วันจันทร์ ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

เยียวยาจิตใจจากไฟสงคราม! ‘David’s Circle’พื้นที่ฟื้นฟูของชาวอิสราเอลในไทย

วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 22.53 น.
Tag : บาดแผลทางใจ เยียายา ฮามาส อิสราเอล PTSD เกาะพะงัน สงคราม
  •  

11 พ.ค. 2568 สำนักข่าวออนไลน์ The Times of Israel ของอิสราเอล เสนอรายงานพิเศษ On a serene Thai island, a holistic healing center provides relief for traumatized Israelis ว่าด้วยชาวอิสราเอลทั้งที่เป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์กลุ่มฮามาสบุกโจมตีเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 อดีตทหารที่พ้นจากภาระหน้าที่รับใช้ชาติ รวมถึงคนอื่นๆ เลือกที่จะเดินทางไปยัง “เกาะพะงัน” ในประเทศไทย โดยกล่าวถึงสถานที่ที่เรียกว่า “วงกลมของเดวิด (David’s Circle)” ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเยียวยาบาดแผลทางจิตใจของชาวอิสราเอลที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง

ดังตัวอย่างของ แดเนียล (Daniel) อดีตทหารที่เคยถูกส่งเข้าไปประจำการในดินแดนฉนวนกาซาอยู่หลายครั้ง กระทั่งเมื่อปลดประจำการได้เดินทางไปยังประเทศไทยพร้อมกับภรรยาและลูกๆ ชายผู้นี้ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาอารมณ์ไม่มั่นคง จนกระทั่งได้พบกับ เซเกฟ (Segev) อดีตเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจิตของกองทัพอิสราเอล และเมื่อได้พูดคุยกันก็รู้ถึงได้ถึงความหวัง


อดีตทหารผู้นี้ ยังจำได้ดีถึงวันแรกของการเข้ารับการบำบัด เวลานั้นตนรู้สึกย่ำแย่ มองไม่เห็นความหวังหรืออะไรที่เป็นไปได้ แต่เมื่อไปเข้ากระบวนการบำบัดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วันจันทร์และวันพุธ ราวกับการได้รับยาทีละเล็กน้อย ก็ทำให้ค่อยๆ รู้สึกถึงความมั่นคงมากขึ้น และสังเกตว่าเวิร์กช็อปศิลปะและการเชื่อมโยงชุมชนได้ช่วยเปลี่ยนแปลงตนเองไปอย่างไรบ้าง

ในปี 2567 ที่ผ่านมา มีชาวอิสราเอลมากกว่า 300,000 คนที่เดินทางไปยังประเทศไทย ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าชาวอิสราเอลที่เผชิญกับเหตุความรุนแรงเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 โดยตรง มากถึงร้อยละ 31 อาจมีอาการ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder : ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากการผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญหรือความรุนแรงที่กระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจ) ดังนั้น David’s Circle จึงเป็นแนวทางใหม่ในการเยียวยาชาวอิสราเอลในต่างแดน

เนื่องจากการบำบัดแบบดั้งเดิมไม่สามารถเข้าถึงผู้รอดชีวิตจำนวนมากที่ไม่สามารถจัดการกับความเจ็บปวดทางจิตใจของตนเองได้ในขณะที่รายล้อมไปด้วยความทรงจำเกี่ยวกับสงครามอยู่เสมอ สถานที่ที่ตั้งในป่าแห่งนี้จึงเป็นทางเลือกที่แตกต่างออกไป โดยการรักษาจะเกิดขึ้นผ่านการผสมผสานแบบองค์รวมของการสนับสนุนจากเพื่อน การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ กิจกรรมทางกาย และการเชื่อมโยงชุมชน แทนที่จะเป็นสภาพแวดล้อมทางคลินิกที่เป็นทางการ

นับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือน ก.ย. 2567 David’s Circle มีผู้ไปเยือนแล้วกว่า 900 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 21 – 26 ปี และครึ่งหนึ่งเป็นทหารที่เพิ่งปลดประจำการ 1 ใน 4 เป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. 2566 หรือผู้อยู่อาศัยบริเวณชุมชนชายแดน และอีก 1 ใน 4 เป็นผู้ที่ต้องรับมือกับความเจ็บปวดและความเศร้าโศกในรูปแบบต่างๆ

การศึกษาเชิงคุณภาพในปี 2568 จาก Tel Hai Academic College ซึ่งเป็นวิทยาลัยทางวิชาการในอิสราเอล พบว่าแนวทางที่ไม่ใช่การรักษาทางคลินิกของศูนย์ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมจัดการกับสิ่งที่นักวิจัยระบุว่าเป็นลักษณะทั่วไปของ “ความปั่นป่วนทางอารมณ์ ความไม่ไว้วางใจ และความไม่แน่นอนของการดำรงอยู่" ผ่านการเชื่อมโยงชุมชนและการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

เกาะพะงันเป็นดินแดนที่สวยงามของไทย คาดว่าที่นั่นมีชาวอิสราเอลพักอาศัยประมาณ 600 ครัวเรือน และยังมีผู้เดินทางมาเยือนแบบชั่วคราวอีกนับพันคน ยาเอล โชชานี-รอม (Yael Shoshani-Rom) ชาวอิสราเอลซึ่งเชี่ยวชาญด้านความทุกข์ทรมานทางจิตใจ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง David’s Circle โดยทำงานร่วมกับชาวอิสราเอลที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. 2566 เล่าว่า  มีผู้ป่วยหลายคนบอกว่าตนเองไม่สามารถรักษาได้ที่อิสราเอล เพราะสถานการณ์ที่นั่นเลวร้ายมาก มีปัจจัยที่กระตุ้นความรู้สึก เช่น เสียงไซเรนที่ดังอยู่ตลอดเวลา ทำให้ความเจ็บปวดทางจิตใจเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด

ยาเอล โชชานี-รอม (Yael Shoshani-Rom) ผู้ก่อตั้ง David’s Circle

เมื่อผู้รอดชีวิตจำนวนมากตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิด โชชานี-รอม กล่าวว่า ตนคิดถึงการสร้างสถานที่ที่คล้ายกับ Chabad House (สถานที่สำหรับประกอบศาสนกิจของชาวยิว) แต่สร้างขึ้นเพื่อการบำบัด ซึ่งชาวอิสราเอลสามารถเข้าไปเพื่อเยียวยาตนเองได้เมื่ออยู่ในต่างแดน กระทั่งได้รับความช่วยเหลือจาก Let's Do Something องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ก่อตั้งโดยเพื่อนของเดวิด นิวแมน (David Newman) หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2566 แนวคิดจึงเป็นจริงขึ้นมา

ผู้มาเยือนจะเข้าสู่ David’s Circle โดยผ่านประตูไม้ไผ่ตกแต่งสวยงามซึ่งจะนำไปสู่พื้นที่บำบัดแบบองค์รวม จังหวะในแต่ละวันจะผสมผสานกิจกรรมที่มีโครงสร้างเข้ากับเวลาที่ไม่มีโครงสร้าง โดยกิจกรรมส่วนใหญ่จะจัดขึ้นภายในโครงสร้างหลังคาขนาดใหญ่ที่แบ่งออกเป็นโซนต่างๆ ในพื้นที่สังสรรค์ ผู้เข้าร่วมจะได้เล่นเกมแบ็กแกมมอนและไพ่กันอย่างเข้มข้น ควันบุหรี่ลอยฟุ้งขึ้นมาพร้อมกับเสียงหัวเราะกับมุกตลกและร้องเพลงพื้นบ้านของอิสราเอล

มุมสตูดิโอศิลปะแบบเปิดโล่งเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ในขณะที่ผู้เข้าร่วมทำงานบนแมนดาลาอันซับซ้อนและโปรเจ็กต์สื่อผสม โดยมีภาพวาดสีสันสดใสที่แสดงถึงธีมของความยืดหยุ่นประดับประดาบนผนัง ในขณะเดียวกัน ในส่วนรับประทานอาหารส่วนกลาง ผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ จะเตรียมอาหารในครัวแบบเปิดโล่ง กลิ่นหอมของคูสคูสที่ทำเองฟุ้งกระจายไปทั่วและมอบความสบายใจผ่านรสชาติที่คุ้นเคยจากบ้าน

ที่ด้านหนึ่งของพื้นที่หลัก มีกองไฟที่ได้รับการดูแลอย่างดีรอการรวมตัวกันในตอนเย็น เมื่อพลบค่ำ ผู้เข้าร่วมจะรวมตัวกันเป็นวงกลมรอบเปลวไฟที่กำลังแตกพร่า เพื่อแบ่งปันเรื่องราว ประมวลผลอารมณ์ และค้นหาความเชื่อมโยงผ่านการสนทนาแบบมีคำแนะนำในหัวข้อต่างๆ ตั้งแต่การรับมือผ่านการต่อสู้จนถึงความยืดหยุ่นภายใน ข้ามแม่น้ำไปได้โดยสะพานลอยเล็กๆ จะพบกับศาลาซึ่งเป็นศาลาไทยแบบดั้งเดิมที่จัดเวิร์กช็อปต่างๆ ตั้งแต่การฝึกพูด การแช่น้ำแข็ง และการพูดคุยเกี่ยวกับการรับมือกับการนอนหลับไม่สนิทที่เกี่ยวข้องกับอาการ PTSD

“สิ่งที่ฉันหลงรักคือการที่คุณสามารถทำงานระดับมืออาชีพได้โดยใช้ความรู้ การวิจัย และเทคนิคขั้นสูงที่สุด แต่คุณไม่จำเป็นต้องไปคลินิกเพื่อทำงานนี้ คุณสามารถทำได้บนเก้าอี้พับ บนเสื่อ หรือในงานที่ดีต่อสุขภาพและเป็นส่วนหนึ่งของโลกของพวกเขา โดยไม่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ” โชชานี-รอม กล่าว

สิ่งที่ทำให้ David’s Circle แตกต่างจากสถานที่บำบัดอาการทางจิตแห่งอื่นๆ ไม่ใช่เพียงบรรยากาศที่ผ่อนคลายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการโอบรับรูปแบบการสนับสนุนจากเพื่อนฝูงด้วย โดย โชชานี-รอม อธิบายว่า บาดแผลทางจิตใจนั้นเกิดขึ้นร่วมกัน ดังนั้นแนวคิดก็คือการสร้างชุมชนที่รักษาและได้รับการเยียวยาในเวลาเดียวกัน

ยาร์เดน อาเชอร์ (Yarden Asher) ชายวัย 27 ปี อีกหนึ่งผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. 2566 และต่อมาได้รับการฝึกอบรมให้เป็นที่ปรึกษาของศูนย์บำบัดแห่งนี้ กล่าวว่า บทบาทที่ได้รับมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูตนเองด้วย ซึ่งการทำหน้าที่ที่นี่ทำให้ตนมีความหมาย เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเติบโตหลังผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ขั้นตอนนี้คือการตอบแทนสังคม เพราะหากจนถึง ณ เวลานี้ ตนได้รับ เรียนรู้ และได้รับความรู้จากผู้คน ขั้นตอนต่อไปคือการให้ ซึ่งหมายถึงการอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเป็นผู้ให้

อาเฮีย เมียร์ มาลุล (Ahia Meir Malul) ชายวัย 28 ปี หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. 2566 และสภาพจิตใจดีขึ้นหลังจากผ่านกระบวนการบำบัดที่ David’s Circle จากก่อนหน้านั้นที่พยายามดิ้นรนอยู่ในอิสราเอล กล่าวว่า คุณมีตัวตนมากกว่าแค่ปัญหาของคุณ คุณเป็นทั้งโลกในตัวมันเอง แต่เมื่อนักบำบัดพูดถึงแต่ปัญหา พวกเขาจะมองข้ามสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไปถึงร้อยละ 99

ในบรรดาผู้เข้าร่วม อาเฮีย มาลุล ซึ่งเป็นศิลปิน อาจเป็นตัวแทนของแก่นแท้ของศูนย์ในการรักษาผ่านความคิดสร้างสรรค์ การสนับสนุนจากเพื่อนฝูง และการเชื่อมโยง โดยเจ้าตัวได้กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนที่นั่นไม่ได้เป็นสิ่งที่กำหนดตัวตนของตนเอง สิ่งสำคัญคือการให้ความหวังและจุดประกายแสงสว่าง ภารกิจของตนคือการแสดงให้ผู้คนเห็นว่าการแปลงอารมณ์เป็นวัตถุและวาดถ้อยคำเป็นสีสันนั้นเป็นไปได้

ขอบคุณเรื่องและภาพจาก

https://www.timesofisrael.com/on-a-serene-thai-island-a-holistic-healing-center-provides-relief-for-traumatized-israelis/

043...

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว ละเมิดสิทธิเด็ก! ‘ยูเอ็น’ประณาม‘อิสราเอล’สั่งปิดโรงเรียนในเยรูซาเล็มตะวันออก อ้าง‘ฮามาส’แฝงตัว
  • เรือช่วยเหลือกาซาถูกโดรนถล่มกลางทะเล–NGO ชี้ชัด \'อิสราเอลอยู่เบื้องหลัง\' เรือช่วยเหลือกาซาถูกโดรนถล่มกลางทะเล–NGO ชี้ชัด 'อิสราเอลอยู่เบื้องหลัง'
  • บาดเจ็บอื้อ! โดรน\'รัสเซีย\'ถล่ม\'ยูเครน\' 2เมืองใหญ่พังยับ บาดเจ็บอื้อ! โดรน'รัสเซีย'ถล่ม'ยูเครน' 2เมืองใหญ่พังยับ
  • โพลเผย‘อิสราเอลเชื้อสายยิว’หนุนกองทัพโจมตี‘อิหร่าน’ โพลเผย‘อิสราเอลเชื้อสายยิว’หนุนกองทัพโจมตี‘อิหร่าน’
  • \'ปูติน\'ประกาศหยุดยิง\'ยูเครน\' 3 วัน เพื่อรำลึกวันแห่งชัยชนะสงครามโลก 'ปูติน'ประกาศหยุดยิง'ยูเครน' 3 วัน เพื่อรำลึกวันแห่งชัยชนะสงครามโลก
  • บุกตลาดยิว! ไตรมาสแรกปี’68 รถยนต์ไฟฟ้า‘จีน’ขายดีใน‘อิสราเอล’ บุกตลาดยิว! ไตรมาสแรกปี’68 รถยนต์ไฟฟ้า‘จีน’ขายดีใน‘อิสราเอล’
  •  

Breaking News

ล้มช้าง! เปิดผลเลือกตั้งเทศบาล‘อุดรธานี’แชมป์เก่าร่วงระนาว จิตอาสาซิวชัยที่‘บ้านดุง’

'สัมพันธ์'ขอบคุณชาวนราฯ โหวต'ทีมกล้าทำ'เป็นนายกเล็ก-สท.หลายพื้นที่

'โฆษก ปชป.'ย้ำกรณี'สจ.กอล์ฟ' ปล่อยไปตามกระบวนการยุติธรรม

เมืองกาญจน์ประกาศผล ‘เลือกตั้งนายกเล็ก’ อย่างไม่เป็นทางการแล้ว39แห่ง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved