วันพุธ ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
แนวหน้า
  • แนวหน้า
  • หน้าแรก
  • คอลัมน์
    • คอลัมน์วันนี้
    • คอลัมน์ออนไลน์
    • คอลัมน์การเมือง
    • คอลัมน์ลงมือสู้โกง
    • โลกธุรกิจ
    • ผู้หญิง
    • บันเทิง
    • Like สาระ
    • ดูทั้งหมด
  • ข่าวเด่น
  • พระราชสำนัก
  • การเมือง
  • โลกธุรกิจ
  • อาชญากรรม
  • กทม.
  • ในประเทศ
  • เกษตร
  • ต่างประเทศ
  • กีฬา
  • ผู้หญิง
  • บันเทิง
  • ยานยนต์
  • Like สาระ
หน้าแรก / ผู้หญิง
โรคที่มากับหน้าร้อน 1 : โรคพิษสุนัขบ้า2 (ตอนจบ)

โรคที่มากับหน้าร้อน 1 : โรคพิษสุนัขบ้า2 (ตอนจบ)

วันอาทิตย์ ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558, 06.00 น.
Tag :
  •  

 

เมื่อสัปดาห์ก่อน(22 มี.ค.2558) ทุกท่านคงได้ทราบสาเหตุและอาการของโรคพิษสุนัขบ้ากันไปแล้วนะครับ วันนี้เรามารู้จักโรคพิษสุนัขบ้ากันต่อครับ


การระบาดของโรค

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดได้ “ทุกฤดูกาล” ไม่ได้เกิดเฉพาะในช่วงฤดูร้อนนะครับ แต่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ของสุนัข ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม มักจะมีการกัดกันเพื่อแย่งชิงสุนัขตัวเมีย สุนัขตัวใดที่มีเชื้อโรคอยู่ก็จะแพร่เชื้อติดไปยังสุนัขตัวอื่นได้ง่าย อีกทั้งฤดูร้อนเป็นช่วงปิดภาคเรียน โอกาสที่เด็กถูกกัดจึงมีมากยิ่งขึ้น (แต่พอเข้าสู่ AEC แล้ว ช่วงการปิดภาคเรียนเปลี่ยนไป หวังว่าการระบาดคงไม่มากเท่าเดิมนะครับ)

การป้องกัน

1.พาสุนัขและแมวที่เลี้ยงไว้ ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่อายุ 3 เดือน และฉีดกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอทุกปี (ปีละครั้ง) ที่พึงระลึกเสมอว่า ลูกสุนัขก็มีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้นะครับ และการฉีดวัคซีนก็ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เท่านั้นครับ

2.เมื่อได้รับสุนัขและแมวใหม่มาเลี้ยง ควรทราบประวัติการฉีดวัคซีน และที่สำคัญควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันโรค

3.อย่าปล่อยให้เด็กเล็กเล่นกับสุนัขหรือแมวที่ไม่คุ้นเคยตามลำพัง รวมถึงควบคุมไม่ให้แกล้งหรือรบกวนสัตว์ เพราะมีความเสี่ยงต่อการโดนงับสูงครับ

4.เลี่ยงการสัมผัสน้ำลายของสัตว์ที่ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

5.ไม่ควรใช้มือเปล่าล้วงปากหรือคอ เพื่อช่วยเหลือสุนัขหรือแมวที่แสดงอาการเหมือนมีอะไรติดคอ โดยที่ไม่เห็นว่าสัตว์คาบหรือกลืนอะไรลงไป เพราะนั่นอาจเป็นอาการของโรคพิษสุนัขบ้าครับ

6.ไม่คลุกคลีกับสัตว์นอกบ้าน ที่ไม่มีเจ้าของ หรือสัตว์ที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง

การปฏิบัติตน เมื่อถูกสุนัขและแมวที่ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีนกัด

1.ล้างแผลให้สะอาดทันที ด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลายๆ ครั้ง

2.ล้างซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อในกลุ่มไอโอดีน เช่น ทิงเจอร์ หรือ โพรวิโดนไอโอดีน

3.รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก และวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

4.สังเกตอาการสัตว์ที่กัดเรา โดยกักบริเวณไว้ประมาณ 10-14 วัน

- ถ้าสัตว์ตายในช่วงที่กักบริเวณไว้เอาซากไปส่งตรวจ โดยให้ตัดหัว/หรือทั้งตัว ใส่ถุงพลาสติกชั้นหนึ่ง แล้วเอาถุงนั้นแช่น้ำแข็งอีกชั้นหนึ่ง (ต้องระวังไม่ให้มือเราเปื้อนน้ำลายสัตว์) ส่งสถานบริการตรวจหาเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าโดยด่วน ได้แก่ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย กรมปศุสัตว์ โรงพยาบาลศิริราช สถานชันสูตรโรคสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

** อย่าปล่อยให้ซากสัตว์เริ่มเน่า เพราะจะไม่สามารถหาเซลล์ในสมองที่ติดเชื้อไวรัสได้

หมายเหตุ : การกักบริเวณเพื่อดูอาการสัตว์นั้น ต้องมีอาหารและน้ำให้กินตามปกติด้วย เพราะถ้าสัตว์ที่กัดเรานั้นตาย จะมั่นใจได้ว่าไม่ได้ตายเพราะอดอาหาร หรือถูกทำร้ายจนตาย

**อย่าลืมนะครับว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่สามารถป้องกันได้ครับ**

อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี

  •  

Breaking News

รวบเจ้าหน้าที่ธนาคารดัง 3 ราย ร่วมแก๊งคอลฯ ปลอมเอกสารให้ชาวจีน เปิดบัญชี เพื่อหลอกเงินคนไทย

‘สว.’กาง 3 ข้อดาหน้าร้อง‘กกต.’ โยนทิ้งสำนวนดีเอสไอ สั่งกก.ชุดที่ 26 ยุติทำหน้าที่

หารือราบรื่น!“วิปสภาฯ”เคาะถกงบฯ69 4 วัน 41 ชั่วโมง แบ่ง 20 ชั่วโมงให้ “ฝ่ายค้าน” ชำแหละ

ดีเดย์! 30 พ.ค.นี้ สว.พิจารณาวาระเห็นชอบ กรรมการ ป.ป.ช.

Back to Top

ผู้ดูแลเว็บไซต์ www.naewna.com
webmaster นางสาวอัญชะลี ไพรีรัก
ดูแลรับผิดชอบข่าว/ภาพ/โฆษณา/ข้อมูลอื่นที่เกียวข้องกับเว็บไซต์
กรรมการบริษัทฯ, กรรมการผู้มีอำนาจ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าว/ภาพ/ข้อมูลใดๆในเว็บไซต์ทั้งสิ้น

Social Media

  • หน้าแรก |
  • เกี่ยวกับแนวหน้า |
  • โฆษณากับเรา |
  • ร่วมงานกับเรา |
  • ติดต่อแนวหน้า |
  • นโยบายข้อตกลง
Copyright © 2017 Naewna.com All right reserved