24 ก.ค. 2568 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว Australia relaxes curbs on US beef that angered Trump อ้างการเปิดเผยของ จูลี คอลลินส์ (Julie Collins) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของออสเตรเลีย ว่า ออสเตรเลียจะผ่อนคลายข้อจำกัดการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกา เพื่อหวังให้การเจรจาการค้ากับประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เป็นไปอย่างราบรื่น
“การประเมินอย่างเข้มงวดทางวิทยาศาสตร์และบนพื้นฐานของความเสี่ยง ได้ข้อสรุปว่ามาตรการของสหรัฐฯ ในการติดตามและควบคุมการเคลื่อนย้ายวัว หมายถึงการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะไม่ยอมประนีประนอมเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ ออสเตรเลียยืนหยัดเพื่อการค้าที่เปิดกว้างและเป็นธรรม อุตสาหกรรมปศุสัตว์ของเราได้รับประโยชน์อย่างมากจากเรื่องนี้” รมว.เกษตรออสเตรเลีย กล่าว
ออสเตรเลียได้จำกัดการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2546 เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับโรควัวบ้า (BSE) ต่อมาในปี 2562 จึงอนุญาตให้นำเข้าเนื้อสัตว์จากสัตว์ที่เกิด เลี้ยง และฆ่าในสหรัฐฯ อีกครั้ง แต่มีซัพพลายเออร์เพียงไม่กี่รายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเนื้อสัตว์ที่ตนเองจัดหานั้นมาจากสหรัฐฯ จริงๆ เนื่องจากวัวมักถูกเคลื่อนย้ายระหว่างสหรัฐฯ แคนาดาและเม็กซิโก โดยไม่ได้รับการติดตามอย่างเหมาะสม
สหรัฐฯ ได้พัฒนาความสามารถในการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายของสัตว์เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกและพยาธิหนอนหัวใจโลกใหม่ ซึ่งเป็นปรสิตที่กินวัวทั้งเป็น ซึ่งตามแถลงการณ์ของกระทรวงเกษตรออสเตรเลีย ด้วยการปรับปรุงดังกล่าว ทำให้ออสเตรเลียจะยอมรับเนื้อวัวที่มาจากวัวที่เกิดในแคนาดาหรือเม็กซิโก และนำเข้าและฆ่าอย่างถูกกฎหมายในสหรัฐอเมริกาด้วย โดยบริษัทในออสเตรเลียจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าได้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า ข่าวการเปลี่ยนนโยบายของออสเตรเลียได้รับการรายงานครั้งแรกโดย Australian Financial Review รายงานระบุว่า ออสเตรเลียจะใช้การผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่อเจรจากับสหรัฐฯ โดยหวังให้ทบทวนภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมที่ร้อยละ 50 และคำขู่ของทรัมป์ที่จะเพิ่มภาษีนำเข้ายาเป็นร้อยละ 200
ในเดือน เม.ย. 2568 ทรัมป์ได้เน้นย้ำถึงความเหลื่อมล้ำทางการค้าเนื้อวัวกับออสเตรเลีย หลังจากที่การส่งออกเนื้อวัวของออสเตรเลียไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีที่แล้ว โดยแตะระดับ 4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย (2.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 8.7 หมื่นล้านบาท) ท่ามกลางภาวะตกต่ำของการผลิตเนื้อวัวของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของออสเตรเลียมีเป้าหมายเพื่อให้ปศุสัตว์ปลอดโรค และช่วยให้ออสเตรเลียยังคงรักษาการเข้าถึงตลาดที่ทำกำไรได้ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้ไม่น่าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกของสหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาเนื้อวัวในออสเตรเลียต่ำกว่ามาก โดยการส่งออกเนื้อวัวของสหรัฐฯ ไปยังออสเตรเลียกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในปีที่แล้วหลังจากหยุดชะงัก แต่การส่งออกยังคงน้อยนิด ข้อมูลจากกรมศุลกากรออสเตรเลียระบุว่า การส่งออกเนื้อวัวมายังออสเตรเลีย 269 ตันในปี 2567 ถือเป็นปริมาณสูงสุดในรอบปี แซงหน้า 263 ตันที่ส่งออกในปี 2538
ในทางกลับกัน ออสเตรเลียส่งออกเนื้อวัวไปยังสหรัฐอเมริกาประมาณ 150,000 - 400,000 ตันต่อปี นับตั้งแต่ปี 2533 โดยเครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐฯ ต่างให้ราคาผลิตภัณฑ์จากออสเตรเลียสูงเนื่องจากมีไขมันต่ำกว่าและราคาที่แข่งขันได้ ซึ่ง แมตต์ ดัลกลิช (Matt Dalgleish) นักวิเคราะห์เนื้อสัตว์และปศุสัตว์จากรายการ Consultants Episode 3 กล่าวว่า ราคาวัวในสหรัฐฯ มักจะสูงกว่าในออสเตรเลียเกือบทุกครั้ง และปัจจุบันสูงกว่าราคาในออสเตรเลียถึง 2 เท่า ดังนั้นเนื้อวัวสหรัฐฯ จะไม่เข้ามาแทนที่เนื้อวัวของออสเตรเลียในตลาดออสเตรเลีย
ขอบคุณเรื่องจาก
043...
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี