วันพฤหัสบดี ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ต่างประเทศ
‘ทรัมป์’ฝ่าแรงต้าน! เซ็นคำสั่งคุมราคายาในสหรัฐฯ ขู่ยกระดับหากไม่คืบหน้า

‘ทรัมป์’ฝ่าแรงต้าน! เซ็นคำสั่งคุมราคายาในสหรัฐฯ ขู่ยกระดับหากไม่คืบหน้า

วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568, 17.36 น.
Tag : ทรัมป์ ยาแพง ราคายา สหรัฐอเมริกา
  •  

13 พ.ค. 2568 สำนักข่าวรอยเตอร์ เสนอรายงานพิเศษ What has Trump said about cutting drug prices? ว่าด้วยการตัดสินใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ในการลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2568 กำหนดให้บริษัทผลิตยาปรับลดราคาขายยาตามใบสั่งแพทย์ให้เท่ากับราคาที่ประเทศอื่น โดยรัฐบาลสหรัฐฯ จะกำหนดเป้าหมายราคายาให้บริษัทผลิตยาภายใน 1 เดือน แต่หากบริษัทยาไม่สามารถดำเนินการตามความคืบหน้าที่สำคัญ รัฐบาลก็อาจยกระดับมาตรการขึ้น เช่น ดำเนินการด้านกฎระเบียบ หรือรนำเข้ายาจากต่างประเทศ แม้ว่านักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจะระบุว่าแนวทางของผู้นำสหรัฐฯ อาจทำได้ยากก็ตาม

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทรัมป์มักวิพากษ์วิจารณ์อุตสาหกรรมยาอย่างรุนแรงเกี่ยวกับราคายาในสหรัฐฯ อีกทั้งตำหนิประเทศร่ำรวยอื่นๆ ด้วยว่าฉกฉวยผลประโยชน์ จากนวัตกรรมยาของสหรัฐฯ โดยในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกในปี 2560 ทรัมป์ได้โจมตีธุรกิจยาว่า "หนีรอดจากการฆาตกรรม" ในราคายาตามใบสั่งแพทย์ที่เรียกเก็บจากรัฐบาล


อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 ความพยายามของทรัมป์ที่จะใช้การอ้างอิงราคายากับต่างประเทศถูกศาลสั่งระงับ และในการหาเสียงชิงเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2567 ทรัมป์ กล่าวว่า ชาวอเมริกันถูกเรียกเก็บเงินค่ายาแพงเกินไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และให้คำมั่นว่าจะแก้ไขเรื่องนี้ และล่าสุดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2568 ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวว่า ตนต้องการปรับราคายาให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ด้วยมาตรการภาษีศุลกากร

เป็นเรื่องจริงที่ว่าชาวอเมริกันจ่ายค่ายาตามใบสั่งแพทย์แพงที่สุดในโลก โดยหากเปรียบกับประเทศกำลังพัฒนาแล้วอื่นๆ จะพบว่าแพงกว่าถึงเกือบ 3 เท่า อาทิ ยาละลายลิ่มเลือดที่ขายดีที่สุดอย่าง Eliquis จากบริษัท Bristol Myers Squibb และ Pfizer มีราคาขายในสหรัฐฯ อยู่ที่ 606 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับยา 1 เดือน และแม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ชุดก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Joe Biden) ได้เจรจาลดราคาลงเหลือ 295 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 1 หมื่นบาท) สำหรับ Medicare ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2569 แต่ยาชนิดเดียวกันมีราคา 114 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 3,900 บาท) ในสวีเดน และ 20 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 680 บาท) ในญี่ปุ่น

ในการรับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ สมัยที่ 2 เมื่อเดือน ม.ค. 2568 ทรัมป์ย้ำอีกครั้งเรื่องต้องการยุติปัญหาความเหลื่อมล้ำในเรื่องนี้ และในวันที่ 11 พ.ค. 2568 เขาได้โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social ประกาศว่าตนจะลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดราคาตาม "ประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์สูงสุด" หรือที่เรียกว่าการกำหนดราคาอ้างอิงระหว่างประเทศ คำสั่งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างระหว่างราคาของยาในสหรัฐฯ และต่างประเทศ โดยก่อนหน้านี้ในเดือน เม.ย. 2568 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นโยบายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม คำสั่งฝ่ายบริหารที่ออกมาในวันที่ 12 พ.ค. 2568 แตกต่างจากสิ่งที่บรรดาผู้ผลิตยาคาดหวังไว้ แหล่งข่าวจากกลุ่มล็อบบี้ยิสต์ ให้ข้อมูลก่อนการลงนามในคำสั่งว่าพวกเขาคาดว่าการกำหนดราคาตาม "ประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์สูงสุด" จะใช้กับยาสำหรับผู้ป่วยในโครงการ Medicare แต่ดูเหมือนว่าคำสั่งที่ออกมาจะใช้ได้กับยาทั้งหมด นอกจากนี้ ทรัมป์ยังผลักดันให้ผู้ผลิตยาเร่งการผลิตในสหรัฐฯ อีกด้วย โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการสอบสวนการนำเข้ายาเพื่อเรียกเก็บภาษีศุลกากร ด้วยเหตุผลว่าการพึ่งพาการผลิตยาจากต่างประเทศเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ

ในยุคสมัยของรัฐบาลไบเดน มีการออกกฎหมายลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) อนุญาตให้รัฐบาลเจรจาต่อรองราคาของยาที่มีราคาแพงที่สุดภายในโครงการ Medicare อย่างไรก็ตาม ราคาของยาตามใบสั่งแพทย์ 10 ตัวแรกที่เจรจาต่อรองยังคงสูงกว่าราคาเฉลี่ย 2 เท่า และในบางกรณีสูงกว่าราคาที่ผู้ผลิตยาตกลงกันไว้ถึง 5 เท่า ตามที่สำนักข่าวรอยเตอร์เคยรายงานไว้ก่อนหน้านี้

รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า บรรดาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาแสดงท่าทีคัดค้านอย่างรุนแรงต่อแนวโน้มที่ราคายาในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดยาที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะลดลงอย่างมาก อาทิ ในเดือน เม.ย. 2568  แหล่งข่าวในอุตสาหกรรม 2 ราย ให้ข้อมูลว่า ว่านโยบายดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับอุตสาหกรรมมากกว่ามาตรการอื่นๆ ของรัฐบาล เช่น การเก็บภาษีนำเข้ายา

กลุ่มล็อบบี้ยิสต์หลักในสหรัฐฯ สำหรับผู้ผลิตยา ซึ่งก็คือ Pharmaceutical Research and Manufacturers of America หรือ PhRMA กล่าวว่า เพื่อลดต้นทุนให้กับชาวอเมริกัน จำเป็นต้องแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ราคายาในสหรัฐฯ สูงขึ้น นั่นคือต่างประเทศไม่จ่ายส่วนแบ่งที่ยุติธรรม และคนกลางดันราคายาให้ผู้ป่วยในสหรัฐฯ สูงขึ้น เช่นเดียวกับ จอห์น โครว์ลีย์ (John Crowley) ซีอีโอของ BIO ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าหลักสำหรับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ระบุว่า  แนวคิดเรื่อง “ประเทศที่ได้รับความอนุเคราะห์สูงสุด” เป็นข้อเสนอที่มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง ซึ่งจะทำลายบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดเล็กและขนาดกลางในสหรัฐฯ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการอ้างอิงราคาจากประเทศอื่นนั้นมีความซับซ้อน เนื่องจากยาหลายชนิดที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ไม่สามารถหาซื้อได้ในต่างประเทศ และบางประเทศไม่เปิดเผยราคาที่จ่ายไปสำหรับยา หรือต้องใช้เวลาหลายปีในการเจรจาราคา ทั้งนี้ สหรัฐฯ ไม่ได้ซื้อยาโดยตรงให้กับระบบสุขภาพแห่งชาติ เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษและเยอรมนี แต่กลับอาศัยภาคเอกชนในการจัดการเจรจาราคายาสำหรับแผนสุขภาพของทั้งรัฐบาลและเอกชน

นักวิเคราะห์กล่าวว่าการบังคับใช้คำสั่งกว้างๆ ดังกล่าวอาจเป็นเรื่องยาก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย กล่าวว่า คำสั่งของฝ่ายบริหารอาจเผชิญกับความท้าทายทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกินขีดจำกัดที่กฎหมายสหรัฐฯ กำหนดไว้ รวมถึงการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

ขอบคุณเรื่องจาก

https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/what-has-trump-said-about-cutting-drug-prices-2025-05-12/

043...

(รอยเตอร์) 12 พ.ค. 2568 ที่ทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ โรเบิร์ต เอฟ.เคนเนดี จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐฯ แถลงข่าวร่วมกัน ในการออกคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี ว่าด้วยการกำหนดราคายาที่ต้องสั่งโดยแพทย์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • อยากเรียนต่อ‘สหรัฐฯ’ระวังการใช้โซเชียล นโยบายใหม่เข้มตรวจหา‘ทัศนคติไม่พึงประสงค์’ อยากเรียนต่อ‘สหรัฐฯ’ระวังการใช้โซเชียล นโยบายใหม่เข้มตรวจหา‘ทัศนคติไม่พึงประสงค์’
  • \'ทรัมป์\'เตือนชาวเตหะรานอพยพทันที หลังเพลิงสงครามตะวันออกกลางปะทุหนัก 'ทรัมป์'เตือนชาวเตหะรานอพยพทันที หลังเพลิงสงครามตะวันออกกลางปะทุหนัก
  • ปลอดภัยแต่ก็มีข้อควรระวัง! เปิดคู่มือ‘สหรัฐฯ’แนะนำพลเมืองเดินทางไปเที่ยวเมืองไทย ปลอดภัยแต่ก็มีข้อควรระวัง! เปิดคู่มือ‘สหรัฐฯ’แนะนำพลเมืองเดินทางไปเที่ยวเมืองไทย
  • ระวังแค่ชายแดนใต้! ‘สหรัฐฯ’ชี้ภาพรวม‘ไทย’ปลอดภัยสูงสุดสำหรับนักท่องเที่ยว ระวังแค่ชายแดนใต้! ‘สหรัฐฯ’ชี้ภาพรวม‘ไทย’ปลอดภัยสูงสุดสำหรับนักท่องเที่ยว
  • \'ทรัมป์\'ฮึ่ม! เตือน\'อิสราเอล\'หยุดแผนการลอบสังหาร\'ผู้นำสูงสุดอิหร่าน\' ชี้โลกอาจลุกเป็นไฟ 'ทรัมป์'ฮึ่ม! เตือน'อิสราเอล'หยุดแผนการลอบสังหาร'ผู้นำสูงสุดอิหร่าน' ชี้โลกอาจลุกเป็นไฟ
  • \'ทรัมป์\'ล็อกเป้า! จ่อแบนเพิ่ม36ประเทศห้ามเดินทางเข้าสหรัฐฯ \'กัมพูชา\'โดนด้วย 'ทรัมป์'ล็อกเป้า! จ่อแบนเพิ่ม36ประเทศห้ามเดินทางเข้าสหรัฐฯ 'กัมพูชา'โดนด้วย
  •  

Breaking News

เห็นแก่ตัว!‘พิชิต’ฟาด‘อิ๊งค์’ประท้วงเขมรแค่เรื่องคลิป ไล่ออกไปได้แล้ว

‘นพดล’เซฟ‘นายกฯ‘ยันปกป้องผลประโยชน์ชาติ บอกในคลิปไม่มีตอนไหนสมรู้กับเขมร

กัมพูชาถูกจับตา! ศูนย์กลางอาชญากรรมไซเบอร์ใหญ่สุดในโลก เผยหลังปรับเวลาปิดด่าน คดีออนไลน์ลด

‘นฤมล’ยืนยัน‘กล้าธรรม’ยังสนับสนุน‘แพทองธาร’เป็นนายกฯ

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved