองว่าเป็นผลลัพธ์ที่ยอดมาก

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ในขณะที่การรักษาเหล่านี้กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อให้โจมตี แต่ผู้พัฒนารายอื่นๆ กำลังพัฒนาวัคซีนที่กระตุ้นการล่าถอย เช่น ในผู้ป่วยโรคประสาทส่วนกลางเสื่อม ระบบภูมิคุ้มกันจะโจมตีปลอกไมอิลินที่อยู่รอบเส้นใยประสาท ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง อีกทั้งยังส่งผลกระทบกับการมองเห็นและอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง แต่การรักษาก็อาจส่งผลในการกวาดล้างระบบภูมิคุ้มกัน กลายเป็นทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อได้

นอกจากเป็นผู้โจมตีแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันยังมชุดเซลล์ที่ขัดขวางการทำงานของมันเอง และเป็นเซลล์กลุ่มนี้ที่นักวิจัยกำหนดเป้าหมายในการศึกษาล่าสุดที่ถูกเผยแพร่ใน Science วารสารวิชาการที่มีชื่อเสียงอีกฉบับหนึ่ง พวกเขาพัฒนาวัคซีนจากเทคโนโลยี mRNA เพื่อให้เหล่าผู้สร้างสันติภาพเข้าไปยับยั้งเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ไล่ล่าไมอีลิน ผลการทดลองกับหนูพบวัคซีนหยุดยั้งอาการในหนูที่ยังไม่ป่วยไม่ให้เกิดขึ้น และหยุดการลุกลามในหนูที่มีอาการป่วยแล้ว ไวส์แมน กล่าวว่า จนกว่าจะสามารถใช้กับมนุษย์ได้ แต่มันก็มีศักยภาพอย่างยอดเยี่ยม

รายงานข่าวยังกล่าวอีกว่า ไวส์แมนและคณะ กำลังทำงานกับวัคซีน mRNA เพื่อใช้รักษาโรคภูมิแพ้ประเภทต่างๆ รวมถึงโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ดังนั้นในขณะที่วัคซีนโควิด-19 คือวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA ชนิดแรกที่วางตลาด แต่มันก็อาจเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของภูเขาน้ำแข็ง สำหรับการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับการรักษาในอีกหลายโรค

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ทั่วโลกจับตา! จีนพบไวรัสโคโรนาพันธุ์ใหม่ในค้างคาว อาจแพร่เชื้อสู่คนได้เหมือน\'โควิด19\' ทั่วโลกจับตา! จีนพบไวรัสโคโรนาพันธุ์ใหม่ในค้างคาว อาจแพร่เชื้อสู่คนได้เหมือน'โควิด19'
  • ‘ทรัมป์’ลงนามคำสั่งกลาโหม เลิกชูเพศหลากหลาย-เรียกทหารไม่ฉีดวัคซีนโควิดกลับเข้าประจำการ ‘ทรัมป์’ลงนามคำสั่งกลาโหม เลิกชูเพศหลากหลาย-เรียกทหารไม่ฉีดวัคซีนโควิดกลับเข้าประจำการ
  • ผู้ติดเชื้อ‘HMPV’เพิ่มขึ้นทางภาคเหนือของ‘จีน’ ผวาซ้ำรอยโควิด-19 ผู้ติดเชื้อ‘HMPV’เพิ่มขึ้นทางภาคเหนือของ‘จีน’ ผวาซ้ำรอยโควิด-19
  • สภาคองเกรส‘สหรัฐฯ’สรุปรายงาน‘โควิด-19’ เชื่อไวรัสหลุดจากห้องแล็บที่‘จีน’ สภาคองเกรส‘สหรัฐฯ’สรุปรายงาน‘โควิด-19’ เชื่อไวรัสหลุดจากห้องแล็บที่‘จีน’
  • ‘อโกดา’คาดปี 68 ภาคท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนยุคโควิด ‘อโกดา’คาดปี 68 ภาคท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนยุคโควิด
  • แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับ วัคซีนโควิด มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด-เกล็ดเลือดต่ำ แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับ วัคซีนโควิด มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือด-เกล็ดเลือดต่ำ
  •  

Breaking News

ชำแหละ 4 ข้อ 'ทักษิณ'โชว์วิสัยทัศน์! 'หลงยุค หลงตัวเอง ขายฝัน แก้ตัว'

'ยุน ซอกยอล'อดีตปธน.เกาหลีใต้ติดคุกอีกรอบ ศาลอนุมัติหมายจับหวั่นหลักฐานถูกทำลาย

'วัส ติงสมิตร'ชี้'หมอ-พยาบาล-จนท.ราชทัณฑ์'ไม่รอด เตรียมรับวิบากกรรม ป่วยทิพย์ชั้น 14

นักธุรกิจการเมืองทำรัฐล้มเหลว! 'สมชาย'ชี้คอร์รัปชันเชิงนโยบาย บ่อนทำลายพลังอำนาจแห่งชาติ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved