วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
ประชากรเชื้อสายอาร์เมเนีย แห่อพยพออกจากนาการ์โน-คาราบัค แม้อาเซอร์ไบจานรับปากคุ้มครองสิทธิ

ประชากรเชื้อสายอาร์เมเนีย แห่อพยพออกจากนาการ์โน-คาราบัค แม้อาเซอร์ไบจานรับปากคุ้มครองสิทธิ

วันอังคาร ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566, 12.43 น.
Tag : อาร์เมเนีย นาการ์โน คาราบัค ข่าวต่างประเทศ
  •  

ประชากรเชื้อสายอาร์เมเนีย แห่อพยพออกจากนาการ์โน-คาราบัค แม้อาเซอร์ไบจานรับปากคุ้มครองสิทธิ

26 ก.ย. 2566 สื่อต่างประเทศรายงาน ประชากรเชื้อสายอาร์เมเนียที่อาศัยอยู่ในดินแดน “นาการ์โน-คาราบัค” พากันอพยพหลังจากอาร์เซอร์ไบจานยกกองทัพเข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัยและสิทธิเสรีภาพ โดยสำนักข่าว Politico ของเยอรมนี เสนอรายงานพิเศษ ‘We know we aren’t going back’: Nagorno-Karabakh Armenians face up to a life in exile ว่าด้วยชะตากรรมของคนกลุ่มนี้


ที่โรงแรมในเมืองกอริส ทางภาคใต้ของประเทศอาร์มเนีย บริเวณล็อบบี้ เด็กๆ จับถุงพลาสติกที่เต็มไปด้วยขนม ในขณะที่ผู้สูงอายุรวมตัวกันรอบๆ ชายคนหนึ่งดึงยาออกจากกล่องทีละคน ตะโกนชื่อและส่งยาให้ บนโซฟาตรงหัวมุม คู่สามีภรรยาสูงอายุหูหนวกสื่อสารภาษามือให้กันและกัน ขณะที่ด้านนอกรถบรรทุกเปิดประทุนหลายสิบคันก็ส่งเสียงดังกึกก้องผ่านไป ผู้โดยสารด้านหลังกำลังหลบฝนภายใต้แผ่นพลาสติก โรงแรมที่นี่เป็นจุดพักแรกสำหรับผู้ที่อพยพมาจากนาการ์โน-คาราบัค และต้องการหาที่ลี้ภัยในอาร์เมเนีย และภาพดังกล่าวกำลังพบเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ 

ข้อมูลจากทางการอาร์เมเนีย ระบุว่า ในดินแดนนาการ์โน-คาราบัค มีประชากรประมาณ 1 แสนคน คาดว่าในเบื้องต้นมีประมาณ 5,000 คนได้อพยพไปแล้ว ขณะที่ภาพถ่ายจากเมือง สเตพานาเกิร์ท (Stepanakert) เมืองหลวงทางพฤตินัยของดินแดนนาการ์โน-คาราบัค หรือที่คนในพื้นที่เรียกว่าประเทศอาร์ตซัคห์ (Artsakh) แสดงให้เห็นยานพาหนะที่ต่อคิวยาวเหยียดเพื่อออกเดินทาง โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพจากรัสเซียคอยคุ้มกัน

ขณะเดียวกัน ที่สถานีช่วยเหลือฉุกเฉินของกาชาดบริเวณชายแดน องค์กรด้านมนุษยธรรมและรัฐบาลกำลังดิ้นรนเพื่อรับมือกับตัวเลขที่หลั่งไหลเข้ามา ฟ้าผ่าดังลั่นและทันใดนั้นไฟฟ้าก็ดับลง ทิ้งเต็นท์ที่เต็มไปด้วยครอบครัวจำนวนมากนั่งอยู่ในความมืด ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการลงทะเบียนก็ใช้การไม่ได้เนื่องจากไฟดับ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 2566 คนเชื้อสายอาร์เมเนียจากเมืองนากอร์โน-คาราบาคห์ ได้ขนทรัพย์สินจำนวนเล็กน้อยที่พวกเขาสามารถพกพาไปได้ใส่ลงในท้ายรถและถุงซักผ้า โดยบรรทุกไว้ในรถยนต์และรถโดยสาร

เลียนา (Liana) นางพยาบาลวัย 36 ปี กล่าวว่า ตนขนเสื้อผ้าออกมาเพียงใส่เป้สะพายหลังได้เท่านั้น ตนกับสามีและลูกๆ สามารถออกจากเมืองได้ ตนได้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิไบายได้ และหลังจากนี้จะอยู่ร่วมกับอาเซอร์ไบจานได้อย่างไร ขณะที่พี่ชายของเลียนา ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส ถูกส่งตัวไปรักษาที่กรุงเยเรวาน เมืองหลวงของอาร์เมเนีย ทั้งนี้ ทางการอาเซอร์ไบจานยังคงเดินหน้าการเจรจาเพื่อให้ดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้การปกครองของอาเซอร์ไบจาน และต้องการ “บูรณาการใหม่ (Re-Integrate)” ประชากรเชื้อสายอาร์เมเนียในภูมิภาคนี้

ฮิคเม็ท ฮาจิเยฟ (Hikmet Hajiyev) ที่ปรึกษาระดับสูงด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ยืนยันว่า การอพยพที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการบังคับโดยกองทัพ และรัฐบาลอาเซอร์ไบจานก็รู้สึกเสียใจในความไม่มั่นใจในความสามารถที่จะรักษาสิทธิและความปลอดภัยของพวกเขา แต่นั่นคือการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของประชากร พวกเขามีทางเลือก ขณะที่เมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 เรเซ็ป ไตยิป เออร์โดกัน (Recep Tayyip Erdogan) ประธานาธิบดีตุรกี เดินทางไปเยือนอาเซอร์ไบจาน และพบกับ อิลแฮม อาลีเยฟ (Ilham Aliyev) ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน โดยผู้นำตุรกีกล่าวชื่นชมปฏิบัติการที่รวดเร็วกินระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมงของกองทัพอาเซอร์ไบจาน อันเป็นประเทศพันธมิตรของตุรกี

สถานที่ที่ผู้นำตุรกีและอาเซอร์ไบจานพบกันคือเมืองนัคห์ชิวาน (Nakhchivan) ให้เบาะแสบางอย่างเกี่ยวกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ถัดไปของอาเซอร์ไบจาน เนื่องจากพวกเขาต้องการเชื่อมโยงดินแดนภูเขาที่โดดเดี่ยวนี้กับส่วนอื่นๆ ของประเทศมาโดยตลอดผ่านทางเดิน ซังก์เซอร์ (Zangezur) ข้ามอาร์เมเนีย ไปตามชายแดนติดกับประเทศอิหร่าน เป็นความทะเยอทะยานที่อิหร่านมองมานานแล้วด้วยความกังวลอย่างยิ่ง (หมายเหตุ : แม้เมืองนัคห์ชิวานจะอยู่ในอาเซอร์ไบจาน แต่ก็ตัดขาดจากดินแดนส่วนอื่นๆ ที่เหลือ โดยมีดินแดนของประเทศอาร์เมเนียกั้นกลางอยู่)

ผู้นำตุรกีกล่าวว่า เป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจที่ปฏิบัติการเสร็จสิ้นได้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้น โดยมีความอ่อนไหวต่อสิทธิของพลเรือนอย่างที่สุด ขณะที่ ฮาจิเยฟ อ้างว่าข้อตกลงสันติภาพที่ครอบคลุมระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียนั้นใกล้เข้ามามากขึ้นกว่าเดิม และรัฐบาลของตนมีเป้าหมายที่จะรักษาสิทธิ์ในทางเดินซังก์เซอร์ซึ่งเชื่อมโยงนัคห์ชิวานกับส่วนที่เหลือของประเทศ

ในตอนนี้ ความทะเยอทะยานของอาเซอร์ไบจานที่มีต่อทางเดิน Zangezur ยังคงเป็นความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น ในขณะที่ชาวอาร์เมเนียต้องดิ้นรนเพื่อรับมือกับการล่มสลายของบ้านเกิดของบรรพบุรุษในนาการ์โน-คาราบัค หน่วยงานบริหารดินแดนดังกล่าว เปิดเผยเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 ว่า เนื่องจากสภาพการจราจรติดขัดโดยเฉพาะบนทางหลวงเชื่อมระหว่างเมืองสเตพานาเกิร์ทกับเมืองกอริส จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการขนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และการนำเข้าเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและสินค้าด้านมนุษยธรรม

ขณะเดียวกัน ประชาชนยังแห่กันไปกักตุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้การจราจรบริเวณถนนใกล้ปั๊มน้ำมันติดขัด ส่งผลกระทบต่อคนที่ยังไปทำงานตามปกติในเมือง จึงเรียกร้องให้ผู้คนอยู่บ้าน แต่ก็ให้ความมั่นใจกับสาธารณชนว่าใครก็ตามและทุกคนที่ต้องการออกจากบ้านจะสามารถออกไปได้ทันเวลา ซึ่งแม้ ฮาจิเยฟ ให้คำมั่นว่าอาเซอร์ไบจานจะรับรองสิทธิในทรัพย์สินและการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี แต่ผู้อพยพหลายคนก็กังวลว่าคงไม่มีบ้านให้กลับอีกแล้ว ด้านรัฐบาลอาร์เมเนียที่กำลังสู้รบ ซึ่งกำลังเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่เกี่ยวกับการจัดการวิกฤติ อาจต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบ้าน โรงเรียน และงานของผู้คนนับหมื่นที่สูญเสียแทบทุกอย่างที่พวกเขามีจะสามารถหาทดแทนได้

ปาร์เกฟ อกาบับยัน (Parkev Agababyan) ชายวัย 43 ปี ต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยหนที่ 2 โดยเขาเล่าว่า ตนเกิดในยุคสมัยสหภาพโซเวียต ในเมืองบากู ที่ต่อมาจะกลายเป็นเมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน จากนั้นได้เกิดสงครามกับอาร์เมเนีย ทำให้ตนต้องอพยพไปอยู่ในดินแดนนาการ์โน-คาราบัค และสหภาพโซเวียตก็ล่มสลายลง ชายหนุ่มตั้งถิ่นฐานในเมืองอัสเคราน (Askeran) แต่งงานและมีลูก 2 คน อายุ 10 และ 13 ปี กระทั่งล่าสุดครอบครัวนี้ต้องอพยพอีกครั้งมายังเมืองกอริส ด้วยทรัพย์สินที่พอจะขนออกจากบ้านมาได้

“เราต้องออกไป แม้เรามีทหาร 10,000 นาย แต่ก็ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์แบบที่ชาวอาเซอร์ไบจานมี เมื่อเราข้ามชายแดน ชาวอาเซอร์ไบจานบอกเราว่าจะไม่มีปัญหา พวกเขาเพิ่งตรวจสอบเอกสารของเรา แต่ตอนนี้เราอยู่ที่นี่ เราไม่สามารถเรียกญาติให้ตามมาได้ ที่อัสเคราน เรามีบ้าน รถยนต์ และสวนที่เต็มไปด้วยแตงกวาและมะเขือเทศ ที่นั่นผมมีทุกอย่าง แต่ตอนนี้ผมไม่มีอะไรเลย ผมยังต้องทิ้งเงินไว้ 2 ล้านแดรม (Dram-สกุลเงินของนาการ์โน-คาราบัค หรืออาร์ตซัคห์) ที่นั่น ซึ่งเทียบเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 ปีต่อปี และเรารู้ว่าจะไม่กลับไป” อกาบับยัน กล่าว

สถานีโทรทัศน์ France24 ของฝรั่งเศส เสนอข่าว Thousands flee enclave as Azerbaijan, Armenia envoys to meet ระบุว่า ในวันที่ 26 ก.ย. 2566 จะมีการพบกันของผู้นำประเทศอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนีย ที่กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยียม ซึ่งเป็นการพบกันครั้งแรกหลังจากอาร์เซอร์ไบจานยกกองทัพเข้ายึดดินแดนนาการ์โน-คาราบัค เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และทำให้กองกำลังติดอาวุธของผู้มีเชื้อสายอาร์เมเนีย ซึ่งควบคุมพื้นที่อยู่ประกาศวางอาวุธ 

ไซมอน มอร์ดู (Simon Mordue) หัวหน้าที่ปรึกษาทางการทูตของ ชาร์ลส์ มิเชล (Charles Michel) ประธานสถายุโรป จะนั่งเป็นประธานการเจรจาระหว่างคู่พิพาททั้ง 2 ชาติ ขณะที่ชาติยักษ์ใหญ่ของสหภาพยุโรป (EU) อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี จะส่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของประเทศเข้าร่วมโต๊ะเจรจาด้วย ขณะที่ในประเทศอาร์เมเนีย มีผู้ลี้ภัยจำนวน 6,650 คน เดินทางไปถึงเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา โดยมีการใช้พื้นที่โรงละครในเมืองกอริสเป็นกองอำนวยการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำหรับเป็นจุดลงทะเบียนเพื่อการขนส่งและการอยู่อาศัย

ดินแดนนาการ์โน-คาราบัค เป็นพื้นที่พิพาทระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานมา 3 ทศวรรษ โดยดินแดนดังกล่าวแม้ในทางสากลจะถูกยอมรับว่าอยู่ภายใต้เขตอำนาจอธิปไตยของอาเซอร์ไบจาน แต่ก็เป็นดินแดนที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอาร์เมเนีย การยกทัพบุกนาการ์โน-คาราบัค โดยอาเซอร์ไบจาน อย่างรวดเร็วเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566 ทำให้กองกำลังแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ตัดสินใจวางอาวุธให้เช้าวันต่อมา แต่ก่อนหน้านั้น อาเซอร์ไบจานได้ทำการปิดล้อมพื้นที่ยาวนานกว่า 9 เดือน ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเสบียง

สื่อของรัฐบาลอาร์เซอร์ไบจาน กล่าวว่า ทางการอาเซอร์ไบจานได้จัดการเจรจาสันติภาพรอบที่สองกับชุมชนคนเชื้อสายอาร์เมเนียในพื้นที่นากอร์โน-คาราบาคห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถกลับคืนสู่สังคม แต่อีกด้านหนึ่ง การจราจรบนท้องถนนนั้นติดขัดเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวต่างพากันอพยพมุ่งหน้าสู่ประเทศอาร์เมเนีย 

ขอบคุณเรื่องจาก

https://www.politico.eu/article/we-know-we-arent-going-back-nagorno-karabakh-armenians-face-up-to-a-life-in-exile-refugees/

https://www.france24.com/en/live-news/20230926-thousands-flee-enclave-as-azerbaijan-armenia-envoys-to-meet

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://www.naewna.com/inter/758005

ปมพิพาทนาการ์โน-คาราบัค เดือดครั้งใหญ่-เสี่ยงสงครามปะทุรอบ 3

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • \'โรคหัด\'ระบาดหนัก! เกาหลีใต้-เวียดนาม-ไทยยอดพุ่ง เสี่ยงลามทั่วเอเชีย 'โรคหัด'ระบาดหนัก! เกาหลีใต้-เวียดนาม-ไทยยอดพุ่ง เสี่ยงลามทั่วเอเชีย
  • สายการบินปรับเส้นทาง-ยกเลิกไฟลท์ หลัง\'อินเดีย\'โจมตี\'ปากีสถาน\' สายการบินปรับเส้นทาง-ยกเลิกไฟลท์ หลัง'อินเดีย'โจมตี'ปากีสถาน'
  • ควันกัญชาคลุ้งเมือง! ชาว Lice ตุรกีอ่วม หลังตำรวจเผาของกลาง 20 ตัน ควันกัญชาคลุ้งเมือง! ชาว Lice ตุรกีอ่วม หลังตำรวจเผาของกลาง 20 ตัน
  • \'แคชเมียร์\'เงียบเหงา! ธุรกิจท่องเที่ยวทรุดหนักปมสังหารนักท่องเที่ยว26ราย 'แคชเมียร์'เงียบเหงา! ธุรกิจท่องเที่ยวทรุดหนักปมสังหารนักท่องเที่ยว26ราย
  • ปาฏิหาริย์มีจริง! พบหญิงหายตัวไป 62 ปี ยังมีชีวิต ปาฏิหาริย์มีจริง! พบหญิงหายตัวไป 62 ปี ยังมีชีวิต
  • เรือล่มกลางพายุในจีน! เสียชีวิต 9 สูญหายอีก 1 เรือล่มกลางพายุในจีน! เสียชีวิต 9 สูญหายอีก 1
  •  

Breaking News

เซ็กซี่ขยี้ใจ! 'จันจิ จันจิรา'อวดหุ่นสวยแซ่บในชุดบิกินีริมหาด

เปิดเนื้อหาฉบับเต็ม! 'กกต.-DSI'ออกหมายเรียก 53 สว. แจงคดีฮั้ว

ยก ‘ป.วิอาญา - พ.ร.บ.อุ้มหาย’ ดักคอ ‘ดีเอสไอ’ ลงพื้นที่สอบ ‘คดีฮั้ว สว.’

'สว.อลงกต'ย้ำชัด!พร้อมไปรับทราบข้อกล่าวหา‘คดีฮั้วเลือกสว.’ ถ้าหมายเรียกออกโดยกกต.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved