วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : การตรวจสอบรอยเชื่อมถังโลหะด้วยของเหลวและก๊าซ

วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : การตรวจสอบรอยเชื่อมถังโลหะด้วยของเหลวและก๊าซ

วันอาทิตย์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 06.00 น.
Tag :
  •  

ในชีวิตประจำวันของเรามีความเกี่ยวข้องกับโลหะทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างของโลหะที่รู้จักกันดี เช่น เหล็ก อลูมิเนียม สังกะสี ไทเทเนียม ทองแดง และนิกเกิล เป็นต้น  โลหะมักมีการใช้งานในลักษณะของโลหะบริสุทธิ์น้อย ส่วนมากจะเป็นโลหะผสมเสียมากกว่า อย่างไรก็ดีทั้งโลหะบริสุทธิ์และโลหะผสมโดยทั่วไปนำไฟฟ้าและความร้อนค่อนข้างดี ทนต่ออุณหภูมิได้สูง มีความแข็งแกร่งเหนียว และแข็งแรงสูง มีจุดหลอมเหลวสูง สามารถตีแผ่และดึงเป็นเส้นได้ มีการขึ้นรูปได้ดี สามารถเชื่อมต่อเป็นแผ่น หรือเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ รวมทั้งกัด-กลึงได้ง่าย

ในการเชื่อมโลหะเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างต่างๆ เช่น ประกอบเป็นถังบรรจุก๊าซและของเหลว ชิ้นส่วนต่างๆ ในรถยนต์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น รอยเชื่อมโลหะถือเป็นบริเวณที่สำคัญต่ออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างมาก ดังนั้นการตรวจสอบรอยเชื่อมโลหะของผลิตภัณฑ์จัดเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง จึงมีการตรวจสอบถังเพื่อหารอยรั่ว และความแข็งแรงของรอยเชื่อมโลหะด้วยความดันของเหลวและก๊าซ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ตามที่จะกล่าวโดยพอสังเขปดังต่อไปนี้


1.           การทดสอบด้วยน้ำ (Hydrostatic test)  เป็นการตรวจสอบเพื่อหารอยรั่ว ตรวจสอบความแข็งแรงของรอยเชื่อมและข้อต่อของงานประกอบ โดยเติมน้ำเข้าไปในงานหรือถังที่ต้องการทดสอบจนเต็มแล้วอัดให้ได้ความดันตามต้องการ

2.           การทดสอบพิสูจน์ (Proof test)  เป็นการทดสอบว่ารอยเชื่อมจะสามารถทนต่อสภาพและภาระต่างๆ ได้หรือไม่เมื่อนำไปใช้งานจริง โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เสียหาย การทดสอบนี้ทำได้โดยให้งานถังที่ต้องการทดสอบรับความดันแบบข้อ 1 จนเกิดความเค้นสูงกว่าที่ต้องรับขณะใช้งานจริง แต่ต่ำกว่าค่า Yield strength ของงาน การทดสอบมีหลายแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดรอยเชื่อมและการใช้งาน

3.           การทดสอบการรั่วไหล (Leak tests)  เป็นวิธีการทดสอบรอยรั่วหรือหาอัตราการไหลของก๊าซหรือของเหลวที่ทะลุผ่านความหนาของชิ้นงานทดสอบหรือรอยเชื่อมตรงบริเวณที่มีจุดบกพร่อง ซึ่งเป็นผลที่เกิดมาจากความดันบริเวณภายในและภายนอกถังทดสอบแตกต่างกัน ลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า “การรั่วไหล”

การทดสอบแบบ Leak tests นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ที่นิยมมากได้แก่ วิธีอัดด้วยน้ำ น้ำมัน อากาศ ก๊าซ และของเหลวเข้าในถังทดสอบ แล้วตรวจสอบดูรอยรั่วของวัสดุที่อัดเข้าถังดังกล่าว

4.           การทดสอบด้วยฟอง (Bubble tests)  เป็นการทดสอบหารอยรั่วแบบง่ายสำหรับถังหรือท่อรับความดันที่มีขนาดเล็ก โดยใช้อากาศหรือก๊าซใดๆ ก็ได้ที่ไม่เป็นอันตรายต่อวัสดุงาน อัดเข้าถังทดสอบด้วยแรงดันที่ต่ำกว่าแรงดันของการอัดของน้ำโดยทั่วไป ซึ่งแรงดันที่ใช้ไม่เกิน 50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แล้วจึงนำถังที่อัดแรงดันนี้ลงไปจุ่มลงในของเหลว และคอยสังเกตดูฟองของอากาศหรือก๊าซที่รั่วออกจากถังหรือท่อที่ทดสอบปุดขึ้นเป็นฟอง ลอยขึ้นสูงเบื้องบนของของเหลว

5.           การตรวจสอบหารอยรั่วด้วยก๊าซเฉพาะ (Specific Gas Detectors)   การตรวจสอบรอยรั่วด้วยก๊าซมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยอาศัยหลักการความแตกต่างของคุณสมบัติทางเคมีของก๊าซ ที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ตรวจสอบได้ ได้แก่การตรวจสอบรอยรั่วของก๊าซโดยเอาก๊าซที่มีกลิ่นฉุนอัดเข้าถังทดสอบ แล้วใช้จมูกดมกลิ่นก๊าซที่รั่วออก หรืออาจฟังเสียงของก๊าซที่รั่วออกจากถังหรือการตรวจสอบของก๊าซบางอย่างที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ตรวจได้

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ตรวจสอบหารอยรั่วของก๊าซ ซึ่งทำได้โดยก๊าซผสมฮาโลเจน ได้แก่ คลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน หรือไอโอดีน ซึ่งโดยปกติแล้วจะผสมกับอากาศหรือไนโตรเจนเป็น Carrier gas อัดเข้าไปในถังที่ต้องการทดสอบ แล้วใช้หัวตรวจสอบ (Probe) ลากผ่านพื้นผิวหน้าด้านนอกของบริเวณที่ต้องการทดสอบเพื่อหารอยรั่วของก๊าซจากภายในถัง

การทดสอบเหล่านี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์ให้บริการทดสอบแก่ภาครัฐ ภาคเอกชนทั่วไป ผู้สนใจสามารถติดต่อใช้บริการหรือขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลาราชการ

ประศาลน์ บุญเพชร์, พรชัย สุขบุญส่ง, พงษศักดิ์ ตันวีระชัยสกุล

ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

‘เด็กซิ่ง..เสี่ยงตาย’ต่ำกว่า15ปีกับอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ วิกฤติความปลอดภัยถนนเมืองไทย

เดือดพลั่กกลางสภาฯ! ‘กฤษฎิ์’เปิดใจแยกทาง‘ปชน.’ เจอ‘ด้อมส้ม’บุกสาปแช่ง-ปะทะคารมหนัก

'วราวุธ'เผย'พม.'หนุนจ้างงานคนพิการเพิ่ม เอื้อสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 2-3 เท่า

ฝีมือครบเครื่อง!‘โฆษกกล้าธรรม’ยก 5 ปัจจัย ชู‘ธรรมนัส’เป็นผู้จัดการรัฐบาลตัวจริง

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved