วันอาทิตย์ ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
รมต.ศึกษาฯ‘ยูกันดา’สั่งปิดภาคเรียนเร็วกว่ากำหนด ลดเสี่ยง‘อีโบลา’ระบาดในเด็ก

รมต.ศึกษาฯ‘ยูกันดา’สั่งปิดภาคเรียนเร็วกว่ากำหนด ลดเสี่ยง‘อีโบลา’ระบาดในเด็ก

วันพฤหัสบดี ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565, 22.21 น.
Tag : ปิดภาคเรียน ยูกันดา โรคระบาด อีโบลา
  •  

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เว็บไซต์สถานีวิทยุ National Public Radio (NPR) สหรัฐอเมริกา เสนอข่าว Uganda ends school year early as it tries to contain growing Ebola outbreak ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการและการกีฬาของประเทศยูกันดา ประกาศสิ้นสุดปีการศึกษา ของปี 2565 ในวันที่ 25 พ.ย. 2565 เร็วกว่ากำหนด 2 สัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงของเด็กและเยาวชนในการติดเชื้อไวรัสอีโบลา ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. 2565 ที่เริ่มนับการระบาดระลอกล่าสุดอย่างเป็นทางการ มีผู้ติดเชื้อสะสมแล้ว 135 คน เสียชีวิตแล้ว 53 ราย ในจำนวนนี้มีเด็กติดเชื้อ 23 คน และเสียชีวิต 8 ราย

เจเน็ต คาตาฮา มูเซเวนี (Janet Kataha Museveni) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬาของประเทศยูกันดา กล่าวว่า การปิดโรงเรียนเร็วขึ้นจะช่วยลดโอกาสที่เด็กจะพบเจอกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ตลอดจนครูหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่อาจแพร่เชื้อได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อต้นเดือน พ.ย. 2565 เจน รูธ อาเซ็ง (Jane Ruth Aceng) รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขยูกันดา เสนอให้ปิดโรงเรียน เบื้องเต้นได้รับการสนับสนุนจากสหภาพครูแห่งชาติยูกันดา


ปีการศึกษาที่สั้นลงยังมีผลมาจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนรู้ของนักเรียน แต่อีโบลานั้นเป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อที่อันตรายที่สุดในโลก ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ มีเลือดออก และอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 50 และการระบาดระลอกปัจจุบันในยูกันดา อัตราการเสียชีวิตใกล้ถึงร้อยละ 30 แล้ว อีโบลาส่วนใหญ่ระบาดในทวีปแอฟริกา โดยการติดเชื้อเกิดขึ้นได้หากสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

สถานการณ์การระบาดของไวรัสอีโบลาในขณะนี้ ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเตรียมรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด โดย เคธี แจนเซน (Cathy Janssens) ผู้ประสานการแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายแพทย์ไร้พรมแดน เปิดเผยว่า สถานการณ์ที่พบน่าตกใจมากขึ้นเรื่อย เช่นเดียวกัน มาร์ค เฟนเบิร์ก (Mark Feinberg) ซีอีโอของ International AIDS Vaccine Initiative (IAVI) ที่กล่าวว่า สัญญาณน่าเป็นห่วง การระบาดได้ลามไปยังชุมชนในเมืองใหญ่ๆ นั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย

การระบาดของไวรัสอีโบลาระลอกปัจจุบัน เป็นเชื้อสายพันธุ์ซูดาน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับสายพันธุ์นี้ ต่างจากครั้งก่อนๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นไวรัสสายพันธุ์ซาอีร์ ซึ่งมีการพัฒนาวัคซีนที่ใช้งานได้กับสายพันธุ์ดังกล่าวแล้วมาตั้งแต่ปี 2561 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีวัคซีนต้นแบบ 3 ชนิดที่กำลังจะนำมาทดสอบกับไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ซูดาน ประกอบด้วยวัคซีนที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สถาบันซาบิน และบริษัทเมิร์ค

เฟนเบิร์ก ยังกล่าวถึงวัคซีนที่ IAVI พัฒนาร่วมกับเมิร์ค ว่า โรคต่างๆ มีความคล้ายกัน วัคซีนมีความคล้ายกัน จึงคาดว่าประสิทธิภาพจะคล้ายกัน แต่ก็ยังต้องรอการพิสูจน์ ขณะที่องค์การอนามัยโลก รายงานเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2565 ว่า สถาบันปอด มหาวิทยาลัยมาเกเรเร ในกรุงคัมปาลาของยูกันดา จะเป็นเจ้าภาพทดสอบวัคซีน ภายใต้การสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก รวมถึง CEPI และ GAVI 2 องค์กรระหว่างประเทศที่มุ่งจัดหาวัคซีนเพื่อสาธารณะประโยชน์

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ยังมีความหวังว่าการระบาดอาจสิ้นสุดลงก่อนวัคซีนได้ทำการทดลอง โดย เฟนเบิร์ก ให้ความเห็นว่า กรณีที่ดีที่สุดคือการระบาดจบลงเพราะมาตรการด้านสาธารณสุขโดยไม่มีโอกาสทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน ขณะที่ แจนเซน กล่าวว่า เครือข่ายแพทย์ไร้พรมแดน มีประสบการณ์รับมือการระบาดของไวรัสอีโบลา แม้จะไม่มีวัคซีนก็ตาม

มาตรการสาธารณสุขนั้นหมายถึงการล็อกดาวน์ จำกัดการเดินทางสำหรับกลุ่มเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และการฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขระดับหมู่บ้านในการสื่อสารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน รวมถึงล่าสุดคือการปิดภาคเรียนเร็วกว่ากำหนด เพื่อป้องกันการระบาดในกลุ่มนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ทั้งนี้แม้การติดไวรัสอีโบลาแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง แต่ก็มีหลายคนที่รอดชีวิตเช่นกัน อาทิ แมทธิว ทารกวัย 7 เดือนและแม่

แจนเซน เล่าถึงแม่-ลูกที่ติดเชื้อนี้ว่า ผู้เป็นแม่นั้นตรวจพบเชื้อก่อน ส่วนลูกชายตรวจพบในอีก 2-3 วันให้หลัง แต่ตอนนี้ทั้งคู่หายป่วยออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว การรักษาทำโดยการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ รวมถึงยาและโมโนโคนอลแอนติบอดี การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกของการติดเชื้อจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นบวกมากที่สุด และการฟื้นตัวของแม่-ลูกคู่นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัตืการฉุกเฉินแบบแจนเซน ยอมเสี่ยงเพื่อสร้างปาฏิหาริย์

“นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงทำแบบนั้น การได้เห็นรอยยิ้มของแม่ และความจริงที่ว่าแมทธิวกระตือรือร้นที่จะกินและเคลื่อนไหวอย่างไร นั่นล้วนเป็นสัญญาณที่ดีของทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพดีใน 7 เดือน ใช่ไหมล่ะ? พวกเขามีความสุขมากที่ได้กลับบ้าน และฉันก็รู้สึกยินดี” แจนเซน กล่าว

- 006

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘ลาว’ผวา‘แอนแทรกซ์’ลามข้ามแดน! ห้ามนำเข้าสัตว์-สั่งพ่นยาฆ่าเชื้อยานพาหนะจาก‘ไทย’ ‘ลาว’ผวา‘แอนแทรกซ์’ลามข้ามแดน! ห้ามนำเข้าสัตว์-สั่งพ่นยาฆ่าเชื้อยานพาหนะจาก‘ไทย’
  • หัดระบาดในสหรัฐ! เด็กเสียชีวิต 2 ราย ติดเชื้อพุ่งกว่า 600 คน หัดระบาดในสหรัฐ! เด็กเสียชีวิต 2 ราย ติดเชื้อพุ่งกว่า 600 คน
  • แผ่นดินไหว‘เมียนมา’ยอดดับสะสมกว่า3,400ราย ห่วง‘โรคระบาด’ซ้ำเติมผู้รอดชีวิต แผ่นดินไหว‘เมียนมา’ยอดดับสะสมกว่า3,400ราย ห่วง‘โรคระบาด’ซ้ำเติมผู้รอดชีวิต
  • ‘ชาติลุ่มน้ำโขง’น่าห่วง! สื่อนอกตีข่าวแก๊งลอบขนโคข้ามแดน ต้นตอทำโรคปศุสัตว์ระบาด ‘ชาติลุ่มน้ำโขง’น่าห่วง! สื่อนอกตีข่าวแก๊งลอบขนโคข้ามแดน ต้นตอทำโรคปศุสัตว์ระบาด
  • สูญหายนับร้อย! ดินโคลนถล่มหมู่บ้านใน\'ยูกันดา\' ดับแล้ว 15 ศพ สูญหายนับร้อย! ดินโคลนถล่มหมู่บ้านใน'ยูกันดา' ดับแล้ว 15 ศพ
  • นักวิ่งมาราธอนหญิงยูกันดาตายแล้ว หลังถูกแฟนเก่ารายน้ำมัน-จุดเผาทั้งเป็น นักวิ่งมาราธอนหญิงยูกันดาตายแล้ว หลังถูกแฟนเก่ารายน้ำมัน-จุดเผาทั้งเป็น
  •  

Breaking News

'อดีต ส.ว.สมชาย'สรุปฟังไต่สวนพยานคดีชั้น 14 บอกพยานเท็จอาการหนักมาก!!!

น้ำใจทหารไทย! เปิดด่านฉุกเฉินส่ง'อดีตรองเสธ.กัมพูชา' ป่วยมะเร็ง กลับบ้านอย่างอบอุ่น

ครั้งแรกในรอบ102ปี! 'ฝรั่งเศส'เปิดให้พลเมืองเล่นน้ำในแม่น้ำแซน การันตีคุณภาพน้ำดีเยี่ยม

ไม่ใช่มีแค่ถนนพระราม 2 สะพานพระราม 4 เกิดเหตุป้ายเหล็กขนาดใหญ่ตกใส่รถพังเสียหาย

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นายปรเมษฐ์ ภู่โต
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2025 Naewna.com All right reserved