วันพฤหัสบดี ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557, 14.44 น.
7 ส.ค.57 ในตำราไทย จัดให้ 'กระชาย' เป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้มใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด
กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง กระชาย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกระชายเหลืองอย่างเดียวเปรียบเทียบกระชายคือ 'โสมของไทย' คือ 'ราชาแห่งสมุนไพร' กระชายปั่นคั้นน้ำ กระชายมีวิตามินซี, บี1, บี 3 ,บี 6 และแคลเซียม
สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก
รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
สรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า 'โสมไทย' นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต แข็งแรง, ช่วยฟื้นฟูต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง, ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบาง, ช่วยให้เส้นผมไม่หงอกก่อนวัยเล็บมือ เล็บเท้า แข็งแรง, ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตให้พอดี ไม่ให้สูงมากหรือต่ำมากเกินไป ,ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต้นสม่ำเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น, ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน และฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเตอโรน ซึ่งอยู่ในร่างกายทุกคน ไม่ว่าผู้หญิงหรือชาย
จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่า สารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคอลโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร
คุณค่าในน้ำกระชาย
เมื่อกินน้ำกระชายเข้าไปแล้ว ในกระเพาะเรามีน้ำ มีไขมันและจุลินทรีย์สองกลุ่มจะแยกกันทำหน้าที่ของมันเอง ตัวจุลินทรีย์ในกระเพาะจะทำให้เกิดแอลกอฮอล์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่สกัดตัวยากลุ่มที่ละลายน้ำออกมาจากกระชายได้เอง ส่วนกลุ่มที่ละลายในไขมันก็ทำงานของเขาเอง
คนปกติดื่มกระชาย เพื่อบำรุงเอาไว้ ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต ผู้ชายป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ผู้หญิง ป้องกันไม่ให้เป็นมดลูกโต และถ้าให้เด็กดื่มกินเป็นประจำ จะช่วยสร้างกระดูกให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : กระชาย หรือโสมไทย โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด